บันทึกการเดินทาง ไปดูงาน IT, Library, KM และ WUNCA (ตอนที่ 2)


ไปประชุม WUNCA ครั้งที่ 25

6 ส.ค. 55

14:30 น. เดินทางด้วยรถตู้คณะฯ ออกจากจังหวัดนครศรีธรรมราช มุ่งหน้าไปอำเภอหาดใหญ่ด้วยเส้นทางเลียบทะเล ข้ามสะพานติณสูลานนท์ ไปถึงเกาะยอ จังหวัดสงขลา แวะทานอาหารเย็นกันที่ "ร้านอาหารทะเลศิรดา" .. อากาศดี อาหารอร่อยพอใช้ได้ แต่แพงไปหน่อย

ไปถึงหาดใหญ่เวลาพลบค่ำ ขับรถวนไปมาหลงทางกันนิดหน่อย เพราะผังเมืองและการจราจรที่คับคั่ง ในที่สุดก็มาถึงที่พักจนได้ -- ชื่อโรงแรม New Season อยู่บนถนนประชาธิปัตย์

7 ส.ค. 55

ตอนเช้า ไปเข้าประชุมงาน WUNCA ครั้งที่ 25 ที่ศูนย์การประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รศ.นพ. กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการ สกอ ได้ video conference มาบรรยายเปิดงาน โดยกล่าวถึงนโยบายการส่งเสริมเครือข่ายสารสนเทศ ตามแผนระยะยาว 15 ปีระยะที่ 2 ของ สกอ ที่เน้นการสมานรอยต่อการศึกษาของอุดมศึกษา อาชีวศึกษา และการศึกษาขั้นพื้นฐาน การใช้ทรัพยากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาโครงการพื้นฐานการเรียนรู้เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต (LLL) การขยายเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet) เป็นเครือข่ายการศึกษาแห่งชาติ NEdNet  (National Education Network) เพื่อรองรับการศึกษาทั้งระบบ 

 ปีนี้ theme เน้นเรื่องอินเทอร์เน็ต .. การปรับเปลี่ยนจาก IPV4 ไปเป็น IPV6 เนื่องจากปัญหาเร่งด่วนเรื่อง IP address ไม่เพียงพอต่อการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลก ดังนั้น การบรรยายเสวนาในช่วงพิธีเปิด จึงเป็นเรื่อง 2.5 ทศวรรษเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไทย ประวัติความเป็นมาของกำเนิดอินเทอร์เน็ตประเทศไทย ความยากลำบากกว่าจะถึงวันนี้ สรปุใจความสำคัญได้ว่า เมื่อปี 2534 เกิดการประชุมกลุ่มบุุคคลที่ AIT จำนวน 40 กว่าท่าน มาจากหลายหน่วยงาน นับเป็น community ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ท่านเหล่านั้น เช่น AIT (ศ.กาญจนา กาญจนสุต), ABAC (ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน), CMU, CU (ดร.ยรรยง เต็งอำนวย, อาจารย์จารุมาตร ปิ่นทอง), SU, PSU (Mr.Robert Elz, ดร.วิเศษ นครชัย, ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน), KMITL, KMITT, NECTEC (ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล) เป็นต้น

ที่ประทับใจคือ เมื่อ ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน รองผู้อำนวยการ สกว. ได้เล่าเรื่องราวในอดีตให้ฟัง ในสมัยที่ท่านเป็นผู้อำนวยการศูนย์คอมพิวเตอร์ มอ. ท่านได้ส่ง e-mail ฉบับแรก ออกไปจาก [email protected] ไปยังออสเตรเลีย ด้วยข้อความแค่ 2 คำ คือ "Hi และ Bye" และในยุคที่ มอ. ยังห่างไกลความเจริญ แต่ไอทีก้าวไกลด้วยวิสัยทัศน์รองอธิการบดี มอ และคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ในสมัยนั้น (ศาสตราจารย์ ดร. สตางค์ มงคลสุข)

.. "ท่านถามว่าผมชอบเรียนอะไร ผมบอกว่าชอบคำนวณ ท่านจึงส่งให้ไปเรียน comp sci ในยุคที่ยังไม่มีหลักสูตร ป.ตรี comp sci ด้วยซ้ำไป" -- ฟังแล้วปลื้มมากค่ะ

สุดท้าย -- ดร.วิเศษ นครชัย จากบริษัท True (อดีตอาจารย์วิศวะ มอ.) ได้แนะนำวิดีโอที่น่าสนใจของบริษัท Corning บ่งบอกถึงเทคโนโลยีในอนาคตของจอภาพ นั่นคือ A Day Made of Glass -- Made possible by Corning อธิบายไม่ถูก ลองชมเอาเองก็แล้วกันนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 498067เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2012 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2012 09:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท