ศึกษาเปรียบเทียบหลักกฎหมายขัดกันของญี่ปุ่นและหลักกฎหมายขัดกันของไทยในเรื่องการหย่า


 

เทียบเคียงกฎหมายขัดกันของญี่ปุ่นและกฎหมายขัดกันของไทยในเรื่องการหย่า

           ตามภาคผนวก 3B Act Concerning the Application of Laws (Horei) (Law No. 10 ,June 21,1989) ในมาตรา 16 ได้บัญญัติในเรื่องการหย่า ดังนี้
           “The provision of Article 14 shall apply mutatis mutandis to divorce, provided that in cases where one of the parties is Japanese national who has the habitual residence in Japan, divorce shall be governed by Japanese law.”
            โดยสามารถแปลความได้ว่า ข้อกำหนดในมาตรา 14 จะนำมาประยุกต์ใช้โดยอนุโลมในเรื่องการหย่าล้าง ที่ถูกกำหนดว่า ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของคู่กรณีเป็นบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น การหย่าจะตกอยู่ภายใต้กฎหมายญี่ปุ่น
           
ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้เมื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายขัดกันของประเทศไทย จะอยู่ในมาตรา 26 และมาตรา 27 ซึ่งจะเป็นการบัญญัติแยกกันระหว่างการหย่าโดยความยินยอม และการหย่าโดยคำพิพากษา โดยบัญญัติว่า
            “มาตรา 26 การหย่าโดยความยินยอมย่อมสมบูรณ์ ถ้ากฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้กระทำได้”
            “มาตรา 27 ศาลสยามจะไม่พิพากษาให้หย่ากัน เว้นแต่กฎหมายสัญชาติแห่งสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้หย่าได้
             เหตุหย่า ให้เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า”

            เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับกฎหมายไทยแล้วกฎหมายขัดกันของประเทศญี่ปุ่นจะไม่มีการกำหนดแบ่งแยกว่าเป็นการหย่ากันตามคำพิพากษาหรือเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมดังเช่นกฎหมายขัดกันของไทย แต่ในกฎหมายขัดกันของประเทศญี่ปุ่นหากว่าเป็นกรณีที่เป็นบุคคลที่มีสัญชาติญี่ปุ่นและมีถิ่นที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นก็ให้นำกฎหมายญี่ปุ่นมาใช้บังคับ แต่ในกรณีกฎหมายขัดกันของประเทศไทยจะมีการแยกพิจารณาว่าเป็นการหย่าโดยความยินยอม กฎหมายที่จะมาใช้พิจารณาจะเป็นกฎหมายสัญชาติสามีและภริยาทั้งสองฝ่ายยอมให้ทำได้ หากว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมให้มีการหย่า ก็ไม่สามารถกระทำการหย่าได้ ดังนั้น การหย่าโดยความยินยอมก็ต้องเป็นไปตามสัญชาติของคู่กรณี และในกรณีของการหย่าโดยคำพิพากษาของศาลนั้น ศาลสยามจะพิจารณาโดยดูว่ากฎหมายสัญชาติของคู่กรณียอมให้หย่าได้หรือไม่ โดยเหตุแห่งการหย่าก็เป็นไปตามกฎหมายแห่งถิ่นที่ยื่นฟ้องหย่า ดังนั้น การเลือกใช้กฎหมายขัดกันของประเทศญี่ปุ่นต่อเมื่อเป็นบุคคลสัญชาติญี่ปุ่นและมีถิ่นที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่น แต่ในกฎหมายขัดกันของไทยการเลือกใช้กฎหมายจะพิจารณาจากหลักสัญชาติของคู่กรณีเป็นหลักโดยไม่ได้มีการกล่าวถึงหลักถิ่นที่อยู่ของคูกรณีแต่อย่างใด
 

หมายเลขบันทึก: 49640เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2006 01:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท