เด็กออทิสติกกับภัยน้ำท่วม


การบอกให้เด็กทำในลักษณะที่คลุมเครือไม่ชัดเจนในคำสั่ง จะทำให้เด็กไม่เข้าใจ เช่น “ กินให้อิ่มๆนะลูกนะ “ เด็กอาจไม่เข้าใจในเรื่องของปริมาณได้

ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ส่งผลกระทบในหลายๆครอบครัว ซึ่งบทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลเด็กพิเศษในกลุ่มออทิสติก การดูแลเบื้องต้นของเด็กออทิสติกนั้นค่อนข้างมีข้อจำกัดหลายอย่าง อย่างเช่นเรื่องของการปรับเปลี่ยนกิจกรรมและการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ปกครองควรทำความเข้าใจกับเด็กในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีที่เตรียมตัวได้ทัน เช่น การเปลี่ยนตารางกิจวัตรประจำวันที่เคยใช้อยู่  โดย สื่อสารตามระดับความเข้าใจ(ในตารางกิจกรรม) ของเด็กว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เช่น การนำภาพของญาติที่จะไปอยู่อาศัย ด้วย โดยให้เด็กเข้าใจว่าจะมีการย้ายที่อยู่ เพื่อสร้างความเข้าใจเบื้องต้นถึงการเปลี่ยนแปลงกิจวัตรประจำวันให้แก่เด็ก  และการใช้สื่ออื่นๆ ที่เด็กของเรานั้นสามารถที่จะเข้าใจได้ โดย สรุป ออกมาเป็นหัวข้อหลักๆดังนี้

  1. เปลี่ยนตารางกิจวัตรประจำวัน โดยประกอบด้วยเนื้อหาที่จะเกิดขึ้น(ในอนาคต เช่น จะย้ายไปอยู่บ้าน…)  เพื่อลดความเครียดความกังวลของเด็ก
  2. ในกรณีที่ต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ให้ทำป้ายชื่อ (ที่กันน้ำได้) พร้อมกับเบอร์ติดต่อผู้ปกครองให้เด็กพกติดตัวไว้ในส่วนที่สามารถเห็นได้ง่าย
  3. ยาที่เด็กรับประทานประจำให้พกและเตรียมไว้ให้พร้อม รวมไปถึงซองบรรจุยาและฉลากยา
  4. กรณีที่เด็กสื่อสารทางภาพได้ ให้นำสื่อ ไปติดไว้ตามจุดที่อันตราย เช่น ปลั๊กไฟ (เช่นภาพการห้ามแต๊ะ/จับปลั๊กไฟ)   หรือกำหนดเขตให้เด็กได้อยู่โดยใช้ สื่อที่ให้เด็กเข้าใจได้ว่าบริเวณใดเข้าได้หรือเข้าไม่ได้ เป็นต้น  เพื่อการดูแลที่ทั่วถึง
  5. กรณีที่มีผู้เข้ามาช่วยเหลือ ในหน่วยงานต่างๆ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทราบว่ามีเด็กพิการอยู่ในพื้นที่นี้และให้ระบุความต้องการที่จะให้ช่วยไปเลยว่ามีความต้องการอย่างไรบ้าง
  6. การรับประทานอาหารของเด็ก ซึ่งในภาวะที่ยากลำบากนี้ ย่อมมีการจำกัดปริมาณอาหารและน้ำดื่มก็เช่นเดียวกัน ให้ระบุจำนวนที่ชัดเจน ไปเลยว่า จะจำกัดให้เด็กเท่าใด อย่างเช่น ดื่มน้ำได้ หนึ่งแก้วนะครับ  การบอกให้เด็กทำในลักษณะที่คลุมเครือไม่ชัดเจนในคำสั่ง จะทำให้เด็กไม่เข้าใจ เช่น “ กินให้อิ่มๆนะลูกนะ “ เด็กอาจไม่เข้าใจในเรื่องของปริมาณได้
  7. ในกรณีที่ บ้านน้ำท่วมไม่สูงมากนัก ผู้ปกครองควรที่จะให้เด็กได้มีส่วนช่วยเหลือในกิจกรรม เช่น การยก ของ ยกตู้    เมื่อเด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมจะทำให้เด็กเรียนรู้การปรับตัว ผู้ปกครองอาจจะชมเชย หรือแสดงออกถึงการยอมรับในความสามารถของเด็กของเราได้
  8. ในเด็กที่สื่อสารได้ ในระดับดี ( Hight Function)  ผู้ปกครองอาจจะตั้งสถานณ์การณ์ล่วงหน้าให้กับเด็ก เช่น น้อง….ถ้าพรุ่งนี้น้ำสูงขึ้น เราควรทำไงดีลูก ? หรือ  ถ้าพรุ่งนี้ ไม่มีไฟใช้ หนู จะกลัวป่าวครับ ? เป็นต้น  คำถามเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเกิดความคิด และการคาดเดาล่วงหน้า  และช่วยเรื่องของการวางแผนเพื่อเป็นการจัดระบบระเบียบความคิดให้กับเด็กที่ดีใด้

 

นี่ก็เป็นอีกบทความหนึ่งซึ่งพอเป็นแนวทางในการช่วยเหลือเด็กออทิสติกให้กับผู้ปกครองได้บ้างนะครับ สถาณการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพราะฉะนั้น การเตรียมความพร้อมโดยการไม่ประมาทก็จะช่วยให้เราผ่านพ้นวิกฤตที่เกิดขึ้นไปได้ด้วยกันนะครับ >>> ติดตามสาระดีดี และบทความเกี่ยวกับเด็กออทิสติกและเด็กพิเศษได้ที่ http://kiratinun.blogspot.com/ ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 496586เขียนเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2012 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท