Muen and Rid


(ข้อมูล)
อำแดง ( นางสาว ) เหมือน เป็นลูกของนายเกต กับ อำแดง ( นาง ) นุ่มประกอบอาชีพทำสวนอยุ่ที่ตำบลบางม่วง อำเภอเมืองนนทบุรี นายเกตกับอำแดงนุ่มยกอำแดงเหมือนให้เป็นภรรยานายภู เมื่ออำแดงเหมือนไม่ยอมโดยดี พ่อแม่ก็ให้นายภูมาฉุดเอาตัวไป แต่อำแดงเหมือนหนีกลับบ้านของตน นายภูมาฉุดไปอีก อำแดงเหมือนก็หนีไปอีก หากแต่ครั้งนี้หนีไปอยู่กับนายริด ชายคนรัก นายภูจึงฟ้องนายริดว่าลักพาเมียตน ระหว่างที่โจทก์จำเลยยังสู้ความกันอยู่ที่ศาล อำแดงเหมือนได้ถูกควบคุมไว้ในตะรางที่จวนของพระนนทบุรี เจ้าเมืองนนทบุรีและถูก นางเปี่ยมพะทำมะรงซึ่งกินสินบนของนายภูกลั่นแกล้งทารุณต่างๆ นานา เพื่อบีบบังคับให้อำแดงเหมือนยอมเป็นเมียนายภู อำแดงเหมือนหนีตะรางไปถวายฎีกาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 4 )

ณ พระที่นั่งสุทไธศวรรย์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2408

 -----------------------------------------------------------------------

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า
       
       "
หญิงนั้นอายุก็มากถึง ๒๐ ปีเสศแล้ว ควรจะเลือกหาผัว ตามใจชอบของตนเองได้"
       
แต่ให้นายริดจ่ายค่าเบี้ยละเมิด และ ค่าฤชาธรรมเนียม แก่บิดามารดาอำแดงเหมือน และนายภู ให้เลิกอายัด และยกฟ้อง ปล่อยตัวญาติผู้ใหญ่ ของนายริด และวินิจฉัยถึงสาเหตุ ที่บิดามารดา ของอำแดงเหมือน ยอมให้นายภู มาฉุดคร่าตัว อำแดงเหมือนไป ถึงสองครั้งนั้นว่า อาจเนื่องมาจาก เหตุที่บิดามารดา ได้ทำหนังสือขายอำแดงเหมือน ให้แก่นายภูไปแล้ว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ได้ตัดสินว่า
       
       
"บิดามารดา ไม่ได้เป็นเจ้าของผู้หญิง ดังหนึ่งคนเป็นเจ้าของโค กระบือ ช้าง ม้า จะตั้งราคาขายโดยชอบได้ ... เมื่อบิดามารดายากจน จะขายบุตร ต่อบุตรยอมให้ขาย
จึงขายได้ ถ้าไม่ยอมให้ขาย ก็ขายไม่ได้ ฤๅยอมให้ขาย ถ้าบุตรยอมรับนี่ (ปัจจุบันใช้หนี้) ค่าตัวเพียงไร ขายได้เพียงเท่านั้น กฎหมายเก่าอย่างไร ผิดไปจากนี้อย่าเอา" 
       
       
      
       
นอกจากคดีอำแดงเหมือน และนายภูแล้ว ยังมีอีกคดีหนึ่งที่เกิดขึ้น
คือคดีของอำแดงจั่น ที่สามีของ อำแดงจั่น ได้ขายอำแดงจั่น แล้วอำแดงจั่นได้ไปทูลเกล้า ถวายฎีกาต่อรัชกาลที่ ๔ ว่านายเอี่ยม ซึ่งเป็นผัว ลักเอาชื่อของตน ไปขายให้เป็นทาสแก่ผู้อื่น โดยที่ตน ไม่ได้รู้ไม่ได้เห็นด้วย รัชกาลที่ ๔ ทรงมีพระราชดำริว่า "ผัวลักเอาชื่อภริยาไปขาย ภริยาไม่เห็นด้วย จะเรียกว่าเป็นเรือนเบี้ย ไม่ควร" พระองค์ทรงให้ลูกขุน คัดตัวบท กฎหมาย ทูลเกล้าถวาย เมื่ออ่านกฎหมายแล้วเห็นว่า กฎหมายวางหลักว่า ผัวหรือพ่อแม่ มีสิทธิที่จะ เอาชื่อเมียหรือลูก ใส่กรมธรรม์ เพื่อขายแก่ผู้อื่นได้ โดยที่ลูกหรือเมีย จะรู้หรือไม่ก็ตาม และพ่อแม่ มีอำนาจอิสระ เหนือเมียและลูก แต่ในทางกลับกัน เมียหรือลูก จะเอาชื่อผัว หรือพ่อใส่กรมธรรม์ เพื่อขายแก่ผู้อื่นไม่ได้ เมื่อทรงเห็นหลักกฎหมาย ดังกล่าวแล้ว ทรงมีพระราชดำริว่า
       
       
"
กฎหมายนี้ เมื่อพิเคราะห์ดูเหมือนผู้หญิงจะเป็นควาย ผู้ชายเป็นคน หาเห็นการยุติธรรมไม่ ให้ยกเสีย…."
       
       
นับว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นอกจากจะทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์เอกแล้ว ยังทรงเป็นนักสิทธิสตรีอีกด้วย และสำนวนที่พูดกันติดปากว่า ผู้หญิงเป็นควาย-ผู้ชายเป็นคน ก็มาจากพระองค์ท่านนี่เอง!!

http://www.manager.co.th/Columnist/ViewNews.aspx?NewsID=2000000054504
คำสำคัญ (Tags): #ภาพยนต์
หมายเลขบันทึก: 49784เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2006 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อำแดงเหมือนกับนายริด [ 2537 ]

ผู้กำกับ : เชิด ทรงศรี

นักแสดง:
จินตหรา สุขพัฒน์
สันติสุข พรหมศิริ
ดวงดาว จารุจินดา
รณ ฤทธิชัย
บรรเจิดศรี ยมาภัย
แมน ธีรพล

วันที่เข้าฉาย: 12 มีนาคม 2537
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท