ข้อเสนอแนะ ๕ ข้อในการจัดทำร่างระเบียบข้อตกลงการปฎิบัติงาน (PA) เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เกิดการทำงานที่มีความสอดคล้องระหว่างกัน และ มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพแบบต่อเนื่อง


 

 

 

ทางมหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดทำแบบสอบถามเพื่อสอบถามความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับ(ร่าง) หลักเกณฑ์และวิธีการข้อตกลงการปฎิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย ผ่านทางเว็บไซต์ภายในของมหาวิทยาลัย1 ก่อนที่จะนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยต่อไป แน่นอนว่า การจัดทำแบบสอบถามดังกล่าวเพื่อที่จะได้ "รับฟัง" ข้อมูลอย่าง"ครบถ้วนรอบด้าน" ประกอบการพิจารณาของมหาวิทยาลัยก่อนที่จะพิจารณาและประกาศใช้ระเบียบดังกล่าว

ปัญหาของเรื่องนี้ โดยหลักแล้ว น่าจะอยู่ที่ ความเข้าใจของเรื่องนี้ แตกต่างกัน เป็นไปได้ใน ๓ กรณี คือ  () ความเข้าใจในเป้าหมายของการทำ PA ที่คลาดเคลื่อนไป จาก การพัฒนาศกัยภาพบุคลากร กลายเป็น เครื่องมือในการติดตามงาน โดยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนา ศักยภาพของบุคลากร () อาจจะเป็นเพราะ ทางมหาวิทยาลัย กำหนดให้มีการทดลองจัดทำ PA และให้แนวทางในการทำงานแบบกว้างๆ โดยมักจะเน้นถึง ผลลัพธ์ และ การประเมิน อาจจะส่งผลต่อการสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน () หรือ อาจจะเป็นเพราะยังไม่มีเครื่องมือหรือแนวปฎิบัติที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพ เพื่อต้องการตอบโจทย์ของมหาวิทยาลัย ทุกส่วนงานจึงกำหนดวิธีการในการทำงานตามความเข้าใจของตนเอง ซึ่งอาจะทำให้คลาดเคลื่อนจากเป้าหมายที่แท้จริง

ผู้เขียน มีข้อเสนอต่อเรื่องนี้ใน ๕ ข้อ ในการจัดทำร่างระเบียบข้อตกลงการปฎิบัติงาน (PA) เพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เกิดการทำงานที่มีความสอดคล้องระหว่างกัน และ มีผลต่อการพัฒนาศักยภาพแบบต่อเนื่อง

() พัฒนากลไกหรือกระบวนการเพื่อสร้างความเข้าใจและความเป็นเอกภาพของการทำงาน และ ทำให้เกิดทิศทางของการทำงานที่มีความสอดคล้องระหว่างมหาวิทยาลัย ส่วนงาน และ หน่วยงานภายในส่วนงาน

. กลไกการจัดทำ PA จากมหาวิทยาลัย มายัง ส่วนงาน (คณะ สถาบัน) มายังหน่วยงานภายใน

. กลไกการประชุมภายในส่วนงานเพื่อร่วมกำหนดทิศทางของการทำงานและร่วมกำหนดผลลัพธ์

() พัฒนาระบบการจัดการและป้องกันความเสี่ยงในการทำงานโดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างการทำงาน

. จัดทำแบบข้อตกลง โดยมีการกำหนดวิธีการทำงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของงาน ปัจจัยที่ส่งผลต่อความไม่สำเร็จของงานตามที่ตกลง

. จัดให้มีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระหว่างการทำงาน และบันทึกผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานตามข้อตกลง

() พัฒนาระบบการประเมินที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการจัดทำ PA ระบบการประเมินแบบก้าวหน้า

. เกณฑ์ในการประเมินผลการปฎิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ

  • ในกรณีที่มีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นส่วนใดส่วนหนึ่งสูงกว่าที่ได้ตกลงในข้อตกลง กล่าวคือ () ปริมาณของงาน () คุณภาพของงาน () การพัฒนาต่อยอดและการนำไปใช้ในสังคม () การพัฒนาประชาคมวิจัย1 () พัฒนาระบบการทำงาน ในส่วนที่สูงกว่าข้อตกลง เสนอให้ประเมินในอัตราก้าวหน้า

    . เกณฑ์ในการประเมินผลการปฎิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน

  • ในกรณีที่มีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นส่วนใดส่วนหนึ่งสูงกว่าที่ได้ตกลงในข้อตกลง กล่าวคือ () ปริมาณของงาน () คุณภาพของงาน () การพัฒนาต่อยอดและการนำไปใช้ในสังคม () การพัฒนาประชาคมวิจัย2 () พัฒนาระบบการทำงาน ในส่วนที่สูงกว่าข้อตกลง เสนอให้ประเมินในอัตราก้าวหน้า

    . เกณฑ์ในการประเมินสมรรถนะด้านการบริหาร

  • ให้คำนึงถึง ระบบการสนับสนุนในด้านต่างๆเป็นหลัก และ คำนึงถึง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาระบบการสนับสนุนการทำงานเพื่อให้บรรลุตามข้อตกลง

  • หากมีการจัดทำแบบประเมินความเสี่ยงของบุคลากรตาม ๒.๑ จะทำให้สะดวกต่อการประเมินผลแบบอัตราก้าวหน้า

  • หากมีการจัดทำกลไกตามข้อ ๑ และ ข้อ ๒ ถือเป็นการประเมินผลด้านสมรรถนะในระดับ "ดี"

  • เกณฑ์ในการประเมินสมรรถนะด้านการบริหารเน้นการประเมิน น่าจะประกอบด้วย เกณฑ์ ๕ ด้าน () การพัฒนาระบบหรือกลไกในการสนับสนุนการทำงานของบุคลากรให้เป็นไปตามข้อตกลงหรือสูงกว่าที่ตกลง 3() อัตราความก้าวหน้าหรืออัตราการเติบโตของผลลัพธ์ของการทำงาน () การพัฒนาและการถอดบทเรียนที่ได้มาเป็น "ความรู้" ที่ได้จากการทำงานในระดับส่วนงาน () การต่อยอดผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน () การพัฒนาจากประสบการณ์ในการทำงานไปสู่ระบบโครงสร้างต้นแบบ4

  • โดยแต่ละด้านเสนอให้มีการแบ่งระดับความเข้มข้นของการประเมินเป็น ๓ ระดับ ระดับแรก ระดับที่สอง และ ระดับที่สาม เพื่อใช้เป็นตัวคูรในแบบอัตราก้าวหน้า

  • ในการประเมินตาม () ถึง () เสนอให้เป็นการประเมินแบบอัตราส่วนก้าวหน้า กล่าวคือ ย่ิงมีความท้าทายมากขึ้น ยิ่งมีค่าระดับคะแนนสูงขึ้นไปด้วยแบบทวีคูณ

     

() เชื่อมโยงระบบการประเมินที่มีอยู่เพื่อลดความซ้ำซ้อนของระบบการจัดการฐานข้อมูล และ เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการประเมินในระบบอื่นๆ

. การจัดทำกลไกตาม ๑. เป็นส่วนของ การวางแผน (PLAN) ของการประเมินผลตนเอง SAR

. การจัดทำกลไกตาม ๒. เป็นส่วนของการทำงานตามแผน (DO) และ การติดตามการทำงาน (CHECK) ในการประเมินผล SAR

. การพัฒนาระบบหรือกลไกสนับสนุนการทำงานจนสามารถพัฒนาไปสู่ "ความเป็นนวัตกรรม" สามารถนำมาใช้ประเมินผลการปฎิบัติงานในส่วนของ SAR ได้

() การพัฒนาระบบแรงจูงใจระดับส่วนงาน

. เพื่อทำให้เกิดการแรงจูงใจในการพัฒนาส่วนงานเสนอให้มหาวิทยาลัยกำหนดให้มีการดำเนินการจัดตั้ง "งบประมาณ" เพิ่มเติมจากงบประมาณที่ส่วนงานกำหนดไว้โดยอาจจะกำหนดเป็นสัดส่วนจากงบประมาณที่ส่วนงานแต่ละส่วนงานกำหนดไว้ เช่น จำนวน (อย่างน้อย) ร้อยละ ๑ ของบประมาณที่ส่วนงานตั้งไว้ เพื่อสนับสนุนให้ส่วนงานที่สามารถนำไปใช้ในการต่อยอดผลลัพธ์ในส่วนที่เกิดความสำเร็จและมีแนวโน้มในการพัฒนาไปสู่ความเป็นต้นแบบในการทำานได้ โดยทางมหาวิทยาลัยอาจจะมีการดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเฉพาะในส่วนของประเด็นที่เกิดความสำเร็จ

. ในกรณีที่ไม่ได้นำงบประมาณในส่วนนี้มาใช้ อาจจะนำไปสมทบสำหรับปีต่อไปให้กับส่วนงานนั้นก็ได้

 

1โดยพิจารณาระดับความก้าวหน้าเป็น ๓ ระดับ คือ ภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน และ ภายนอกหน่วยงาน

2โดยพิจารณาระดับความก้าวหน้าเป็น ๓ ระดับ คือ ภายในหน่วยงาน ระหว่างหน่วยงาน และ ภายนอกหน่วยงาน

3ระดับความเข้มข้นของระดับคะแนนในส่วนนี้มี ๓ ระดับคือ การพัฒนาระบบหรือกลไก การพัฒนาระบบหรือกลไกที่ทำให้เกิดการเติบโดแบบก้าวกระโดด การพัฒนากลไกที่เป็นนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

4โดยสอดคล้องกับการประเมินผลตนเอง หรือ SAR ในส่วนของการสร้างต้นแบบ

หมายเลขบันทึก: 497121เขียนเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 03:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 สิงหาคม 2012 13:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท