แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Maps)


แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Maps)

                   แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Maps)
แนวคิดพื้นฐานของทฤษฎี

แผนที่เชิงยุทธศาสตร์ (STRATEGY MAPS) เป็นแนวคิดของ Robert S. Kaplan และ David P. Norton ที่มองว่า Strategy Maps เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการแนวใหม่ ‚การบริหารจัดการจะทาไม่ได้หากไม่สามารถประเมินผลได้ และการประเมินผลในสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายได้ ก็ไม่อาจทา ได้เช่นกัน‛ ดังนั้น Kaplan และ Norton จึงได้พัฒนาแผนผังเชิงยุทธศาสตร์ขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายและแสดงความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (cause and effect relationships) ของปัจจัยต่างๆ ตามมุมมองทั้ง 4 มิติของ Balanced Scorecard อันได้แก่
1) มิติด้านการเงิน (Financial Perspective)
2) มิติด้านลูกค้า (Customer Perspective)
3) มิติด้านกระบวนการภายใน (Internal Perspective)
4) มิติด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
โดยเฉพาะการเชื่อมโยงการบริหารจัดการสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ เข้ากับกระบวนการสร้างคุณค่า (value-creating processes) ให้แก่องค์กร(พิมาดา เชื้อสกุลวนิช, ม.ป.ป.)
นิยามความหมาย
Professor Robert Kaplan และ Dr. David Norton ได้อธิบายไว้ว่า แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) ก็คือ แผนภาพที่แสดงให้เห็นถึงยุทธศาสตร์ขององค์กร ในรูปแบบของความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงเหตุและผล (cause and effect relationships) กล่าวคือ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์ (Outcome) ที่องค์กรปรารถนา ซึ่งเชื่อมโยงกับทุก ๆ มิติทั้ง 4 มิติ (สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล, 2547)
เพื่อให้นาไปสู่ผลลัพธ์ที่องค์กรต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงเข้ากับสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Assets) เช่น ความรู้ ทักษะของพนักงาน ให้เข้ากับกระบวนการสร้างคุณค่า (Value-creating processes) ให้แก่องค์กรอันจะนาไปสู่เป้าหมายที่ปรารถนา และที่สาคัญแผนที่ยุทธศาสตร์ก็เปรียบเสมือนเครื่องมือที่จะสื่อสารให้เราได้ทราบถึงยุทธศาสตร์ขององค์กร อันจะทาให้ทั้งผู้บริหารและพนักงานมีความเข้าใจในยุทธศาสตร์ขององค์กรในภาพรวมได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ความสาคัญของการทาแผนที่ยุทธศาสตร์ต่อองค์กร

เอกสารอ้างอิง
คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล.(2547).ข้อเสนอแผนที่ยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ภายใต้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรา
ชภัฏ พ.ศ. 2547 PROPOSED STRATEGIC MAP FOR DEVELOPMENT OF KALASIN RAJABHAT UNIVERSITY UNDER THE RAJABHATUNIVERSITY ACT B.E. 2004,มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์.
บุณฑวรรณ วิงวอน. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic Management. ลาปาง: คณะวิทยาการ
จัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลาปาง.
ปณัทพร เรืองเชิงชุม.(2550). การสื่อสารและถ่ายทอดด้วยแผนที่กลยุทธ์ The Startegy Communication and Deplopment
with the Startegy Maps. วารสารประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยขอนแก่น,8(1),26-32.
พสุ เดชะรินทร์ และคณะ.(2549). Strategy Map : แผนที่ยุทธศาสตร์, โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สานักงาน ก.พ.ร.
พิมาดา เชื้อสกุลวนิช.(ม.ป.ป.). แผนผังเชิงยุทธศาสตร์การแปลงสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้ให้เป็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้, 5 พฤษจิกายน 2553.
http://www.opdc.go.th/oldweb/Knowledge/File_download/1109823434-1.pdf
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ.(ม.ป.ป.). แผนที่ยุทธศาสตร์แปลงทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ให้เป็นผลลัพธ์ที่จับต้องได้ Strategy Maps Converti
ng Intangible Assets into Tangible Outcomes, 5 พฤษจิกายน 2553.
Robert S.Kaplan and David P. Norton แปลและเรียบเรียงโดย สมพงษ์ สุวรรณจิตกุล. (2547). STRATEGY MAPS
แผนที่ยุทธศาสตร์
หมายเลขบันทึก: 498593เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 สิงหาคม 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท