ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย


ความพยายามอีกครั้งที่จะมีระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะทำให้ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทยทั้งหมด ได้เชื่อมโยงกันและเข้าถึงกันโดยการสืบค้นจากจุดเดียว

ความพยายามอีกครั้งที่จะมีระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย เป็นอีกหนึ่งความพยายามที่จะทำให้ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทยทั้งหมด  ได้เชื่อมโยงกันและเข้าถึงกันโดยการสืบค้นจากจุดเดียว  เป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง  แต่เป็นธรรมดาที่จะเต็มไปด้วยปัญหาและอุปสรรค   การผลักดันให้เกิดระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทยจึงเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันทุกหน่วยงาน   ไม่ใช่หน่วยงานที่รับผิดชอบเฉพาะการวิจัยเท่านั้น   ขณะนี้ได้มีการจัดทำระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทยเอาไว้ที่

http://www.tnrr.in.th/

ซึ่งต่อไปอาจเป็นแหล่งข้อมูลสืบค้นการวิจัยที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ  อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานวิจัยทุกคน

รายละเอียดและความเป็นมาของระบบดังกล่าวอ้างอิงได้จาก

...........................................................................................................

ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย คลังข้อมูลงานวิจัย เป็นความพยายามที่จะรวมบริการค้นหาผลงานวิจัยในประเทศไทย จากความร่วมมือตั้งต้นจากหน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยของ

ประเทศไทย 4 หน่วยงานได้แก่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนัก

งานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และหน่วยงานวิชาการ สถาบันการศึกษาต่างๆ ของประเทศไทย

ด้วยเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวเมทาเดทาแบบเปิด หรือ OAI-PMH (Open Archives Initiative - Protocol for Metadata Harvesting)

ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทยโดยคณะทำงานเพื่อพัฒนาและบูรณาการระบบข้อมูลวิจัยของประเทศ พ.ศ. 2554 http://researchorg.in.th/ ขับเคลื่อนโดย http://dspace.org และ OAI-PMH

จิรภัทร ศรัทธาธรรมกุล (2554) ได้กล่าวถึง ปัญหาของหน่วยงานที่มีระบบฐานข้อมูล และมีความต้องการที่จะบริการสืบค้นข้อมูลร่วมกัน โดยเฉพาะการสืบค้นจากเว็บไซต์ที่มีรูปแบบการทำ

งานแตกต่างกัน คือ ปัญหาการแลกเปลี่ยนข้อมูล (เราจะแลกเปลี่ยนข้อมูลอะไร)และปัญหาช่องทางการเชื่อมโยงข้อมูล (เราจะแลกเปลี่ยนข้อมูล

อย่างไร)ซึ่งที่ผ่านมาแม้เราจะทราบว่าเราต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลอะไร เช่น ชื่อเรื่องงานวิจัย หรือ ชื่อนักวิจัย เป็นต้น แต่ประเด็นที่จะแลกเปลี่ยน

ข้อมูลกันอย่างไรก็ยังเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก และต้องใช้งบประมาณอยู่พอสมควร นั่นเพราะปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาทางเทคนิคซึ่งต้องใช้บุคลากร

ทางด้าน IT ที่มีความเข้าใจและความชำนาญในการพัฒนาระบบ

ดังนั้นปัญหาของฐานข้อมูลงานวิจัยไทย Thai Research V.1 (www.thairesearch.in.th) จึงมีข้อจำกัดในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วย

เทคโนโลยี OAI-PMH ซึ่งเป็นมาตรฐานที่กำลังได้รับความนิยมและแพร่หลายในสถานศึกษา และห้องสมุดทั้งในประเทศและต่างประเทศในการ

จัดทำระบบดิจิตอลไลบรารี่ (Digital Libraries) จึงทำให้ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย Thai Research V.2 หรือ คลังข้อมูลงานวิจัยไทย

(www.tnrr.in.th) ซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนเทคโนโลยี OAI-PMH สามารถเก็บเกี่ยวข้อมูลจากระบบอื่น ๆ ที่สนับสนุนเทคโนโลยี OAI-PMH ได้

อย่างอัตโนมัติ (สกว. และ สวทช. ใช้ Open source ที่ชื่อ Drupal และใช้ Module ที่ชื่อว่า Biblio ส่วน สวรส. ใช้ Open source ที่ชื่อว่า DSpace)

ผลที่ได้จากการที่คลังข้อมูลงานวิจัยไทย (www.tnrr.in.th) สนับสนุนมาตรฐานเทคโนโลยี OAI-PMH คือทุกหน่วยงานที่สนับสนุนมาตรฐานดัง

กล่าวสามารถบริการค้นหาข้อมูลวิจัยได้โดยสะดวก ซึ่งสอดรับกับกระแสเรื่อง Open Access และ Open Archives ในปัจจุบัน ที่สำคัญหน่วยงาน

ไม่ต้องเสียงบประมาณในการจ้างพัฒนาระบบฐานข้อมูลมากนัก เพราะปัจจุบันมี Open source ที่เป็นลักษณะฟรีแวร์และสนับสนุนเทคโนโลยีดัง

กล่าวอยู่หลายระบบ 

จึงเป็นเรื่องท้าทายสำหรับคณะทำงาน TNRR ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้เทคโนโลยีที่เปิดกว้างในปัจจุบัน สำหรับ

สมาชิกท่านใดที่ต้องการศึกษาข้อมูล OAI-PMH เพิ่มเติม สามารถสืบค้นข้อมูลได้จากศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS

wikiBook) สวทช. หรือ http://www.openarchives.org

 

http://www.tnrr.in.th/

จิรภัทร

 

ศรัทธาธรรมกุล (2554) คลังข้อมูลงานวิจัยไทย หรือ Thai National Research Repository: TNRR สาร biodata ฉบับที่ 192  วันที่ 11 มิถุนายน 2554  http://biodata.trf.or.th

 ******************

ย้ายมาจากเว็บระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง ที่ปิดบริการ

หมายเลขบันทึก: 498405เขียนเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 สิงหาคม 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท