วิชาสวนศาสตร์ ตอนที่1


ทำให้ดู.. ไม่ได้ทำให้..ลอก

วิชาเช้าๆ วันจันทร์ พุธ ศุกร์ ก็สนุกสนานไปกับ สวนศาสตร์ เอ ชื่อวิชาอาจจะพาให้ งง ได้ เอาเป็นชื่อฝรั่งเขียนว่า Acoustics เขียนเป็นไทย ออกเสียงว่า สะ-วะ-นะ-สาด ชื่อเดิมคือ นาทศาสตร์ (นาด-ทะ-สาด)

เรียนเกี่ยวกับสมบัติของเสียง โดยในช่วงแรก (ก่อนการสอบกลางภาค) นั้น เป็นเรื่องของแหล่งกำเนิดเสียงชนิดต่างๆ การให้กำเนิดเสียงด้วยการ ดีด สี ตี เป่า (การทำให้สั่น) เรื่องของโน๊ต ต่างๆ ซึ่งแน่นอนครับ ผมมารับไม้ต่อในช่วงหลัง ก็จะเป็นเรื่องของการเดินทางของเสียงในตัวกลาง การจัดวางแหล่งกำเนิดเสียงและการจัดห้องเพื่อรักษาสมบัติของเสียงที่ต้องการ คณิตศาสตร์ก็ยังคงเป็นปัญหาสำหรับนักศึกษาอยู่ดี

วันนี้ว่าด้วยเรื่อง สัมประสิทธิ์การดูดกลืนเสียงของห้องที่ส่งผลต่อ reverberation time (เวลาที่เสียงจะยังคงก้องหรือดังอยู่ได้ในห้องนั้นๆ เมื่อหยุดออกเสียง) ซึ่งเวลานี้มีความสำคัญต่อสถาปัตยกรรมมาก โดยเฉพาะในโบสท์ หรือสถานที่แสดงการละเล่น เพราะในครั้งโบราณนั้นยังไม่มีเครื่องขยายเสียง

เมื่ออธิบายแนวคิด หรือที่มาก็ดูเหมือนนักศึกษาจะเข้าใจได้ดี ครั้งพอให้ทดลองลงมือทำแบบฝึกหัดสั้นๆ ในห้อง พบว่า การแปลความหมายจากโจทย์ไปยังตัวแปรนั้น (แม้จะมีเพียงสองตัว) มีปัญหาเหลือเกินกับ "ส่วนใหญ่" อาจเป็นด้วยการฝึก "ตั้งคำถาม" ที่น้อยเกินไป เมื่อไปสืบต่อก็ทราบว่า "ส่วนใหญ่" นั้นใช้วิธี "ท่อง" ในการเรียน ไม่ว่าจะ "ท่องตำรา" "ท่องแบบฝึกหัด" เลยไปจนถึง "ท่องข้อสอบเก่า (ที่ได้มาจาก รุ่นที่แล้วที่ ท่องออกมาจากห้องสอบ)" ก็เลยต้องปรับวิธีสอนให้เหมาะกับชาว "ท่อง" ส่วนใหญ่ นี้เสียแล้ว...

หมายเลขบันทึก: 498032เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2012 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท