แนวคิดหลักในการทำ "บัญชีครัวเรือน"


จากการประชุมเครือข่ายของ พอช. ในโครงการจัดทำแผนชีวิตเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนภาคประชาชน มีประเด็นหนึ่งที่น่าคิดก็คือเรื่องของ “การทำบัญชีครัวเรือน”

ซึ่งเป็นประเด็นที่นักพัฒนาหลาย ๆ แขนงร่วมกันลงความเห็นว่าน่าจะเป็นวิธีการหนึ่งที่แก้ไขปัญหาความยากจนในระดับครอบครัวและชุมชนได้


จากการที่เคยเป็นทั้งผู้วิจัยและผู้เก็บข้อมูลในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการที่ดีของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนจังหวัดอุตรดิตถ์ การได้เป็นผู้ควบคุมโครงการในโครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจชุมชนทั้งในจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดน่าน ประกอบกับการเป็นทีมสร้างเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลของการจัดทำแผนชีวิตภาคประชาชน ด้านปัจจัยการผลิต เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดอุตรดิตถ์ ทั้ง 3 โครงการที่ว่ามานั้น ได้มีการส่งเสริมและกระตุ้นให้ชุมชนมีการจัดทำบัญชีครัวเรือนทั้งสิ้น


แง่คิดที่ได้รับจากการดำเนินงาน
“การทำบัญชีครัวเรือน” จะสำเร็จได้ ทีมวิจัย ขอเน้นครับว่า “ทีมวิจัย” เพราะความสำเร็จจะต้องลงไปทำงานเป็นทีม

ทีมนั้นจะต้องมี concept หลักในการลงไปทำงานที่จะต้องเน้นการสร้าง “กระบวนการเรียนรู้และคิด” มิใช่เน้นการ “เก็บข้อมูล” ดังนั้นจึงต้องคำว่า “ทีม” ลงไปเพื่อจัดกระบวนการคิดและเรียนรู้เรื่องของรายได้และรายจ่ายของตนเอง


ข้อควรระวัง ไม่ควรคิดว่าลงไปเพื่อ “เก็บข้อมูล” โดยเด็ดขาด


โดยเฉพาะถ้ามีการให้ผู้ช่วยนักวิจัยลงไปช่วยทำงานด้วยแล้ว ผู้ควบคุมโครงการหรือหัวหน้าโครงการจะต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องแนวคิดหลักนี้ให้มากที่สุด มิควรใช้ชุมชน (จริง ๆ ) เป็นที่ทดลองหรือเรียนรู้ดังเช่นหนูทดลอง เพราะนั่นคือการทำงานจริง

ซึ่งถ้าลงไปจัดกระบวนการแล้วผิดพลาดหรือทำแล้วครอบครัวหรือชุมชนที่ลงไปทำนั้นไม่ประทับใจ ไม่รู้สึกตระหนักในการทำบัญชีครัวเรือนแล้ว ยิ่งจะทำให้การทำงานของโครงการต่อ ๆ ไป “ทำงานยากขึ้น”


เพราะ “ชุมชนเข็ด”
เข็ดกับการที่จะต้องให้ข้อมูลกับหลาย ๆ หน่วยงาน


ให้ข้อมูลซ้ำ ๆ ให้ไปแล้วก็ไม่เห็นมีอะไรดีขึ้น


ดังเช่นที่ผมเคยเขียนไว้ในบันทึกก่อน ๆ ว่า “เรามิใช่หนึ่งเดียวในชุมชน”


มีหน่วยงานและองค์กรอีกมากมาย ลงไปทำ ลงไปศึกษา ลงไปวิจัยกับชุมชนเยอะแยะมาก ๆ


โดยเฉพาะ ชุมชนที่ดี ชุมชนที่ประสบความสำเร็จ


พี่น้องในชุมชนเหล่านั้น แทบจะต้องไม่ทำมาหากินกันเลยทีเดียว
ประชุม จัดเวที สัมภาษณ์ ตอบแบบสอบถาม ทั้งในและนอกชุมชนกันแทบทุกวัน


ดังนั้น First Impression ความประทับใจครั้งแรกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ


ถ้าเราไปทดลองทำงานกับชุมชน จะเป็นการสร้างอคติต่อสิ่งที่เราไปทดลองอย่างมาก ๆ


และถ้ายิ่งไปทำในเรื่องบัญชีด้วยแล้ว เป็นสิ่งที่เหมือน “ยาขม” สำหรับคนไทย


แม้กระทั่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็ยังร้อน ๆ หนาว ๆ เมื่อต้องลงเรียนวิชา “บัญชี”


ดังนั้น “ทีมวิจัย” จะต้องเน้นการจัดกระบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้

 


การเป็น “ทีม” นั้น จะต้องมีทั้ง


คุณเอื้อ ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.


คุณอำนวย ได้แก่ หัวหน้าทีมในการเก็บข้อมูล หรือผู้มีทักษะในการควบคุมการสนทนา


คุณลิขิต ได้แก่ ทีมงานวิจัยที่ไปด้วยกัน จะต้องทำการซักซ้อมและนัดแนะในการจด การเขียน การบันทึกกับคุณอำนวยอย่างรู้ใจซึ่งกันและกัน "ถ้าให้คุณอำนวยถามไปจดไป จะทำให้เสียทั้งงานถามและงานจด"


ที่สำคัญมาก ๆ ก็คือ คุณกิจ สร้างคนทำงาน คนปฏิบัติการ คนที่จะสานต่องานให้เกิดขึ้นในชุมชน  

การไปทำงานจะต้องคิดไว้เสมอว่า เราไม่ได้อยู่ในชุมชนนั้นตลอดเวลา ชีวิตนี้เราอาจจะได้ลงไปทำงานกับชุมชนนั้นเพียงแค่ครั้งเดียวก็ได้ แล้วใครล่ะที่จะทำให้กระบวนการนี้อยู่ในชุมชนได้ตลอดเวลา นั่นก็คือ “คนในชุมชน” นั่นเอง


 ดังนั้น เราจะต้องชักนำ ชักชวน “แนะแบบไม่แนะนำ” พี่น้องในชุมชนที่ไปกับทีมวิจัยในการเก็บข้อมูล


ถ้าเราไปจัดกระบวนการ ทีมงานเราก็ได้ประโยชน์อย่างเดียว เราทำเสร็จกระบวนการก็จบ


แต่ถ้าเราชักชวนพี่น้องในชุมชนเข้าไปทำงานด้วย ร่วมจัดกระบวนการในการจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องรายได้ ค่าใช้จ่าย ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน


พี่น้องในชุมชนนั้น ก็จะเรียนรู้และซึมซับเทคนิคการทำงานต่าง ๆ ไว้ใช้ในคราวหน้า


“คราวหน้า” คืออะไร...?


หลัก ๆ ก็คือ การจัดทำข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ซึ่งจัดเก็บกันแทบทุกปี เมื่อก่อนจะเป็นความรับผิดชอบของสำนักงานพัฒนาชุมชน แต่ในปัจจุบันได้มีการกระจายอำนาจให้กับท้องถิ่น อบต. เป็นผู้จัดสรรงบประมาณ อุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ในการจัดเก็บ


“ใครเป็นคนจัดเก็บ...?”


ส่วนใหญ่ พี่น้องในชุมชน


ดังนั้น ถ้าเราร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน กระบวนการต่าง ๆ ก็จะไม่อยู่ในกลุ่มทีมวิจัยที่ได้เรียนได้รู้เท่านั้น จุดประสงค์หลักที่หลาย ๆ ท่านมักลืมก็คือ “การพึ่งตนเอง”

 


ชีวิตใคร ใครก็รัก

บ้านใคร ใครก็รัก

ชุมชนใคร ใครก็รัก


ดังนั้นถ้าเขาทราบถึงประโยชน์ และทำเป็น ทำได้ กระบวนการที่ดี ๆ เหล่านี้ก็ก็จะอยู่ในชุมชนตลอดไป


ปีหนึ่งเราเข้าไปทำงาน หนึ่งวัน หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน


แต่พี่น้องอยู่ในชุมชนตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ 365 วันต่อปี
การทำงานจะหมุนวนอยู่ตลอดเวลาในชุมชน การพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนก็จะเกิดขึ้นตลอดไป

 

หมายเลขบันทึก: 49792เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2006 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เป็นสิ่งที่ผมเองก็ได้รับทราบจากชุมชน บ้านบุไทร ต. ไทยสามัคคี อ. วังน้ำเขียว เช่นเดียวกันครับ หลังจากทำโฮมสเตย์ จนได้รับการรับรองมาตรฐานระดับประเทศ
  • โดยเฉพาะ ชุมชนที่ดี ชุมชนที่ประสบความสำเร็จ พี่น้องในชุมชนเหล่านั้น แทบจะต้องไม่ทำมาหากินกันเลยทีเดียว ประชุม จัดเวที สัมภาษณ์ ตอบแบบสอบถาม ทั้งในและนอกชุมชนกัน แทบทุกวัน
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งเลยครับท่านอาจารย์ Panda
  • สิ่งที่อาจารย์เจอมา เป็นจริงมาก ๆ เลยครับ ผมก็เจอมาหลายครั้งครับ เจอได้แต่พูดไม่ได้ครับ เพราะหลาย ๆ โครงการก็ยังจะเข้าไปทำงานกับชุมชนอยู่ครับ
  • ชุมชนน่ารักเสมอครับ ใครมาก็ต้อนรับ
  • แต่ตอนหลังมา การเรียนรู้และประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการจัดเวทีแบบเสมอภาคดีขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ชุมชนหลาย ๆ ชุมชนเริ่มมีเสียงพูดออกมามากเลยครับ
  • "ไปชุมชนอื่นบ้างเถอะ ไม่มีทำมาหากินกันเลย"
  • ขอบพระคุณอาจารย์ Panda ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนและเปิดประเด็นในด้านนี้ครับ
งานวิชาตลาดะรกิจชุมชน
ดีมากเลยคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท