Edu-World / "โซเชียล เน็ตเวิร์ก" ช่วยพัฒนาการเรียนการสอน


ในยุคที่เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันทำให้โลกปัจจุบันกลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดนไปแล้ว ทว่า การเข้ามาของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็เป็นเสมือน "ดาบสองคม"ที่มีทั้งด้านดี และด้านเสีย ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือเกิดโทษแก่ตัวเอง

 Edu-World / "โซเชียล เน็ตเวิร์ก" ช่วยพัฒนาการเรียนการสอน

"โซเชียล เน็ตเวิร์ก" ช่วยพัฒนาการเรียนการสอน

        ทุกวันนี้คำว่า "เว็บไซต์ โซเชียล เน็ตเวิร์ก" หรือ "เครือข่ายสังคมออนไลน์"ไม่ใช่คำใหม่ในสังคมอีกแล้ว
โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันทำให้โลกปัจจุบันกลายเป็นโลกที่ไร้พรมแดนไปแล้ว  ทว่า การเข้ามาของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ก็เป็นเสมือน "ดาบสองคม"ที่มีทั้งด้านดี และด้านเสีย ขึ้นอยู่กับว่า ผู้ใช้จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือเกิดโทษแก่ตัวเอง  ในด้านการพัฒนาการศึกษาโดยอาศัยประโยชน์จากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน   "โซเชียล เน็ตเวิร์ก" ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้ครูผู้สอน และนักเรียนใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น นอกเหนือจากเวลาที่อยู่ในห้องเรียน

           ดังเช่นที่ "คณะ กรรมการด้านการศึกษา" ของรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐฯเพิ่งจะมีมติไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ในการเห็นชอบที่จะกำหนดนโยบายอย่างเป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการนำเอา "โชเชียล เน็ตเวิร์ก" มาใช้ในฐานะเครื่องมือการเรียนการสอนยกตัวอย่างในกรณีของ "เฟชบุ๊ก" หรือ "มาย สเปช" เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดนิยม ซึ่งทางคณะกรรมการฯ เล็งเห็นว่าแทนที่บรรดาเด็กนักเรียนจะอาศัยเว็บไซต์เครือข่ายฯ เหล่านี้ ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือใช้เป็นพื้นที่ในการบอกกล่าวความรู้สึกของตนต่อคนรอบข้างเพียงอย่างเดียว แต่แอพลิเคชั่น หรือฟังก์ชั่นต่างๆ ของเว็บไซต์เหล่านี้  ยังสามารถเชื่อมโยงพวกเขากับสถาบันการศึกษา หรืออาจารย์ผู้สอนได้ด้วย เช่นการสั่งรายงาน ส่งการบ้าน หรือแม้กระทั่งแจ้งเตือนเกี่ยวกับวันเวลาสอบ เป็นต้น

           ...ขณะเดียวกันการที่ครูเข้ามาอยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ยังสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ใหญ่ได้เป็นหูเป็นตาในการสอดส่องดูแลผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาศัยช่องทางการติดต่อสื่อสารไร้พรมแดนนี้ เข้ามาสร้างความเสียหาย หรือก่อภัยคุกคาม
โดยเฉพาะอาชญากรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศแก่พวกเด็กๆ ได้ ดังที่มีข่าวครึกดครมอยู่บ่อยๆกรณีของ "คิมิยะ ฮากิกิ" นักเรียนสาววัย 17 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับเกรด11 ของโรงเรียนแลงเลย์ ไฮสคูลก็อีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้โดยก่อนหน้านี้เธอมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนเช่นเดียวกับนักเรียนส่วนใหญ่ในชั้นเรียนวิชาภาษาอังกฤษของ "อ.อูเบรย์ ลุดวิก"ทว่าครูผู้สอนของเธอได้แนะนำให้เธอ และเพื่อนในชั้นเรียนใช้ "ทวิตเตอร์"ส่งข้อความหากัน แล้วผลที่ออกมาก็เป็นที่น่าพอใจ เมื่อปัญหาการเขียนที่เคยเยิ่นเย้อ และประณีตเกินไปก่อนหน้าได้รับการแก้ไข อันเป็นผลจากการ "ทวิต"ข้อความซึ่งมีการจำกัดอักขระอยู่ที่ไม่เกิน 140 ตัวอักษรต่อครั้งเท่านั้นนั่นเอง

ที่มา สยามรัฐ

http://kungkng02-kungkng02.blogspot.com/2011/03/edu-world.html

หมายเลขบันทึก: 496977เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2012 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 สิงหาคม 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ คุณแสงสุวรรณ แก้วระดาษ คุณ บัญชร ศรีวินัย และอาจารย์วิไล แพงศรี ที่ร่วมเป็นกำลังใจให้ค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท