รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนบ้านสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3


การพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน โรงเรียนบ้านสำโรงพลัน อำเภอไพรบึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                    การพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน  โรงเรียนบ้านสำโรงพลัน   อำเภอไพรบึง   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ  เขต 3 , 213 หน้า พ.ศ. 2554

ผู้วิจัย                       นายมานะ ไชยโชติ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโรงเรียนบ้านสำโรงพลัน  อำเภอไพรบึง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ  (Action  Research)  ตามหลักการและแนวคิดของ Kemmis and  McTaggart   ได้แก่  การวางแผน (Plan) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต(Observation)และการสะท้อนผล (Reflection) จำนวน 2 วงรอบ โดยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน  กลุ่มเป้าหมาย  ประกอบด้วย  ครูโรงเรียนบ้านสำโรงพลัน  อำเภอไพรบึง  จังหวัดศรีสะเกษ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ  เขต 3  จำนวน 30  คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้วิจัย จำนวน 1 คน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน  วิทยากร จำนวน  1  คน และผู้บริหารโรงเรียนบ้านสำโรงพลัน  อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ  เขต 3

เครื่องมือเก็บรวบรวมประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัด         การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน  แบบบันทึกความรู้หลังการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูในด้านการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน   แบบบันทึกผล             การตรวจสอบแผนการจัดการเรียนรู้  แบบบันทึกการนิเทศการจัดการเรียนรู้  แบบประเมินผล     การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน และแบบบันทึกการประชุม    

สถิติที่ใช้ในการวิจัย  คือ  ค่าร้อยละ   ค่าเฉลี่ย   ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน   สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณโดย  การวิเคราะห์และสังเคราะห์สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพและสรุปเป็นความเรียง

             

                ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการสำรวจสภาพปัจจุบัน  ปัญหา  และความต้องการในการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน  ก่อนการดำเนินการวิจัย    พบว่า  บุคลากรไม่เคยสอนในรูปแบบเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดแก่นักเรียน  เพราะขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องการคิดและแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน  ทั้งการเขียนแผนการจัด การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  และการขาดความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  ไม่เปิดโอกาสให้นักเรียนหัดคิดหัดแก้ปัญหา  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์  มีไหวพริบและจินตนาการ  รวมทั้งยังขาดทักษะด้านการใช้สื่ออุปกรณ์  เพื่อกระตุ้นความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ของนักเรียน  จึงทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด  ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  มีผลให้นักเรียนไม่ได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน
  2. ผลการพัฒนาในวงรอบที่ 1 เป็นการการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาในการคิดของนักเรียนหลังจากสภาพปัจจุบันและปัญหาที่ค้นพบมาวิเคราะห์  และหาแนวทางพัฒนาด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ส่งผลต่อการพัฒนา  ดังนี้

2.1            การประชุมเชิงปฏิบัติการ  ทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดและการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด  จนสามารถนำความรู้ความเข้าใจมาปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างน่าพึงพอใจ และทำให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  ครูสามารถเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนได้อย่างถูกต้องในระดับที่น่าพอใจ

2.2            การนิเทศภายใน  เป็นการสังเกตติดตามการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้  พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู เพื่อให้ตรวจสอบสภาพการดำเนินการ  ให้คำแนะนำ  ให้การศึกษาและร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง  ทำให้เกิด                    การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครู    ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือครูสามารถ       จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนที่สนุกสนาน

                                    ในการดำเนินการทั้ง 2 กลยุทธ์มีผลทำให้ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้  ความเข้าใจและสามารถจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนได้ผลเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง  ซึ่งมีองค์ประกอบบางอย่างที่ค้นพบยังไม่บรรลุเป้าหมาย  ได้แก่  ความชำนาญการในการเขียนแผน   การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  ความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้ของครู  การจัดหาและพัฒนาสื่อการเรียนรู้  และการจัดทำเครื่องมือวัดผลและประเมินผล   จึงนำไปสู่การพัฒนาในวงรอบที่ 2  เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายยิ่งขึ้น

  1. การพัฒนาในวงรอบที่ 2  ด้วยกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการควบคู่กับ      การนิเทศการปฏิบัติงาน  เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและอุปสรรคที่พบในระหว่างการดำเนินการ  พบว่า        ผู้ร่วมวิจัยส่วนใหญ่มีความรู้  ความชำนาญการ  เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายในการจัดการเรียนรู้  การใช้สื่อและเครื่องมือวัดผลและประเมินมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น   ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในระดับดีขึ้น
หมายเลขบันทึก: 498732เขียนเมื่อ 15 สิงหาคม 2012 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2012 17:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณ...รายงานการวิจัย....นี้มากค่ะ

นางสาวสุภัชศร วงศ์คำ

งานวิจัยนี้มีประโยชน์มากคะ

คุณครูนววิธ ศรีปลั่ง

งานวิจัยนี้ มีประโยชน์สำหรับคุณครูในการพัฒนการสอน ทำให้รู้ปัญหา รู้ิวิธีปัญหา และดับทุกข์ ขอบพระคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท