อ่าน...คิด...เขียน...เรียนรู้ Through "IT"


จงเรียนรู้ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเอง จุดไฟแห่งความฝันใฝ่ให้ตน อย่ามัวรอคนมาจุดให้ (Learn to be an inspiration to yourself. Light your own fire. Don't wait for others to inspire you.)

       

     อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) นักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 …ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี"…ได้กลายมาเป็นแบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะ ความนิยมในตัวของเขา ทำให้มีการใช้ชื่อ "ไอน์สไตน์" ในการโฆษณา หรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ให้เป็นเครื่องหมายการค้า…ในทุกวันนี้ ไอน์สไตน์ยังคงเป็นที่รู้จักดี ในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุด ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์และนอกวงการ

(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95_%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C)

      จิระนันท์ พิตรปรีชา (เกิด 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498) ที่ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง เป็นอดีตผู้นำนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ปัจจุบันเป็นนักเขียน และผู้จัดทำบทบรรยายภาพยนตร์ ได้รับรางวัลซีไรต์ พ.ศ. 2532 จากกวีนิพนธ์ "ใบไม้ที่หายไป"  

(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C_%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%B2เรื่อง

       อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ กล่าวว่า "I have no special talents. I am only passionately curious." (ข้าพเจ้า ไม่ได้เป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษแต่อย่างใด เป็นเพียงผู้กระหายใคร่เรียนรู้อย่างแรงกล้าก็เท่านั้น) และ คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา ก็ได้ตอบคำถามของผู้ดำเนินรายการ "English Breakfast" ที่ออกอากาศใน "วันภาษาไทยแห่งชาติ" วันที่ 29 กรกฎาคม 2555 ว่า การที่เธอสามารถทำอะไรๆ ได้หลายอย่าง เช่นการเป็นกวี เป็นนักเขียน นักแปลบทภาพยนตร์ต่างประเทศ และเป็นที่ปรึกษาของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (Museum Siam) ก็เพราะ "เธอมีธรรมชาติเป็นคนใฝ่รู้ใฝ่เรียนในทุกสิ่งนั่นเอง (My nature; I'm curious about everything.")

                   

     กรณีบุคคลตัวอย่างทั้งสองท่านที่กล่าวมา สอดคล้องกับคำกล่าวที่ว่า "ความสำเร็จเกิดจากอุปนิสัย (Success is a habit.)" และ "ผู้ชนะมักจะพูดว่า 'มันอาจจะทำได้ยาก แต่ก็สามารถทำได้' ในขณะที่ "ผู้แพ้มักจะพูดว่า   'มันอาจจะเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่มันก็ยากเกินไปที่จะทำ' "     

        

       "ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน (Curiosity)" เป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของนักศึกษา ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กำหนดไว้ แต่น่าเสียดายว่า ข้อความดังกล่าวปรากฏแต่ในเอกสารเกี่ยวกับการประกันคุณภาพ แม้แต่ในคู่มือการศึกษาที่แจกให้นักศึกษาทุกคนก็ไม่ปรากฏ มีเพียงแสดงในป้ายหน้ามหาวิทยาลัย กับในป้ายประกาศหน้าตึกสำนักงานอธิการ (ดังภาพล่าง) เท่านั้น ซึ่งเมื่อผู้เขียนถามนักศึกษาที่เรียน "วิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน" กับผู้เขียนเกือบ 130 คน (ซึ่งประมาณร้อยละ 85 เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3) ก็มีเพียงคนเดียวที่รับรู้อัตลักษณ์ดังกล่าว

 

       ในภาคเรียนนี้ ผู้เขียนได้กำหนดให้นักศึกษาที่เรียนใน "รายวิชาพฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน" "ใช้ IT เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการเรียนรู้ตลอดชีวิต" โดย เริ่มจากการให้สมัครสมาชิก GotoKnow เพื่อจะได้เข้าไปเรียนรู้ด้วยการอ่านบันทึกต่างๆ ตามที่อาจารย์ชี้แนะ และตามความสนใจของนักศึกษาแต่ละคน ในขอบข่ายของวิชาที่เรียน และฝึกการเขียนแสดงความเห็น เขียนอนุทิน และเขียนบันทึก ซึ่งเป็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับ "ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี" ข้อที่ 3 และข้อที่ 7 คือ ข้อที่ 3) ใฝ่รู้ใฝ่เรียนและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต และข้อที่ 7) มีทักษะการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์ ในการศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ ที่เป็นประโยชน์ต่อประสบการณ์ชีวิต

        แต่ผู้เขียน "งุนงง" มาก ที่ข้อกำหนดเกี่ยวกับ 1) ชื่อที่ใช้ใน GotoKnow 2) ลักษณะของภาพประจำตัว 3) รหัสประจำตัวที่กำหนดให้พิมพ์ในภาพ และ 4) ข้อมูลเบื้องต้นที่ให้เขียนในประวัติ (นักศึกษาสามารถเพิ่มเติมข้อมูลอื่นๆ ได้ ตามความต้องการและความเหมาะสม) ดังตัวอย่างข้างล่าง ซึ่งผู้เขียนได้อธิบายซ้ำแล้วซ้ำอีก ในบันทึกทุกเรื่อง รวม 6 บันทึก ทั้งแสดงให้ดูด้วยภาพ ว่า ใครทำได้ถูกต้อง ใครไม่ถูกต้องตรงไหน จะแก้ไขให้ถูกต้องได้อย่างไร อีกทั้งชี้แจงในห้องเรียน แต่นับจากวันที่ 23 มิถุนายน 2555 มาจนถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2555 เวลา 08.30 น. มีผู้ที่ทำได้ถูกต้องตามข้อกำหนดทุกอย่าง ประมาณร้อยละ 30 เท่านั้น

       

      นี่เป็นพียง 2 ตัวอย่างของหลายๆ ข้อมูลย้อนกลับ ที่แจ้งให้นักศึกษาแก้ไขให้ถูกต้อง

       และได้กำหนดว่า "ในการพัฒนา 'ทักษะการอ่าน การคิดวิเคระห์/สังเคราะห์ และเขียนสื่อความ' นั้น ภายในสิ้นเดือนสิงหาคม นักศึกษาแต่ละคนจะต้องเขียนบันทึกใน GotoKnow อย่างน้อย 1 เรื่อง และได้ชี้แจงแนวทางในการเขียนว่า ต้องให้มี "องค์ประกอบของการเขียนบทความ" ครบทั้ง 3 ส่วน คือ 1) ความนำ (Introduction) 2) เนื้อหา (Body) และ 3) สรุป (Conclusion) หรือคำทิ้งท้าย  ต้องระมัดระวังในการเขียน (พิมพ์) ให้ถูกต้องตามอักขระ ใช้ภาษาที่เป็นทางการ ให้อ่านตรวจทานการพิมพ์ให้ถูกต้อง  ต้องเขียนด้วยถ้อยคำสำนวนภาษาของตน ถ้ายกข้อความหรืองานเขียนของใครมา ต้องมีการอ้างอิงด้วย"  ต่อมาก็ชี้แจงว่า "ขอทบทวนว่า ในการเขียนบันทึก ต้องมีส่วนประกอบครบ 3 ส่วน แต่ละส่วนแยกเป็นแต่ละย่อหน้าให้เห็นชัดเจน และต้องค้นคว้าและนำมาอ้างอิงอย่างน้อย 1 แหล่งพร้อมทั้งแสดงการอ้างอิงโดยให้ Link ตามรูปแบบต่างๆ ที่อาจารย์ให้ไว้ในบันทึกนี้และบันทึกอื่นๆ ซึ่งสามารถ Click เข้าไปดูแหล่งที่มาได้ และให้เขียนตามลักษณะ 4 ประการของบทความที่ดี ได้แก่ 1) มีเอกภาพ คือ ให้เนื้อหาของบทความมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน... 2) มีสารัตถภาพ คือ เน้นย้ำประเด็นสำคัญให้ชัดเจนว่า ต้องการนำเสนอแนวคิดสำคัญอะไร...3) มีสัมพันธภาพ คือ มีความต่อเนื่องสัมพันธ์กันโดยตลอด...4) มีความสมบูรณ์  คือ อธิบายได้ครอบคลุมความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอ ...งานเขียนทุกครั้งต้องมีประโยคเด่น ที่นำมาจากข้อความในบันทึก และถ้าเป็นการเขียนที่เกี่ยวข้องกับบันทึกใด ต้องใส่หมายเลขของบันทึกนั้นๆ ลงไปด้วย การประเมินให้คะแนนบันทึก 20 แต้ม อาจารย์จะเริ่มจากการดูว่า ทำตามข้อกำหนดเบื้องต้นไหม ถ้าไม่เป็นไปตามนั้นก็จะไม่ประเมิน ถ้าเป็นไปตามนั้นจะประเมินให้คะแนน ดังนี้ ชื่อเรื่อง 2 ประโยคเด่น 2 ความนำ 3 เนื้อหา 8 บทส่งท้ายหรือสรุป 3 บันทึกที่เกี่ยวข้อง 2 การให้คะแนนเนื้อหา จะดูว่าตอบโจทย์ไหม สาระเป็นประโชน์มากน้อยแค่ไหน ใช้ภาษาสื่อความเป็นอย่างไร การพิมพ์ผิดจะถูกหักแต้มคำละ 1 แต้ม ข้อแนะนำในการเขียนอนุทิน ก็ได้นำ Link ตัวอย่างการเขียนอนุทินที่ดี ให้คลิกเข้าไปอ่านได้ 

      และเมื่อพบว่า เวลาล่วงเลยเข้าเดือนสิงหาคม แต่เห็นนักศึกษาเขียนบันทึกไม่กี่คน ก็บ่นว่า "...จากการติดตามพบว่า บางคนก็ขยันเขียน...แต่บางคนแม้แต่สมุด (Blog) ก็ยังไม่สร้าง จึงขอแจ้งว่า ภายในวันที่ 9 สิงหาคม ทุกคนจะต้องมีหัวสมุดให้อาจารย์ตรวจ...ใครๆ เขาก็เชื่อกันว่า คนรุ่นใหม่เก่ง IT กว่าคนรุ่นเก่า พวกเราก็ต้องทำให้เป็นไปตามความเชื่อกันหน่อยสิ... ตอนที่อาจารย์สมัครสมาชิก GotoKnow แค่เคยได้ยินชื่อ Weblog นี้เท่านั้น และไม่มีใครแนะนำอะไรเลย...พวกเราได้รับคำแนะนำสารพัด ตัวอย่างหัวสมุด และตัวอย่างการเขียนบันทึก อาจารย์ก็ทำให้ดูมามากแล้ว เพื่อนหลายคนก็ทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง ทำไมจึงไม่เข้าไปอ่านงานของเพื่อน และสอบถามวิธีทำจากเพื่อน ดูเหมือนพวกเราส่วนใหญ่จะชินกับการเรียนแบบอ่านและท่องจำเนื้อหาในตำรามากไปหรือเปล่า จึงยังปรับตัวเข้ากับการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้ IT เป็นสื่อไม่ได้"

         อาจารย์ได้เขียถึงที่มาของการเป็นสมาชิก “GotoKnow.org” ไว้ว่า "ในวันที่ 1 เมษายน 2554 ผู้เขียนได้ไปงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติกับลูกสาวและลูกชาย โดยแยกกันเดิน เพื่อไม่ให้เสียเวลารอกัน พอกลับมาพบกันอีกที พบว่า ลูกสาวได้หนังสือมา 7 เล่ม (บางเล่มแจกฟรี) ทั้ง 7 เล่มเป็นหนังสือเกี่ยวกับธรรมะ  ลูกชายซื้อหนังสือท่องเที่ยวมาเล่มเดียว แม่ได้มา 4 เล่ม เป็นตำราจิตวิทยา Pocket Book ที่แสดงแนวคิดด้านการเรียนรู้ หนังสือแนะนำการตัดต่อ VDO  (ไว้ศึกษาเพื่อผลิตสื่อ DVD) และหนังสือสมุนไพร อย่างละเล่ม  ด้วยผู้เขียนต้องการจะมี 'Blog' เป็นของตนเองแต่รู้เรื่อง "Blog" น้อยมาก จึงได้ไปถามหาหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับ "Blog"  จาก Booths ที่ขายหนังสือ IT แต่พนักงานขายหาให้ไม่ได้ ขากลับจึงได้พูดเปรยๆ กับลูกชายว่าแม่อยากจะสร้าง Blog ลูกชายบอกว่า 'มันยากนะ แม่จะทำได้เหรอ' ก็เลยไม่พูดอะไรต่อ  ในตอนเย็นได้เข้า 'เน็ท และพิมพ์คำค้น "Blog" แล้วสืบค้นไปเรื่อยๆ  จนสุดท้ายได้ตัดสินใจสมัครสมาชิก Gotoknow.org เวลา 02.20 น. ของวันที่ 2 เมษายน 2554...พอสมัครแล้วก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อ เลยปิดเครื่องเพื่อตั้งหลัก พอเปิดเครื่องใหม่ลองคลิกดูตรงคำว่า Blog พบว่ามีคำว่า "สร้าง Blog" ก็เลยคลิกและดำเนินการตามข้อความที่กำหนดให้ทำ ไปตามลำดับ (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/441045)

      จากที่อาจารย์พบว่า นักศึกษาทุกคนไม่ใช่ "นักอ่าน (ผู้ที่รักการอ่านและอ่านอย่างมีคุณภาพ)"  จึงขอทบทวนประโยชน์ของการอ่านว่า ...การอ่านเป็นประตูไปสู่การเป็นอัจฉริยะของมนุษย์ ...ความสามารถในการอ่าน เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการเรียน และส่งผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ ทั้งทางสติปัญญา  อารมณ์และสังคม...ในยุคข้อมูลข่าวสาร  การอ่านจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ต่างๆ  เพื่อทำให้ผู้อ่านฉลาด  รอบรู้  ทันโลก  ทันเหตุการณ์ รศ.วิทยากร เชียงกูล  กล่าวว่า "...ถ้าเราไม่สามารถปฏิรูปให้คนรักการอ่านได้  ก็จะปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ และเมื่อปฏิรูปการศึกษาไม่ได้ ก็จะปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ  สังคมของประเทศนั้นๆ ไม่ได้เช่นกัน  เพราะไม่เคยมีประเทศไหน พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ดี  โดยไม่เริ่มจากทำให้คนรักการอ่าน" และอาจารย์ได้กล่าวไว้ในบันทึกก่อนๆ ว่า "...น่าเป็นห่วงว่า ประเทศไทยจะนับวันเสียเปรียบประเทศสมาชิก ASEAN อื่นๆ มากขึ้นไปเรื่อยๆ เหตุเพราะคนไทยมีอัตราการอ่านที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับอีก 3 ประเทศ ดังสถิติการอ่านต่อคนต่อปี ของคนไทยในปี 2554 เมื่อเทียบกับ 3 ประเทศ ASEAN  (ดังภาพข้างล่าง) นอกจากคนไทยจะมีปัญหาอ่านน้อยแล้ว ก็ยังมีปัญหาว่า หนังสือที่อ่าน มักจะเป็นหนังสือบันเทิงมากกว่าหนังสือประเทืองปัญญา อีกด้วย" (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/487729)

        

      ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ ได้ให้ข้อคิดว่า “ถ้าไม่ได้เป็นนักอ่าน    ไม่ควรคิดเป็นนักเขียน และหากเป็นนักเขียน ก็ควรเขียนเพื่อพัฒนาสังคม” สำหรับอาจารย์เอง ได้ให้ความสำคัญต่อทักษะการเขียนของนักศึกษา เพราะเห็นว่า นักศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน การเรียน การสมัครงาน การทำงาน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน จึงได้กำหนดให้นักศึกษาพัฒนาทักษะดังกล่าว โดยเริ่มด้วย การตรวจสอบทักษะพื้นฐานของนักศึกษาด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ และเขียนสื่อความ โดยการให้กรอกข้อมูล ในแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ซึ่งมีส่วนที่ให้ผู้เรียนวาดภาพสัญลักษณ์ ที่แสดงถึง "ตนตามที่ตนรับรู้ (Perceived Self)" พร้อมเขียนคำอธิบาย ซึ่งก็พบทั้งผู้ที่ทำได้ดี และผู้ที่มีปัญหาการเขียนสะกดคำไม่ถูกต้อง เขียนไม่สื่อความ และต่อมาก็ได้ให้ใบงานที่กำหนดให้นักศึกษาอ่านบทร้อยกรอง ที่มุ่งสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาตนเอง แล้วให้เขียนสื่อความถึงความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น หลังการอ่าน ซึ่งก็พบทั้งผู้ที่เขียนได้ดี และผู้ที่มีปัญหาการเขียนดังคัวอย่าง

 

         ขอยกตัวอย่าง "สมุด (Blogs)" ที่อาจารย์สร้าง ซึ่งมีทั้งหมด 6 เล่ม เล่มที่ใช้เขียนบันทึกสื่อสารกับนักศึกษาต่อเนื่องมา 6 เรื่องแล้ว มีชื่อว่า "Learntoknow..." และเล่มล่าสุดที่เพิ่งสร้างและใช้เขียนบันทึกนี้ มีชื่อว่า "Learntobe : พัฒนาตนสู่คนคุณภาพ" ดังตัวอย่างภาพแสดงการสร้างและภาพหัวสมุดที่ใช้ สำหรับนักศึกษานั้น อาจารย์เคยแนะนำให้ใช้ภาพหัวสมุดที่มีรูปตัวเองอยู่ด้วย แต่คงจะยากไป ใครทำไปแล้วก็แล้วไป แต่ถ้ายังไม่ได้ทำ ก็ให้ใช้ภาพภูเขาที่มีให้อยู่แล้ว และพิมพ์เฉพาะชื่อสมุด ดังตัวอย่างชื่อสมุดของแสงสุวรรณ และ จิรารัตน์ ข้างล่าง     

 

 ตัวอย่างการเขียนอนุทินที่ดี

วันพฤหัสบดี ที่ 2 (สิงหาคม 2555)  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 สองหน วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญ อีกวันในทางพุทธศาสนา (ศาสนา) ข้าพเจ้าตั้งใจไว้ว่า จะตื่นแต่เช้าเพื่อมาทำบุญตักบาตร แต่ก็ไม่เป็นดั่งความตั้งใจ เพราะข้าพเจ้าตื่นเช้าขึ้นมา คือ (เวลา) 08.24 น. ซึ่งไม่ทันแล้วสำหรับการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า ข้าพเจ้ารู้สึกแย่มาก

 • (14.00 น.) ข้าพเจ้าได้ไปทำบุญที่วัดสุปั (ปัฏ) นารามวรวิหาร โดยการปล่อยปลาไหล และให้อาหารปลา บรรยากาศค่อนข้างที่จะครึกครื้น(คึกคัก) เป็นพิเศษ เพราะวันนี้มีการประกวดขบวนพายเรือแห่เทียนกลางลำน้ำมูล มีผู้คนที่ไปร่วมทำบุญ และชมกันอย่างคับคั่ง  และก่อนที่ข้าพเจ้าจะเลือกทำบุญโดยการปล่อยปลาไหล ข้าพเจ้าได้ความคิด จากการบอกเล่าของแม่ข้าพเจ้าเอง ด้วยความเชื่อที่ว่า การปล่อยปลาไหลนั้น จะช่วยให้การดำเนินชีวิตทุกอย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็น การงาน การเงิน การเรียน ไม่มีอุปสรรคใดๆ มี (มา)ขวางกั้น หรือช่วยให้เราหลุดพ้นจากอุปสรรค มุ่งสู่จุดมุ่งหมายได้อย่างรวดเร็ว เหมือนกับลำตัวของปลาไหลเอง ที่มีความลื่นและมีเมือกปกคลุม ยากที่จะจับให้อยู่หมัด...

   อาจารย์ได้แสดงความเห็นว่า ...ขออนุโมทนาบุญด้วยนะคะ...ใช้ภาษาในการเขียนสื่อสารได้ดี ลื่นไหล พิมพ์ถูกอักขระ (ส่วนใหญ่) แต่จะยังไม่ได้แต้มการประเมิน เพราะข้อมูลชื่อที่ใช้ไม่ถูกต้อง 03 ปริศนา 1313 เคยบอกให้แก้ไข เป็น 03 ปริศนา มาลาสาย แล้ว แต่ยังไม่แก้ไข (ในภายหลัง นักศึกษาได้แก้ไขแล้ว)

       และอีกหนึ่งอนุทินหนึ่งที่เขียนได้ดีมาก ความว่า  "วันที่ 6 สิงหาคม 2555 ตื่นเช้าขึ้นมาครับเลย Log In เข้าhttp://www.gotoknow.org เลยพบว่า

  1. เจอภาพตัวเองโผล่ใน Blogs ของ อ.วิไล รู้สึกแย่มากเลยครับ เป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดขึ้นเลยเพราะว่ารูปภาพโปรไฟล์ (โพรไฟล์ : Profile) ไม่ถูกต้อง ทั้งๆที่อาจารย์ย้ำแล้วย้ำอีกว่าให้นักศึกษาไปแก้ไขให้ถูกต้องทุกคน....(แก้ไขเรียบร้อยแล้วนะครับอาจารย์)

  2. เจอบทความที่พออ่านแล้วก็ต้องอยากอ่านอีกรอบครับ เป็นบทความที่ประทับใจมากครับทั้งให้ข้อคิด สร้างแรงบันดาลใจ และสั่งงานด้วยครับ(http://www.gotoknow.org/blogs/posts/497137) "จงเรียนรู้ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเอง จุดไฟแห่งความฝันใฝ่ให้ตน อย่ามัวรอคนมาจุดให้ (Learn to be an inspiration to yourself. Light your own fire. Don't wait for others to inspire you.)" บทความนี้ทำให้ต้องคิดหนักเลยครับ ว่าเรามีแรงบันดาลใจหรือไม่ มากแค่ไหนหรือแค่เล่นๆ

  3. เจอคำว่า "ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน (Curiosity)" ซึ่งเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของนักศึกษา มรภ.อุบลราชธานี ซึ่งตัวเองไม่มีเลยครับ (ผมคงต้องปรับปรุงตัวเองอีกมาก แต่ก็จะทำให้ได้ครับ)...สุดท้ายก็ขอขอบพระคุณอาจารย์ ผศ. วิไล แพงศรีมากๆนะครับที่เตือนนักศึกษาและก็เขียนบทความดีๆ มาตลอดครับ (03 ราเชนทร์ จำนงการ)                                                                                     ความเห็นของอาจารย์ "เป็นการเขียนอนุทินที่ดีมาก " Blank" ถ้าไม่ติดว่าเขียนผิด"...จอ (เจอ) คำว่า"ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน (Curiosity)" ซึ่งเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของนักศึกษา มรภ.อุบลราชธานี ซึ่งตัวเองไม่มีเลยครับ (ผมคงต้องปรับปรุงตัวเองอีกมาก แต่ก็จะทำให้ได้ครับ)" จะให้เต็ม 10 เลย  


ตัวอย่างอนุทินที่ไม่สามารถประเมินให้คะแนนการเขียนได้ (สั้นไป)

   "วันนี้ไปทำบุญตักบาตรที่วัดหนองบัวมา คนไปทำบุญเยอะมากค่ะ" (03 เสาวภา สุภาษร)

ตัวอย่างการเขียนบันทึกที่ไม่มีตรงไหนเลยที่เป็นไปตามข้อกำหนด

   มีเนื้อหาอยู่แค่นี้ "ในเมื่อปัจจุบันมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีมากมายที่ไม่สามารถตามทันทำให้เกิดความล้าสมัยในหลายๆเรื่อง  แต่นั่นก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญนักเท่ากับการที่มีระบบการศึกษาที่ไม่พัฒนาจากเดิม ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์ของระบบการศึกษาของประเทศมาก  ดังนั้จึงควรเอาใจใส่ในการพัฒนารูปแบบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น" (04 พวงผกา สากุลา ...ขยันเขียนทั้งอนุทิน และบันทึก แต่ไม่มีเรื่องใดที่เป็นไปตามข้อกำหนดขั้นต้น จึงไม่ได้รับการประเมินและชี้แนะ)  

การประเมิน "ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน"

       อาจารย์ได้แจ้งไปแล้วว่า จะประเมิน "ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน" ของนักศึกษา จากพฤติกรรมการเรียนรู้ตามสภาพจริงของแต่ละคน โดยดูจากการเข้าเรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในชั้นเรียน นอกชั้นเรียน และใน GotoKnow ตัวอย่างของผู้ที่แสดงออกถึงความใฝ่รู้ใฝ่เรียนสูงสุด จากสัปดาห์แรกเป็นต้นมา คือ 02 ชฎารัตน์ ปุระมาปัด การพัฒนาด้านการอ่าน คิดและเขียนนั้น   ปรากฏในผลงานเขียนบันทึกของเธอ 4 เรื่อง

 

ข้อกำหนดประจำสัปดาห์

      1) ให้นักศึกษาทุกคน "สร้างสมุด (Blog)" ตามตัวอย่างที่ให้ไว้ อาจารย์จะตรวจสมุดในวันที่ 9 สิงหาคม 2555 เวลา 23.00 น.  และให้ทุกคนเขียนบันทึกตามข้อมูลข้างล่าง อาจารย์จะตรวจให้คะแนน เฉพาะคนที่ทำทุกอย่าง ถูกต้องตามข้อกำหนดเบื้องต้น (ในช่องบันทึกที่เกี่ยวข้อง ให้ใส่หมายเลข 496932   497137)

        2) และให้ทุกคนเลือกเขียนอนุทินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จาก 3 เหตุการณ์ คือ 1) ประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดจากการไปสนทนากับชาวต่างชาติ 2) ประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดจากการมีส่วนร่วมในวันอาสาฬหบูชา และ/หรือวันเข้าพรรษา และ 3) ประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดจากการทำกิจกรรมในช่วงวันแม่ (ปริศนา มาลาสายไม่ต้องเขียนอีก แต่ต้องแก้ไขชื่อที่ใช้ใน GotoKnow ให้ถูกต้องก่อน จึงจะได้รับการประเมิน)

      สุดท้าย อาจารย์ขอฝากข้อคิดมายัง นักศึกษาที่ขาดความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนสู่คนคุณภาพ ดังนี้

        

      ขอเรียนกัลยาณมิตร GotoKnow ว่า บางแห่งที่ใช้คำแทนตัวว่า "ผู้เขียน" นั่นเป็นการสื่อสารกับกัลยาณมิตร นะคะ และที่ที่ใช้คำว่า "อาจารย์" เป็นการสื่อสารกับนักศึกษา ค่ะ 

      ขอขอบคุณทุกท่าน ที่กรุณาเข้ามาอ่าน ให้ดอกไม้ และ/หรือแสดงความเห็น ค่ะ 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 497137เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2013 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (109)
  • ขอบคุณ "ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์Blank" และ "อาจารย์ "Wasawat DeemarnBlank" มากค่ะ ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจ เป็นท่านแรกๆ เลย
  • ขอบใจ "Blank" "Blank" และ "Blank" ที่เข้ามาให้กำลังใจอาจารย์ ปริศนาแก้ไขชื่อที่ใช้ใน GotoKnow แล้วนะคะ แต่ "Blank" ยังไม่แก้ไขอักษรย่อสาขาตามที่อาจารย์แนะนำไปแล้ว จึงยังไม่มีสิทธิ์แสดงตนในบันทึกนี้

สวัสดีครับฯ

เห็นด้วยกับการใช้ "การเขียน" เป็นกระบวนการหนุนเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน  เพราะนั่นคือการฝึกให้เกิดความตระหนักในเรื่องการบันทึกจดหมายเหตุชีวิต (อนุทิน)  และการเขียนเช่นนั้น  จะเป็นการจัดระบบระเบียนความคิดที่เขาพบเจอในแต่ละวัน แต่ละเรื่อง  ฝึกการมอง-การคิดวิเคราะห์-สังเคราะห์เรื่องราว และขยาย หรือแม้แต่ย่อความถ่ายทอดเป็น "ตัวหนังสือ"

สิ่งเหล่านี้ฝึกทักษะหลายๆ อย่าง ในทางการศึกษา ถือว่ามีพลังในการพัฒนาทักษะตามกรอบ TQF เป็นอย่างยิ่ง

การเขียนบ่อยๆ จะช่วยให้ผู้เขียนตกผลึกในทางโลกทัศน์และชีวทัศน์ได้ในที่สุด นั่นคือสิ่งที่ผมเชื่อแลศรัทธาเสมอมานะครับ..

 

  • ขอบคุณ "ทพญ.ธิรัมภาBlank  และ "ลูกแผ่นดินBlank" มากนะคะ ที่แวะมามอบดอกไม้ให้กำลังใจ

  • และขอบคุณลูกแผ่นดินมากเลยค่ะ ที่ได้ชี้ให้เห็นคูณประโยชน์ของการเขียนนอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้ว คือ เป็นการช่วย "จัดระบบระเบียบความคิดที่นักศึกษาพบเจอในแต่ละวัน แต่ละเรื่อง  ฝึกการมอง-การคิดวิเคราะห์-สังเคราะห์เรื่องราว และขยาย หรือแม้แต่ย่อความถ่ายทอดเป็น 'ตัวหนังสือ' ซึ่งจะฝึกทักษะหลายๆ อย่าง ในทางการศึกษา ถือว่ามีพลังในการพัฒนาทักษะตามกรอบ TQF เป็นอย่างยิ่ง การเขียนบ่อยๆ จะช่วยให้ผู้เขียนตกผลึกในทางโลกทัศน์และชีวทัศน์ได้ในที่สุด" นักศึกษาทุกคนอย่าลืมเข้ามาอ่านคุณค่าของการเขียน ที่ท่านอาจารย์รุ่นใหม่ไฟแรงจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กรุณาชี้ให้เห็นด้วยนะคะ และขอแนะนำให้ติดตามอ่านบันทึกของอาจารย์ เพื่อจะได้พบกับตัวอย่างงานเขียนดีๆ ทั้งในด้านการเสนอแนวคิด และสำนวนภาษาที่ใช้

  • ขอบคุณ "พี่วอญ่าBlank" มากค่ะ ที่แวะมาให้กำลังใจ

 

  • Blank เป็นอีกคนหนึ่งที่ไม่มีสิทฺธิ์แสดงตัว เพราะข้อมูลถูกแค่รูปและรหัสส่วนตัว ไม่ได้อ่านเลยเหรอ อาจารย์เพิ่งบ่นว่า "งงมากที่แสดงให้เห็นชัดเจนออกขนาดนี้ แล้วยังทำไม่ถูกต้อง" ถ้าไม่จัดการให้ถูกต้องก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะทำอะไรทุกอย่าง และถ้าทำก็ไม่ได้รับการประเมินอยู่ดี 

 

ดีใจกับนักศึกษาด้วยค่ะที่มีอาจารย์ให้ความเอาใจใส่อย่างจริงจังเช่นนี้ เป็นแบบอย่างที่น่าชื่นชมมาก

จะทำงานหนักไปจนถึงเดือนตุลาเชียวหรือครับ

จะฝากเพลงหนึ่งในร้อยมาก็ยังร้อนไม่ได้

คุณพี่ร้องเองไปก่อนก็แล้วกัน

ฝึกให้นักศึกษาได้เขียน ตั้งแต่เป็นนักศึกษา เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ...เมื่อยังไม่เกษียณ ...นักศึกษาไปฝึกสอน เขียนไม่ได้เลย ครับ เขียนบันทึกข้อความก็ไม่เป็น ...อย่าว่าแต่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์เลย ..สิบเวร ตำรวจ บางคน เคยไปแจ้างความ...อ่านบันทึกประจำวันที่ให้การ บางที งง คำเชื่อม คำขยาย อ่านไม่รู้เรื่องเลยครับ...ดังนั้นเป็นการฝึกที่ดีมาก ๆ ครับ...สวัสดีครับ

ติดไว้ก่อนครับ..แล้วจะกลับมาอ่าน

หนูทำตามคำแนะนำของอาจาร์แล้วนะคะ

ผมกำลังทำครับแต่มันยังไม่ได้เดี๋ยวผมจะลองทำใหม่อีกทีครับ

หนูกำลังทำเช่นกันค่ะ ขอบคุณคำแนะนำที่อาจารย์มอบให้มาโดยตลอดค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูได้เพิ่มอนุทินเกียวกับประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดจากการไปสนทนากับชาวต่างชาติแล้วนะค่ะ ขอให้อาจารย์เข้าไปตรวจสอบว่าใช้ได้หรือเปล่า หรือต้องแก้ไขอย่างไรให้ถูกต้องด้วยนะค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ

"Blank" บอกว่า"ขอบคุณคำแนะนำที่อาจารย์มอบให้มาโดยตลอด" แต่อาจารย์แนะนำมาสิบกว่าครั้งแล้วหนูก็ยังใช้ชื่อใน Gotoknow ไม่ถูกต้องเหมือนเดิม แสดงว่าไม่อ่านคำแนะนำเลย ซึ่งนอกจากจะทำให้ได้คะแนนเบื้องต้น = 0 แล้ว ก็ยังจะได้แต้มติดลบทุกครั้งที่แสดงตัว ทั้งไม่มีสิทธิ์แสดงตัวในบันทึกนี้ และจะไม่ได้รับการประเมินงานใดๆ จนกว่าจะทำให้ถูกต้อง อาจารย์บอกแล้วนะว่าคนที่เข้ามาโดยทำไม่ถูกต้องจะถูกลบความเห็น บอกให้รู้ก่อนจะลบภายหลัง (ไม่อ่านที่อาจารย์บอกก็ไม่ดูบ้างเหรอว่าเพื่อนๆ ข้างบนเช่น วสันต์ และพิมพ์รพัช เขาใช้ชื่อแบบใด)

03 นพมาศ 1255, และ 03 ภัทรา 1180 ก็มีปัญหาเดียวกัน และจะได้แต้มติดลบทุกครั้งที่แสดงตัวจนกว่าจะทำให้ถูกต้อง  อาจารย์แสดงชื่อที่ถูกต้องมาแล้ว 2 ครั้งในบันทึกนี้ ดูอีกเป็นรอบที่ 3 แล้วกัน ว่าชื่อที่ถูกต้องเป็นอย่างไร (02 ชฏารัตน์ ปุระมาปัด)

อาจารย์ค่ะ หนูได้แก้ไขประวัติส่วนตัวพร้อมกับเขียนสมุดบันทึกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ค่ะ

    นักศึกษาทุกคน วันที่ 6-8 สิงหาคม และ 8-10 สิงหาคม อาจารย์มีภารกิจซ้อนเข้ามา คือ ต้องร่วมเป็นวิทยากรอบรมครูแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา-มัธยมศึกษาจากจังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี แต่อาจารย์ก็จะเข้าพบปะพวกเราในชั้นเรียนเหมือนเดิม (วิ่งรอก) เพราะอาจารย์ทำไม่ได้ที่จะไปทำงานจรแล้วทิ้งงานประจำ ให้นักศึกษาทุกคนนำแฟ้มรายงานการพัฒนาตน พร้อมด้วยคู่มือการเรียนรู้มาด้วย เหมือนกับที่อาจารย์บอกให้นำมาด้วยทุกครั้งที่เข้าเรียน

  • "Blank"ภาพประจำตัวไม่ถูกต้องจึงไม่มีสิทธฺ์แสดงตัวในบันทึกนี้ และยังจะไม่ได้รับการประเมินงานใดๆ

  • อาจารย์พูดไม่ผิดเลย นักศึกษาทุกคนมีปัญหาการอ่าน คือ ไม่อ่านทั้งหมดในสิ่งที่อาจารย์แนะนำ เช่นอาจารย์แนะนำตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม ในบันทึกเรื่อง "ภาษาไทยภาษาชาติ..." ดังนี้

      • อยากจะเสริมในประเด็นการใช้วรรณยุกต์ที่ไม่ถูกต้องค่ะ ยกตัวอย่างจากนักศึกษาที่ใช้เวลาแสดงความเห็น ซึ่งพบตั้งแต่เริ่มแรกที่นักศึกษาเข้ามาแสดงความเห็นแล้ว ตัวอย่างเช่น"..." เขียนว่า "สวัสดีคะ (ค่ะ)อาจารย์หนูได้เข้าไปบันทึก"ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา"เสร็จเรียบร้อยแล้วนะคะขอให้อาจารย์เข้าไปอ่านและให้คำแนะนำในการเขียนด้วยนะคะเพื่อเป็นการปรับปรุงแก้ไขต่อไปคะ(ค่ะ)
      • คำที่นักศึกษาใช้ที่อาจารย์ระบายสีเทาและขีดเส้นใต้ คือคำที่ใช้วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง และอาจารย์ได้แก้ไขให้โดยใส่ในวงเล็บและระบายสีเหลือง ส่วนคำที่ระบายสีฟ้าคือคำที่นักศึกษาใช้วรรณยุกต์ได้ถูกต้อง
      • นักศึกษาทุกคนเมื่ออาจารย์ได้ชี้แนะแล้ว ถ้าใครยังใช้วรรณยุกต์ผิดอีกในคำที่ได้แนะนำไปแล้วจะหักแต้มคำละ-1นะคะ
      • "Blank" หนูได้เพิ่มอนุทินเกียวกับประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดจากการไปสนทนากับชาวต่างชาติแล้วนะค่ะ(นะคะ)=-1
      • "Blank"อาจารย์ค่ะ(คะ)=-1หนูได้แก้ไขประวัติส่วนตัวพร้อมกับเขียนสมุดบันทึกเป็นที่เรียบร้อยแล้วค่ะ รวมทั้งที่เข้ามาแสดงตัวโดยไม่มีสิทธิ์ = -1 รวมถูกหักแต้มครั้งนี้= -2
  • ขอบพระคุณ "พี่ใหญ่Blank" "คุณน้องคนบ้านไกลจากอเมริกาBlank" "ท่านแว่นธรรมทองBlank" และ "ป๋าเดของลูกศิษย์Blank" มากนะคะ ที่กรุณาสละเวลามาให้กำลังใจและทักทายพูดคุย ด้วยน้ำใจไมตรีที่มีต่อ อ.วิ

  • ขอบพระคุณมากค่ะ ที่ "พี่ใหญ่Blank" มอบถ้อยคำเสริมสร้างพลังใจน้องความว่า "ดีใจกับนักศึกษาด้วยค่ะที่มีอาจารย์ให้ความเอาใจใส่อย่างจริงจังเช่นนี้ เป็นแบบอย่างที่น่าชื่นชมมาก"

  • "คุณน้องคนบ้านไกลหุ่นทรมานใจสาวBlank (ในวัยหนุ่ม) มาดภูมฺิฐานในปัจจุบัน" คุยว่า "จะทำงานหนักไปจนถึงเดือนตุลาเชียวหรือครับ จะฝากเพลงหนึ่งในร้อยมาก็ยังร้อน (ร้อง)ไม่ได้ คุณพี่ร้องเองไปก่อนก็แล้วกัน" คุณพี่ขอตอบว่า"อย่างที่พี่เคยเรียนพี่ใหญ่ไปแล้วว่า ยิ่งใกล้เกษียณยิ่งต้องเร่งทำงานหนักมากขึ้นไปอีก เพราะนับวันจะมีเวลาน้อยลงไปทุกที ที่จะได้ทดแทนคุณประเทศในบทบาทข้าราชการ ใต้ร่มบารมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...เพลง 'หนึ่งในร้อย' นั้น คุณน้องเคยบอกว่า เขาใช้ร้องกันในวันแต่งงานไม่ใช่เหรอคะ เป็นเพลงหากินของพี่สาวคนโตของพี่ค่ะ ถ้าจะให้พี่ร้องเอง พี่คงต้องร้องเพลง "หนึ่งมิตรชิดใกล้" (ใจ แม้กายจะห่าง) แล้วล่ะค่ะ...จะรอฟังเพลงประสานเสียงจากครอบครัวคุณน้องพร้อมเสียงบรรเลงดนตรีจากฝีมือPianoของหลานสาวที่เรียนหมอนะคะ ...นานแค่ไหนก็จะรอ...ขอบคุณมากค่่ะ

  • "ท่านแว่นธรรมทองBlank" เข้าไปคุยเวลาใกล้ตีสอง ความว่า "ฝึกให้นักศึกษาได้เขียนตั้งแต่เป็นนักศึกษา เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ...เมื่อ (ตอนที่ท่านเอง) ยังไม่เกษียณ...นักศึกษาไปฝึกสอน เขียนไม่ได้เลย ครับ เขียนบันทึกข้อความก็ไม่เป็น...อย่าว่าแต่ นักศึกษาฝึกประสบการณ์เลย..สิบเวร ตำรวจ บางคน เคยไปแจ้งความ...อ่านบันทึกประจำวันที่ให้การ บางที งง คำเชื่อม คำขยาย อ่านไม่รู้เรื่องเลยครับ...ดังนั้นเป็นการฝึกที่ดีมาก ๆ ครับ...สวัสดีครับ" ... ขอบพระคุณมากค่ะ ที่ท่านสนับสนุนอ.วิเรื่องการจัดให้นักศึกษาฝึกการเขียน สงสัยว่านักศึกษาคงจะไม่ค่อยได้เขียนในวิชาอื่นๆ ยิ่งการเขียนที่มีอาจารย์มาแก้ไขให้นี่คงจะไม่มีใครสละเวลามาทำ ยกเว้นอาจารย์ที่สอนวิชาภาษาไทย เพราะอ.วิพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเขียนมาก ทั้งเรื่องการเขียนคำให้ถูกต้องตามอักขรวิธี และการใช้สำนวนภาษา ท่านลองดูเพียง 1 ตัวอย่างนี้สิคะ

     

    "ป๋าเดBlank" บอกว่า "ติดไว้ก่อนครับ..แล้วจะกลับมาอ่าน" ...เห็นติดอ.วิไว้หลายครั้งแล้วนะคะ สงสัยจะต้องเชิญไปร่วมกิจกรรมข้างล่างกับนักศึกษาแล้วล่ะค่ะ

กำลังแก้ไขภาพครับ ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ

ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะนะค่ะ หนูจะทำงานให้เสร็จตามกำหนดของอาจารย์ค่ะ

   นักศึกษา Section 03 ชี้แจงข้อข้องใจอาจารย์หน่อยซิ อาจารย์แจ้งในบันทึกนี้ วันนี้ (6 สิงหาคม 2555) เวลา 05.44 น. ความว่า "นักศึกษาทุกคน วันที่ 6-8 สิงหาคม และ 8-10 สิงหาคม อาจารย์มีภารกิจซ้อนเข้ามา คือ ต้องร่วมเป็นวิทยากรอบรมครูแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา-มัธยมศึกษาจากจังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษและอุบลราชธานี แต่อาจารย์ก็จะเข้าพบปะพวกเราในชั้นเรียนเหมือนเดิม (วิ่งรอก) เพราะอาจารย์ทำไม่ได้ที่จะไปทำงานจรแล้วทิ้งงานประจำ ให้นักศึกษาทุกคนนำแฟ้มรายงานการพัฒนาตน พร้อมด้วยคู่มือการเรียนรู้มาด้วย เหมือนกับที่อาจารย์บอกให้นำมาด้วยทุกครั้งที่เข้าเรียน

    แล้วในตารางสอนภาคเช้า อาจารย์ก็เข้าสอนและพบนักศึกษา Section 02 เข้าเรียนตามปกติ ดังหลักฐานในภาพล่าง (Section 02 ก็มีทั้งผู้ที่ได้เข้ามาอ่าน และผู้ที่ไม่ได้เข้ามาอ่านบันทึกนี้ เหมือนกันกับ Section 03 และ 04) ปกติพอสอน Section 02 เสร็จ อาจารย์ก็จะอยู่ในห้องเพื่อรอสอน Section 03 เลยโดยไม่พักทานข้าวกลางวัน แต่ช่วงนี้มีอบรม อาจารย์เลยต้องแวะไปที่ห้องอบรมที่โรงแรมลายทอง แต่พอกลับมาที่ห้องเรียน อาจารย์กลับไม่พบนักศึกษา Section 03 แม้แต่คนเดียว ทั้งที่อุปกรณ์ต่างๆ รวมทั้งคู่มือและเอกสารการเรียนรู้ทุกอย่าง อาจารย์ก็วางไว้บนโต๊ะ  จึงขอให้นักศึกษา Section 03 ชี้แจงด้วยว่า เกิดอะไรขึ้น และหวังว่า Section 04 ที่เรียนพรุ่งนี้ จะไม่มีปัญหาเหมือน Section 03 นะ

     สัปดาห์นี้ อาจารย์ได้อธิบายเรื่องต่างๆ รวมทั้งอธิบายเพิ่มเติมงานที่ได้สั่งไว้ในบันทึกนี้ และการกรอกข้อมูลในใบงานต่างๆ ในแฟ้มรายงานการพัฒนาตน และกำหนดให้ส่งแฟ้มรอบที่ 1 ในคาบเรียนสัปดาห์หน้า แต่วันจันทร์ (13 สิงหาคม) เป็นวันหยุด จึงให้ Section 02 และ 03 ที่เรียนในวันจันทร์ ส่งในวันอังคาร โดยตัวแทนแต่ละกลุ่มต้องส่งตัวแทนไปรับใบงานเพิ่มเติมจากอาจารย์ที่ห้องเรียน บ.404 ในวันที่ 14 สิงหาคม เวลา 09.00-10.30 ด้วย ส่วน Secton 04 ให้ส่งในคาบเรียนวันที่ 14  

       ก่อนเข้าชั้นอาจารย์ก็ได้เข้าไปตรวจอนุทินของ "Blank" และแจ้งผลการประเมินรวมทั้งบอกที่พิมพ์ผิด และตอนที่อาจารย์ไปที่ห้องเรียนไม่พบเห็น เปิด GotoKnow ก็เห็นราเชนทร์กำลังออนไลน์ (แก้ไขข้อมูลในภาพแล้วนี่) ถ้าจะเข้ามาตอบข้อสงสัยอาจารย์ก็จะดีนะ

        ถ้านักศึกษา Section 03 อยากรู้เรื่องต่างๆ ที่อาจารย์พูดถึง ก็คงจะต้องเข้าไปฟังในคาบเรียนของ Section 04 วันที่ 7 สิงหาคม เวลา 08.30 น.ห้อง บ.404 แล้วล่ะ อาจารย์ไม่มีเวลาอื่นที่จะให้พบแล้ว เพราะอบรมตลอดอาทิตย์ อย่างน้อยก็ส่งตัวแทนที่มีคุณภาพไปพบอาจารย์ในวันเวลาดังกล่าว

      

  • "Blank" นี่เป็นอีกตัวอย่างของผู้ที่มีปัญหาการอ่าน ลองย้อนขึ้นไปอ่านข้างบนซิ ถูกหักแต้ม -1 จากการใช้วรรณยุกต์ผิด " ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะนะค่ะ (นะคะ)

มาใช้กำลังใจอาจารย์ที่มุ่งมั่นแนะนำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้นักศึกษานะคะ :) นักเรียนของอาจารย์โชคดีมาก

ขอบคุณคะอาจารย์สำหรับคำชี้แนะ ส่วนมากหนูจะชอบใช้คำว่าค่ะมาตลอดในการเขียนหนังสืออาจารย์ได้ทำให้หนูรู้ข้อบกพร่องของตัวเอง ขอบคุณสำหรับความหวังดีที่มีให้กับลูกศิษย์คะ

ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะนะครับ ผมจะทำงานให้เสร็จตามกำหนดครับอาจารย์

  จากที่ได้อ่านบันทึกของท่านอาจารย์ ผมรู้สึกสะดุดกับชื่อสองชื่อซึ่งหนึ่งในนั้นไม่ใช่ Albert Einstein แน่นอนแต่เป็นคนไทยสองท่านคือ จิระนันท์ พิตรปรีชา  และ วิทยากร เชียงกูล 
    ท่านแรกนั้น ผมมั่นใจว่านักศึกษาอย่างเราๆท่านๆคงจะคุ้นเคยกันดีกับบทเพลงที่ข้นต้นด้วย “ดอกไม้   ดอกไม้จะบาน...”  ซึ่งเพลงๆนี้ผมได้ฟังมาตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ม.5 ในโรงเรียนชื่อดังแห่งหนึ่ง จำได้ว่าครั้งนั้นผมได้ไปค่าย “กล้าไม้ในเมือง”  ของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดขึ้น ฟังตอนนั้นรู้สึกได้ถึงพลังบางอย่างของความเป็นคนขึ้นมาเลยครับ ซาบซึ้งมาก เวลาล่วงเลยมาไม่นานผมก็ได้ถูกแนะนำให้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งจากคุณแม่ “ใบไม้ที่หายไป” ผมต้องอุทานกับตัวเองว่าอ้าว “ดอกไม้จะบาน”นี่นา ก็เลยรู้เลยว่าเป็นงานเขียนของ คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา  นี่เอง หนังสือเล่มนี้ผมอ่านสองรอบครับ ยังไม่เข้าใจดีเลย  
     ส่วนท่านที่สองผมชอบมากเลยครับ อยากอ่านมากหนังสือเล่มนี้แต่ยังไม่มีโอกาสครับ “ฉันจึงมาหาความหมาย”  เท้าความถึงตอนม.5 อีกแล้วครับ ครูท่านหนึ่งที่ดลโรงเรียนได้พูดในคาบแรกของชั่วโมงเรียนวิชาหนึ่งว่า    “...ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง      ฉันจึง มาหา ความหมาย  ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย     สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว...”
    รู้สึกติดใจกับวรรคสุดท้ายมากเลยครับ ทุกวันนี้ผมเรียนเพราะผมมีฝัน มีอุดมการณ์ ที่หลายคนบอกว่ากินไม่ได้

แต่ผมเชื่อว่า “ถึงอุดมการณ์จะกินไม่ได้ แต่ก็ทำให้ผมอุ่นใจเสมอ ถึงมันจะไม่เลิศเลอ แต่ได้เจอกันแล้วจริงๆ”และ หวังว่ากระดาษใบนี้คงมีค่ามากว่าถุงกล้วยแขกนะครับ...ขอบคุณครับ

  • "Blank" นี่ก็เป็นตัวอย่างของผู้ที่มีปัญหาการอ่านมากๆ อาจารย์แสดงการเขียนประวัติที่ถูกต้องซ้ำแล้ว 3 รอบในบันทึกนี้คงไม่แสดงอีกแล้ว ลองย้อนไปดูซิว่าประวัติที่เขียนไม่ตรงกับข้อกำหนดตรงไหน เมื่อไม่ตรงก็ไม่มีสิทธิ์แสดงความเห็น เมื่อแสดงก็ได้-1 และไม่มีสิทธิ์ได้รับการประเมินงานใดๆ จนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้อง
  • ขอบคุณกำลังใจจาก "อาจารย์หมอป.Blank" มากนะคะ ที่มาให้กำลังใจครูสูงวัย
  • ลูกศิษย์อาจารย์หมอป.ก็โชคดีเช่นกันค่ะ ที่มีอาจารย์ที่มุ่งมั่นหาทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาแพทย์มาโดยตลอด
  • "Blank" จะเป็นนักศึกษาคณะครุศาสตร์คนหนึ่ง ที่อาจารย์ภาคภูมิใจ และวางใจได้ว่า จะพัฒนาตนเองและออกไปเป็นครูอาจารย์ที่มีคุณภาพสูงในอนาคต ความคิดของคนบ้านเราส่วนใหญ่จำเป็นจะต้องได้รับการพัฒนามาก เพื่อความมั่นคงดำรงอยู่ของประเทศ ที่นับวันจะล้าหลังประเทศ ASEAN ที่มีพลังขับเคลื่อนของการพัฒนาสูง (การปลูกฝังความรักในการอ่าน และความรักชาติ) อาจารย์จึงขอฝากความหวังของประเทศนี้ ไว้กับครูอาจารย์ในอนาคตอย่างเชษฐ์นี่แหละ
  • เชษฐ์มีความสามารถด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์/สังเคราะ์ห์และเขียนสื่อความโดยรวมในระดับดี (ระดับ 4) ถ้าได้แก้ไขในข้อบกพร่องก็มีโอกาสพัฒนาได้ถึงระดับ 5 เช่นในความเห็นนี้ คำ/ข้อความในวงเล็บคือที่อาจารย์ปรับแก้ให้ 

       ...จำได้ว่าครั้งนั้นผมได้ไป (เข้า) ค่าย “กล้าไม้ในเมือง”  ของ (ที่) คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดขึ้น ... เวลาล่วงเลยมาไม่นานผมก็ได้ถูก (รับการ) แนะนำให้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งจากคุณแม่ “ใบไม้ที่หายไป”... หนังสือเล่มนี้ผมอ่านสองรอบครับ ยังไม่เข้าใจดี (ไม่ค่อยเข้าใจ) เลย       ส่วนท่านที่สองผมชอบมากเลยครับ อยากอ่านมากหนังสือเล่มนี้แต่ยังไม่มีโอกาสครับ “ฉันจึงมาหาความหมาย”  เท้า (ท้าว) ความถึงตอน ม.5 อีกแล้วครับ ครูท่านหนึ่งที่ดลโรงเรียน (...อ่านแล้วไม่สื่อความ)

     ที่เชษฐ์บอกว่า ส่วนท่านที่สองผมชอบมากเลยครับ อยากอ่านมากหนังสือเล่มนี้แต่ยังไม่มีโอกาสครับ “ฉันจึงมาหาความหมาย” ...อาจารย์เคยมีหนังสือเล่มนี้ และเคยเขียนข้อความของวิทยาร เชียงกูล ข้างล่างไว้ในสมุดพกตอนเรียนที่วิทยาลัยครูอุบลฯ  

             ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง     

             ฉันจึง มาหา ความหมาย 

             ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย    

             สุดท้าย ให้กระดาษ ฉันแผ่นเดียว

      ก็เพราะอาจารย์ไม่อยากได้กระดาษแผ่นเดียว (ใบประกาศนียบัตร ใบปริญญาบัตร) นี่แหละ สมัยที่เรียนจึงชอบอ่านเพิ่มเติมนอกเหนือจากเรื่องที่อาจารย์สอน และทำกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ต่างๆ และเมื่อมาเป็นอาจารย์ก็ไม่อยากให้นักศึกษาได้รับกระดาษแผ่นเดียว จึงได้หาทางพัฒนานักศึกษาด้วยกิจกรรมต่างๆ อย่างที่ทำอยู่นี่แหละ

      หนังสือชื่อ "ฉันจึงมาหาความหมาย" ของ "วิทยากร เชียงกูล" ที่อาจารย์เคยมี ถูกพิษน้ำท่วมยโสธรทำลายไปพร้อมกับหนังสืออื่นๆ ที่อาจารย์สะสมและฝากไว้ที่บ้านพี่สาวคนโต ตอนที่อาจารย์ไปเรียนปริญญาโทที่กทม. ถ้าหนังสือนั้นยังอยู่จะมอบให้เชษฐ์แน่นอน   

      

    

Now I understand why people respect ผศ วิไล as a mother.

The metriculous care and time she has given to everyone in her charge are more than called for in her duty. This is clearly an infinite expression of mother-love.

To a true teacher, Salute.

     My great impression and gratitude for your so empowering words; "The meticulous care and time she has given to everyone in her charge are more than called for in her duty. This is clearly an infinite expression of mother-love.", khun sr

     To a true supportive friend from Queensland, Australia, Salute. 

อาจารย์ครับแก้ไขแล้วประวัติผมถูกต้องหรือปล่าวครับขอความกรุณาอารย์ช่วยชี้แนะครับผม

        "อันความกรุณาปราณี 

จะมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฝากฟ้าสุราลัย...สู่แดนดิน" (พระราชนิพนธ์ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว)

          ขอบคุณทุกถ้อยคำกำลังใจครับ ทุกถ้อยคำนั้นเปรียบเสมือน"ฝนอันชื่นใจ"ซึ่งเป็นพลัง ที่จะคอยขับเคลื่อนให้แสงเทียนดวงน้อยดวงนี้ลุกโชติช่วงต่อไปครับ ผมต้องทำให้ได้ครับ 

...ขอแก้ต่างหน่อยนะครับ ตรงที่ว่า"ของ(ที่)คณะวะศาสตร์..."คือว่าค่ายไม่ได้จัดที่คณะวนศาสตร์ครับ แต่เป็นค่ายที่คณะวนศาสตร์จัด และผมอยากจะเรียนถามว่าควรจะใช้คำว่าอะไรดีครับ ขอบคุณครับ

  • "Blank" อาจารย์กำลังเตรียมอบรมครูแนะแนว วันนี้ก็ทำใบงานไปให้อาจารย์แนะแนวจากโรงเรียนนารีนุกูลและโรงเรียนยางชุมน้อยท่านละ 1 ใบงาน จะให้ท่านช่วยดำเนินกิจกรรมท่านละใบงาน ท่านมาเป็นวิทยากร ผู้ช่วย แต่อาจารย์จะให้เกียรติโดยการให้ท่านเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมเองในส่วนที่รับผิดชอบ ไม่ใช่แค่เป็นลูกมือของอาจารย์ 
  • สำหรับเรื่องของภาษาที่ถามมานั้น อาจารย์ขออธิบายดังนี้

       ข้อความ "...จำได้ว่าครั้งนั้นผมได้ไปเข้าค่าย “กล้าไม้ในเมือง”  ที่คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดขึ้น ..." คำว่า "ที่ไม่ได้แปลว่า สถานที่ๆ จัด แต่เป็นคำขยายคำว่า "ค่าย" ว่าเป็นค่ายที่หน่วยงานใดจัด เพราะฉะนั้นที่อาจารย์อธิบายไปนั้นถูกแล้ว เช่น "การอบรมครูแนะแนว" ที่คณะครุศาสตร์ มรภ.อุบลฯได้จัดขึ้น ซึ่งเป็นการบอกว่าหน่วยงานใดจัด ไม่ได้บอกสถานที่ๆ จัด ถ้าจะบอกสถานที่ต้องมีข้อความอื่นขยายเช่น โดยจัดที่ห้องบุษบรรณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 

       เชษฐ์ต้องระมัดระวังการพิมพ์ ตรวจสอบความถูกต้องก่อนคลิกจัดเก็บ เพราะจัดเก็บไปแล้วเวลาแสดงความเห็นในบันทึกของผู้อื่นจะไม่สามารถแก้ไขเองได้ ครั้งนี้ พิมพ์ผิดตรงที่ว่า "...ของ(ที่)คณะวะ (วน) ศาสตร์... " และก่อน/หลังวงเล็บต้องเคาะหนึ่งครั้งด้วย

อาจารย์ค่ะที่อาจารย์ให้สร้างหัวสมุด ตรงที่อยู่ ต้องใส่ชื่อ www.gotoknow.orgหรือตั้งชื่อขึ้นมาเองค่ะ

อยากเที่ยวฟาร์มอาจารย์จังเลยครับ ไม่มีทัวร์ให้นักศึกษาเข้าชมหรอครับ

อาจารย์คะ หนูได้แก้ไขข้อมูล ประวัติ เรียบร้อยแล้ว ขอความกรุณา อาจารย์ชี้แนะด้วยว่าถูกต้องหรือเปล่าคะ

หนูได้แก้ไขตามที่อาจารย์แนะนำแล้วนะคะ ถ้าหนูยังทำไม่ถูกอย่างไร ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยนะคะ (หนูต้องขอโทดอาจารย์ด้วยนะคะทีต้องไห้อาจารย์มาบอกซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วก้อยังไม่ได้แก้ไข) ต่อไปนี้หนูจะติดตามอาจารย์ให้มากขึ้นค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์ที่ให้คำชี้แนะคะ

  • "Blank" ในประวัติ สาขานิติศาสตร์ ในวงเล็บภาษาอังกฤษต้องเป็นคำว่า (Laws) ไม่ใช่ (Faculty of Law)เพราะข้อความดังกล่าวแปลว่าคณะนิติศาสตร์ ไม่ใช่ชื่อสาขา

  • พิมพ์ผิด "...ประวัติผมถูกต้องหรือปล่าว (เปล่า) ครับขอความกรุณาอารย์ (อาจารย์) ช่วยชี้แนะครับผม" = -2

หนูได้เข้าไปแก้ไขรูปภาพประจำตัวแล้วนะคะอาจาร์ย วิไล แล้วได้เขียนบันทึกแรื่องแม่ และเพิ่มอนุทิน วันเข้าพรรษา เรียบร้อยแล้วจึงมาขอเชิญอาจาร์ยช่วยเข้าไปอ่านและช่วยในกำลังใจหนูด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆคะ

"อาจารย์กำลังเตรียมอบรมครูแนะแนว วันนี้ก็ทำใบงานไปให้อาจารย์แนะแนวจากโรงเรียนนารีนุกูลและโรงเรียนยางชุมน้อยท่านละ 1 ใบงาน จะให้ท่านช่วยดำเนินกิจกรรมท่านละใบงาน ท่านมาเป็นวิทยากร ผู้ช่วย แต่อาจารย์จะให้เกียรติโดยการให้ท่านเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมเองในส่วนที่รับผิดชอบ ไม่ใช่แค่เป็นลูกมือของอาจารย์ "

     อาจารย์ครับ ผมไม่เข้าใจตรงนี้ครับ อาจารย์จะให้ผมทำ อะไร หรือว่าอาจารย์ต้องการแจ้งให้ผมทราบอย่างไรครับ

...ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ผศ.วิไล แพงศรี จากการที่ได้อ่านบันทึกนี้แล้วการอ่านนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก คืออ่านมากรู้มาก ถ้าเราเริ่มต้นจากการอ่านที่ดีแล้วก็จะทำให้เราปฏิบัติได้ถูกต้องค่ะ ขอขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆนี้นะคะ

คำว่า"ใฝ่เรียนใฝ่รู้" ได้รู้ถึงคำสั้นๆ แต่ก็ได้แฝงไปถึงความหมายที่สามารถนำไปเป็นคำประจำใจเพื่อนำไปใช้ในการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จ แล้วตอนนี้ผมก็ได้ทราบถึงการใฝ่เรียนใฝ่รู้จะสามารถนำใช้ศึกษาเรียนรู้ต่อไป ครับ บทความนี้ได้รู้เลยว่า คำว่า ใฝ่เรียนใฝ่รู้ อยู่ใกล้ตัวเราแท้ๆแต่เรามองข้ามไม่อ่านและนำมาใช้ในการศึกษาในมหาลัย ทำให้เห็นถึงความสำคัญของคำสั้นๆนี้ ขอขอบคุณบทความดีๆ ครับ

อ่านบันทึกของอาจารย์แล้วได้คติเตือนใจทั้งเรื่องการใช้ภาษาและการใช้ชีวิตเลยค่ะ ขอขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆค่ะ

สวีสดีค่ะอาจารย์ หนูได้เขียนบันทึก เรื่อง "เรื่องเล่าดีๆ ของแม่กับลูก" และอนุทิน เรื่อง "ประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดจากการไปสนทนากับชาวต่างชาติ " เสร็จเรียบรอยแล้วนะค่ะ อาจารย์ช่วยเข้าไปติชมบันทึกและอนุทินของหนูด้วยนะคะ เพื่อที่จะได้เอาไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป ขอขอบคุณค่ะ

อาจารย์ครับ ผมแก้ไขประวัติส่วนตัวแล้วนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ช่วยเข้าไปดูให้หน่อยนะค่ะว่าแก้ไขประวัติส่วนตัวถูกต้องตามที่อาจารย์บอกหรือเปล่า ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ครับ ผมได้เขียนบันทึกเสร็จแล้วนะครับ

อาจารย์ผม 02 จาตุรงค์ 1242 ได้เขียนบันทึกเสร็จแล้วนะครับ

อาจารย์ครับ ผมได้เขียนบันทึกแล้วนะครับ อาจารย์ช่วยดู อ่าน และแนะนำ หน่อยนะครับว่าอะอะไรผิดใหม ขอบคุณอาจารย์ล่่วงหน้าครับผม

อาจารย์ค่ะหนูได้เขียนบันทึกเสร็จแล้วนะค่ะ

  • ขอบคุณ "หนูสุดาBlank" มากนะคะที่มาเยี่ยมเยียนพร้อมกับปิยวาจา ไม่ได้เจอกันนานแล้วนะคะ เมื่อกี๊ไปอ่านบันทึกของหนูเกี่ยวกับเด็กออทิสติก น่าสนใจมากค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์หนูได้บันทึกกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำแล้วนะคะ อาจารย์ช่วยเข้าไปตรวจสอบและให้คำแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณคะ

หนูได้เปลี่ยนแปลงรูปประจำตัวเป็นรูปนี้แล้วคะ ส่วนประวัติก็ได้เปลียนแล้ว นางสาวทิฆัมพร ลาญวิชัย หมู่เรียน ศศ.บ.3.15 สาขา ศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์ ) B.A ( FINE AND APPLIED ART ) 03 ทิฆัมพร0923 FAA3 (03 - ๖SM ) คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ คติ อย่าลืมแต่สิ่งที่ไม่ดี และ อย่าจำแต่ในสิ่งที่ดี อธิบายถึงคติ อย่าลืมแต่สิ่งที่ไม่ดี และ อย่าจำในสิ่งที่ดี ( หมายถึงจงจำทั้งสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งที่ดีไว้เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นให้สิ่งนั้นเป็นบทเรียนในการเปลี่ยนแปลงชีวิต )

แต่มันไม่ขึ้นหน้าเว็ปไซต์ให้(ยังโชว์เป็นรูปเดิมอยู่ )ส่วนประวัติและชื่อของบันทึกก็ได้เปลื่ยนแล้ว ตัวหนังสือบนรูปหนูหวังว่าคงจะใหญ่พอที่อาจาร์ยจะมองเห็นนะคะ

อ่านจบแล้วน่าดีใจแทนลูกศิษย์ที่มีอาจารย์ดีและคอยสนใจลูกศิษย์ทุกคน. ลูกศิษย์ต่างหากที่มองความห่วงใยของอาจารย์ว่าจู้จี้..ผมเพิ่งดูการเขียนของเด็กนร.ชาวจีน..พวกเขาเขียนตัวหนังสือไทยสวยกว่าเด็กไทยอีกหลายๆคน. โดยเฉพาะพวกที่บ้าภาษาเกาหลีอย่างไม่ลืมหูลืมตา..จิงปะ ? เปิดเป็นเออีซีเมื่อไรล่ะก็..คนต่างชาติอาจจะมาแย่งงานตำแหน่งแผนกบุคคลก็ได้  อย่าดูถูกเขาเชียว..ทูมีบูจอนี่ - เข้าใจไหม ? ถ้าเข้าใจให้ตอบว่า บูจี้. ถ้าไม่เข้าใจก็ตอบมาเลยว่า..บูจอนี่นาย.

  • ยินดีมากค่ะ ที่ได้รู้จัก "คุณโตนี่ ฟางBlank"

    ขอบคุณมากนะคะ ที่เข้าใจและให้คุณค่ากับสิ่งที่ อ.วิพยายามจะสนับสนุนใหลูกศิษย์ได้พัฒนาตนเอง

    อ่านชื่องานเขียนของคุณโตนี่ ฟาง แล้วก็รู้สึกสนใจมากค่ะ อ.วิจะหาโอกาสเข้าไปอ่านในภายหลังนะคะ เพราะเดี๋ยวจะเดินทางไปที่ฟาร์มซึ่งมักจะใช้ Internet ไม่ได้ค่ะ

  • ตอนนี้ อาจารย์ได้ประเมินให้คะแนนงานเขียนของ "Blank" "Blank" "Blank" และ "Blank" แล้วค่ะ เข้าไปดูผลการประเมินได้นะคะ 
  • "หนูBlank" บอกว่า คติ "อย่าลืมแต่สิ่งที่ไม่ดี และ อย่าจำแต่ในสิ่งที่ดี" หมายความว่า จงจำทั้งสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งที่ดีไว้เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้นให้สิ่งนั้นเป็นบทเรียนในการเปลี่ยนแปลงชีวิต แต่ข้อความในคติมันไม่ได้สื่อความเช่นนั้นนะคะ ถ้าต้องการให้สื่อความเช่นนั้นหนูต้องเปลี่ยนเป็น "ควรจำสิ่งที่ดีไว้เป็นกำลังใจ และจำสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นข้อเตือนใจ" ภาพคงจะต้องรอสักระยะระบบจึงจะเปลี่ยนให้ได้ (อาจารย์เคยบอกหลายครั้งแล้วนะคะ ว่า ระบบจะเปลี่ยนภาพให้ภายใน 24 ชั่วโมง)

สวัสดีค่ะอาจารย์หนูได้เขียนบันทึก "เรื่องเล่าดีๆ ของแม่กับลูก"และเพิ่มอนุทิน แล้วนะคะ อยากให้อาจารย์ได้เข้าไปประเมินให้ด้วยนะคะ ขอบคุนมากๆค่ะ

(หลังจากอาจารย์ได้แนะนำหนูในการเขียนคำว่า ค่ะกับคะ หนูมันทำให้หนูรอบครอบในการเขียนมากขึ้น ขอขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ)

อาจารย์ค่ะ หนูได้เขียนบันทึกเสร็จเรียบร้อย และได้มาแจ้งในบันทึกนี้ของอาจารย์แล้ว ในเวลา 09 สิงหาคม 2555 19:45 น. แต่หนูยังไม่ได้รับการประเมินการเขียนบันทึกเลยค่ะ รบกวนอาจารย์ช่วยเข้าไปประเมินให้หนูหน่อยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์ ผมได้เขียน"บันทึกสำคัญเนื่องในวันแม่"เสร็จเรียบร้อยแล้วนะครับ แต่ไม่รู้ว่าจะถูกไหมครับ ขอความกรุณาท่านอาจารย์ช่วย"ตรวจ"ให้ด้วยนะครับ หากกระผมเขียนตกบกพร่องตรงไหนประการใดกระต้องกราบอภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

อาจารย์ ครับ ผม 04 นรากร 0533 ได้เขียนบันทึกเสร็จแล้วครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์หนูได้เขียนบันทึกเรียบร้อยแล้วนะคะ อยากให้อาจารย์ได้เข้าไปประเมินให้ด้วยนะคะ ขอบคุนมากๆค่ะ

  • จากที่อาจารย์ได้ตรวจบทความของนักศึกษา ที่อาจารย์ให้เขียนตามข้อกำหนดดังภาพข้างล่าง พบว่า นักศึกษาไม่ได้เขียนในลักษณะของ "เรื่องเล่าดีๆ ของแม่กับลูก" ตามที่โจทย์กำหนด แต่จะเขียนแสดงความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับบทบาทและ/หรือพฤติกรรมของแม่ ซึ่งไม่เป็นไปตามความต้องการของโครงการ ที่ต้องการอ่าน "เรื่องเล่าของแม่-ลูก" ซึ่งแต่ละคู่ย่อมแตกต่างกันไป
  • เพราะฉะนั้น บทความของนักศึกษาที่ลงหลังวันที่ 14 สิงหาคม 2555 เวลา 06.30 น. ถ้าในเนื้อหา "ไม่ได้เล่าเรื่องของคุณแม่ของตนกับตนแบบเฉพาะเจาะจง" อาจารย์จะถือว่า เป็นงานเขียนที่ไม้ตอบโจทย์ (แจ้ง ณ 05.09 น.)

อาจารย์ค่ะ หนูได้เขียนบันทึกเสร็จเรียบร้อยแล้วคะ รบกวนอาจารย์ช่วยประเมินด้วยน่ะค่ะ ขอบคุณพระคุณคะ

อาจารย์ค่ะ หนูได้ไปเขียนบันทึกเรียบร้อยแล้วนะค่ะ รบกวนอาจารย์เข้าไปประเมินด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ค่ะ หนูได้ไปเขียนบันทึกเรียบร้อยแล้วนะค่ะ รบกวนอาจารย์เข้าไปประเมินด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ค่ะ หนูได้ไปบันทึกอนุทินเกี่ยวกับประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดจากการทำกิจกรรมในช่วงวันแม่แล้วนะค่ะ รบกวนอาจารย์เข้าไปตรวจสอบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

  • นักศึกษา Sect. 02, 03, 04
  • อาจารย์ตรวจหัวสมุดไปแล้วตามที่กำหนดไว้ว่าจะตรวจในวันที่ 9 สิงหาคม 23.00 น. ผู้ที่ทำหลังวันเวลาดังกล่าวคะแนนเต็มจะเหลือครึ่งหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่ใช้ภาพภูเขาที่ GotoKnow ทำไว้ให้ ต้องใช้ภาพดังตัวอย่างข้างล่างเท่านั้น (Save ภาพตัวอย่างไปได้เลย แล้วนำไปตัดแต่งด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ โดยนำภาพตนเองมาต่อท้ายดังภาพตัวอย่าง) ถ้าส่งหลัง 15 ส.ค. 2555 เวลา 24.00 นะจะไม่มีแต้มประเมิน

อาจารย์คะหนูได้เขียนบันทึก "เรื่องเล่าดีๆ ของแม่กับลูก"และเพิ่มอนุทิน แล้วนะคะ รบกวนอาจารย์ได้เข้าไปประเมินให้ด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

อาจารย์คะ หนูได้เขียนบันทึกเรื่องเล่าดีๆของแม่กับลูกเรียบร้อยแล้ว รบกวนท่านอาจารย์ประเมินด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

  • ตัวอย่างนักศึกษาที่ฟ้อง "ปัญหาการไม่เรียนรู้ในทุกเรื่อง" ของตนเอง 02 ชิดชนก หิมะวัน 1) ไม่เรียนรู้ข้อกำหนดในการทำภาพประกอบหัวสมุด 2) ไม่เรียนรู้คำสำคัญที่กำหนดให้เขียน 3) ไม่เรียนรู้ส่วนประกอบของบันทึกที่ให้เขียน 4) ไม่เรียนรู้ข้อกำหนดขั้นต้นของบันทึกที่จะได้รับการตรวจประเมิน  5) ไม่เรียนรู้การให้คะแนนบันทึก  และ 6)ไม่เรียนรู้จากบันทึกของเพื่อนๆ ที่อาจารย์ตรวจให้คะแนนแล้ว
  • นี่คือ ข้อความทั้งหมดในบันทึกของเธอ

     คำว่า ''เเม่'' ไม่ต้องหาอะไรมาเปรียบเทียบ ไม่ต้องหาคำมาอธิบาย แต่บางคนก็เปรียบแม่เหมือนธนาคารพออยากได้ก็ไปกด เเต่ลูกไม่เคยคิดถึงแม่เลย ว่าแม่เอาเงินมาจากไหนมาให้ลูกใช้ บางครั้งลูกก็ทำให้แม่มีน้ำตา แม่ไม่เคยบอกให้ลูกเป็นคนเลว มีแต่บอกให้เป็นคนดี แม่ไม่เคยทำให้ลูกร้องไห้ ไม่เคยทำให้ลูกเสียใจมีเเต่ปลอบใจลูก โดยที่ลูกไม่รู้เลยว่าแม่ทุกข์กว่าลูกมาก แม่จะคอยเป็นกำลังใจให้ลูกเสมอในทุกๆเรื่อง   

 

นักศึกษาSection 02, 03, 04

     ช่วงนี้อาจารย์คงจะไม่ได้ตรวจงานในGotoKnow เพราะพี่สาวอาจารย์แจ้งว่า ญาติที่ป่วยเสียชีวิตแล้ว อาจารย์ต้องเดินทางไปยโสธร ให้ทุกคนศึกษางานตามที่อาจารย์กำหนดให้ทำในบันทึกนี้ (สั่งงานตั้งแต่วันที่4 สิงหาคม 2555) และทำงานให้ถูกต้องครบถ้วน อาจารย์คงไม่มีเวลามาแนะนำให้แก้ไขซ้ำอีก จะประเมินไปเลย ถ้าต้องการให้งานได้รับการประเมิน ก็ให้ศึกษาจากตัวอย่างงานของเพื่อนที่ทำถูกต้อง ซึ่งได้รับการตรวจให้คะแนนไปแล้วหลายคน คนที่ทำได้คะแนนสูงสุด ณ ขณะนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิศวกรรมเครือข่าย ชั้นปีที่2 ซึ่งทำได้ถูกต้องทั้งภาพหัวสมุด และได้คะแนนการเขียนบันทึกเต็ม20 ก่อนที่จะถูกหักแต้มคำผิด -3 เป็นคะแนนที่ได้ 17/20และได้รับการประเมินในระดับ5 (ดีเยี่ยม)

                             Blank

  เข้าไปศึกษางานของ นรากร ได้ที่ Link ข้างล่าง 

http://www.gotoknow.org/blogs/posts/497811

 

 

อาจารย์คะ หนูได้เขียนบันทึกเรียบร้อยแล้ว รบกวนท่านอาจารย์ประเมินด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

  • อาจารย์แม่ครับ
  • เป็นอีกบันทึกที่มีความเข้มข้นทางวิชาการ
  • ได้ฝึกนักศึกษา
  • ดูแลสุขภาพบ้างนะครับ

อาจารย์คะ ดิฉันได้แก้ไขรูปภาพประจำตัวเป็นครั้งที่3 แล้วค่ะ ไม่ทราบว่าถูกต้องตามที่อาจารย์ต้องการ รึยัง คะ ถ้าถูกต้องแล้วขอความกรุณาอาจารย์ ไปตรวจงานให้ดิฉันด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์คะหนูได้ทำหัวสมุดตามที่อาจารย์แนะนำในวันที่ 31 กรกฏาคม ที่มีนักศึกษาไปพบอาจารย์เพียง 5 คนค่ะ ซึ่งอาจารย์ได้แนะนำว่าหัวสมุดจะต้องประกอบด้วย ภาพดอกไม้ ภาพที่เขียนคำว่าบันทึกของฉัน และภาพของนักศึกษาเอง ซึ่งหนูก็ได้บันทึกหัวสมุดตามที่อาจารย์แนะนำแล้ว ในวันที่อาจารย์บอก และได้ลองบันทึกประสบการณ์หนึ่งเรื่อง หลังจากนั้นหนูก็ได้เข้ามาติดตามบันทึกของอาจารย์เรื่อยๆแต่ปรากฎว่าหัวสมุดที่อาจารย์ได้แนะนำให้ทำภายหลังไม่เหมือนกับหัวสมุดของหนูเลย หนูไม่ทราบว่าหนูได้ทำถูกหรือไม่คะ ขอความกรุณาท่านอาจารย์เข้าไปประเมินให้หนูอีกครั้งได้ไหมคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

อาจารย์ครับผมเขียนบันทึกเรื่องแม่แล้วนะครับ อาจารย์ช่วยเข้าไปดิชมด้วยนะครับ ขอบคุณคัรบ

ผมได้ทำการบันทึกใหม่แล้วครับ

ผมได้แก้ไข ข้อมูลส่วนตัว ตจามที่อาจารย์แนะนำแล้วคับ

ผมได้แก้ไข ข้อมูลส่วนตัว ตามที่อาจารย์แนะนำแล้วครับ

ผมได้ทำการบันทึกเกี่ยวกับแม่แล้วครับ

ท่านอาจารย์ผมได้เพิ่ม อนุทิน เรียบร้อยแล้วนะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์หนูได้เขียนบันทึก "เรื่องเล่าดีๆของแม่กับลูก" เรียบร้อยแล้ว รบกวนอาจารย์ช่วยประเมินด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ค่ะ หนูได้ไปเขียนบันทึก "เรื่องเล่าดีๆของแม่กับลูก" เรียบร้อยแล้ว รบกวนอาจารย์เข้าไปประเมินด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ครับผมได้บันทึกเกี่ยวกับคุณแม่คนดีของผมแล้วนะครับ รบกวนอาจารย์ช่วยดูและแนะนำผมหน่อยนะครับ

อาจารย์ค่ะหนูทำงานที่อาจารย์สั่งเสร็จเเล้วนะค่ะ  อาจารย์เข้าไปดูด้วยนะค่ะว่าที่หนูทำถูกไหม...?

อาจารย์ครับผมได้เขียนบันทึกแล้วนะครับ ผมได้ยินเพื่อนว่าหมดเขตส่งวันที่ 15 สิงหา แต่ผมส่งช้าวันหนึ่ง แต่ผมได้ทำแล้วผมเลยส่งอาจารย์ ผมมีความสุขความภาคภูมิใจมากถึงมากที่สุด ที่ได้มีส่วนร่วมในการเขียนบันทึกนี้ อาจารย์กรุณาเข้าไปอ่านให้ผมด้วยนะครับ ถ้าผิดพลาดยังไงผมยินดีปรับปรุงบันทึกทุกกรณีครับ ส่วนเรื่องข้อมูลส่วนตัวผมก็ทำทุกอย่างที่อาจารย์บอก ผมไม่รู้ว่าถูกต้องหรือยังครับ.

  • ขอบคุณ "ลูกขจิตBlank" มากค่ะ ที่มาแวะเยี่ยมและแสดงความเป็นห่วงอาจารย์แม่

  • ช่วงนี้ อาจารย์แม่ค่อนข้างเหนื่อยมาก วันที่ 13 ส.ค. เช้าถึงเที่ยงทำงานแบบ Nonstop ที่ฟาร์ม จากนั้นขับรถ 45 กม.ไปทานข้าวเที่ยงในเมืองกับพ่อใหญ่สอ แล้วพา "ข้าวเหนียว" ไปที่บ้านเรือนขวัญ บ่ายสองครึ่งขับรถ 100 กม.ไปเยี่ยมน้องสะใภ้ที่ยโสธรซึ่งป่วยเป็นมะเร็งขั้นสุดท้าย บ่ายสี่ครึ่งขับรถจากยโสฯ กลับอุบลฯ 100 กม. แล้วไปส่งลูกสาวของน้องชาย/น้องสะใภ้ที่ขนส่งอุบลฯ เพื่อนั่งรถสองแถวต่อไปที่ม.อุบลฯ (กำลังเรียนแพทย์ปี 2) แล้วขับรถไปส่งพ่อใหญ่สอที่สถานีรถไฟซึ่งอยู่ที่อ.วารินชำราบเพื่อเดินทางไปพบหมอที่กทม.

  • วันที่ 15 ส.ค. พี่สาวโทรฯบอกว่าน้องสะใภ้เสียแล้ว อาจารย์แม่ก็ต้องขับรถไปที่ยโสฯ อีก (ตามลำพัง) และ 06.00 น.ของวันที่ 16 ส.ค. ต้องขับรถกลับไปรับพ่อใหญ่สอที่สถานีรถไฟ ทำไงได้ล่ะคะ มันเป็นเรื่องจำเป็นทั้งนั้น วันนี้ให้พ่อใหญ่สอเข้าฟาร์มไปเคลียร์งานฟาร์มก่อน และอาจารย์แม่ก็ต้องทำงานที่คณะ วันสองวันก็ต้องขับรถไปที่ยโสฯ อีก ค่ะ 

  • ฝากภาพสวนแก้วมังกรมาให้ดู ออกดอกดกมากค่ะ (น้องเอ๋ไปปฏิบัติธรรมเนื่องในโอกาสวันแม่ที่สิงห์บุรีตั้งแต่วันที่ 10 ส.ค. เพิ่งจะกลับ 15 ส.ค. แปลกนะคะอาจารย์แม่ดูว่าเธอเป็นคนไม่กล้าผจญภัย แต่เรื่องไปปฏิบัติธรรมนี่ ไปคนเดียวในที่ๆ ไม่คุ้นเคยเธอยังกล้าไป) 

  •    

  • ชี้แจงเรื่องหัวสมุดตามที่ "Blank" ถาม
  • ภาพหัวสมุดที่กำหนดให้ทำแต่ละช่วงจะไม่เหมือนกัน เช่น
  •  
  • หลัง 9 ส.ค. 23.00 น. ให้ใช้ภาพประกอบหัวสมุด ดังตัวอย่างข้างล่าง

หนูได้เปลี่ยนรูปหัวสมุดตามที่อาจารย์สั่งแล้วนะคะ ถ้าภาพมันยังคงรูปเก่าอยู่แสดงว่าทางระบบกำลังเปลี่ยนรูปให้อยู่ค่ะ ขอให้อาจารย์เข้าไปประเมินให้ด้วยนะคะ

หนูได้เปลี่ยนรูปหัวสมุดแบบนี้แแล้วนะคะ

อาจารย์คะเนื่องจากหนูลืมรหัสผ่านแล้วเข้าระบบไม่ได้ ได้ทำเปลี่ยนรหัสผ่านหลายครั้งแล้ว แต่ก็ยังเข้าระบบไม่ได้ หนูก็เลยสมัครสมาชิกใหม่และได้เขียนบันทึกเรียบร้อยแล้ว รบกวนท่านอาจารย์ประเมินด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

  •   จน ณ ขณะนี้ "Blank" ก็ยังมีข้อมูลเบื้องต้น IT (ชื่อที่ใช้) ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจารย์กำหนดเงื่อนไขไว้ว่า ใครมีปัญหาดังกล่าว จะไม่ได้รับการประเมินงานใดๆ 
  • นอกจากนั้น เมื่ออาจารย์ลองเข้าไปดูงานของหนูแล้ว ก็พบว่า ไม่ถูกต้องทุกอย่าง นับตั้งแต่ ข้อความในหัวสมุดไม่ถูกต้อง และบทความเกี่ยวกับแม่ ก็มีหลายอย่างที่ไม่ถูกต้อง ถ้าต้องการให้อาจารย์ประเมินงานให้ ต้องกลับไปศึกษาใหม่ และแก้ไขทุกอย่างที่ไม่ถูกต้องให้ถูกต้องสมบูรณ์ภายใน 24 .00 น.วันที่ 17 ส.ค. 55

สวัสดีค่ะอาจารย์หนูได้เขียนบันทึกเสร็จแล้ว อาจารย์ช่วยเข้าไปอ่าน และแนะนำด้วยนะคะหากผิดพลาดตรงไหนหนูจะรีบแก้ไขค่ะ

เรียนถามอาจารย์นิดนึงนะคะแล้วงานเรียงความวันแม่ที่ส่งในหัวสมุดอันเดิมจะได้รับการประเมินไหมคะ ขอบพระคุณค่ะ

อาจารย์คะหนูได้ทำการแก้ไขตามที่อาจารย์บอกแล้วนะค๊ เนื่องจากหนูไม่มีอินเตอร์เน็ตใช้จึงไม่ได้แก้ใขตามเวลาที่อาจารย์กำหนด

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์หนูจะนำไปแก้ไขค่ะ

หนูได้เริ่มเขียนบันทึกแล้ว จะพยายามทำให้ดีที่สุด

อาจาย์คะ หนูได้เขียนบันทึกเรื่อง (e-Trust ) ทำอย่างไรให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในบริการทางออนไลน์ของภาครัฐ เรียบแร้วแล้วค่ะ ขอความกรุณาท่านอาจารย์เข้าไปอ่านและแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ครับผมเรียนภาษาไทยห้าปีแล้วครับรู้สึกเรื่องอ่านเขียนพูดภาษาไทยไม่ใจเรื่องง่ายนะครับ

หนูได้อ่านบันทึกของอาจารย์แล้วค่ะ จะพยายามเรียนรู้ให้ได้มากที่สุดค่ะ

-สวัสดีครับอาจารย์..

-ตามมาเรียนรู้แล้วได้อะไรไปมากทีเ่ดียวครับ...

-จงเรียนรู้ที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเอง จุดไฟแห่งความฝันใฝ่ให้ตน อย่ามัวรอคนมาจุดให้ (Learn to be an inspiration to yourself. Light your own fire. Don't wait for others to inspire you.)

-ขอบคุณครับ..

 

มากราบ เรียน อจ. แม่ว่า... เปิ้น.... ขอบคุณ ... และ .... คิดถึงค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท