เค้าโครงคู่มือการสอนกฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณสื่อสารมวลชน หัวข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อ : รายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ และ วีดีทัศน์


เป็นการทำงานภายใต้โครงการพัฒนาคู่มือการเรียนการสอนวิชากฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณสื่อสารมวลชน สถาบันอิศรา ภายใต้มูลนิธิอิศรา อมันตกุล และมูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย

เนื้อหาประกอบด้วย ๕ ส่วน กล่าวคือ 

ส่วนแรก เป็นการ "เตรียมความคิด" ให้กับผู้อ่าน โดยจะอธิบายถึงแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาว่ามีแนวคิดพื้นฐานอย่างไร ? การทำความเข้าใจในแนวคิดพื้นฐานเสียก่อน จะช่วยให้ผู้อ่านและใช้คู่มือนี้ "เข้าใจในแนวคิด" อันเป็นหลักการของเรื่องการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อว่า ทำไมต้องมีการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อ ? ทำไมต้องมีกฎหมายว่าด้วยการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อ ?

ส่วนที่สอง เป็นเรื่องของการ "เตรียมความพร้อม" ในการทำความเข้าใจในรายละเอียดของกฎหมายการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหา เพราะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็คือ การจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อ ปรากฎอยู่ในทั้งที่เป็น กฎหมายทั่วไป ไม่ได้ปรากฎอยู่เฉพาะเจาะจงในกฎหมายพิเศษ เช่น ประมวลกฎหมายอาญา และ ปรากฎในกฎหมายพิเศษ ซึ่งถูกจำแนกตามลักษณะและประเภทของสื่อ เช่น พรบ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ..๒๕๕๑ ดังนั้น เพื่อป้องกันความสับสน และ สามารถเข้าใจภาพรวมของกฎหมายทั้งหมด จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของระบบกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อเสียก่อน

ส่วนที่สาม หลังจากนั้น จะเป็นการ "ลงรายละเอียด"ของ กฎหมายเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อ ในการอธิบายจะอาศัยการจัดแบ่งกลุ่มหรือหมวดหมู่ตามแนวคิดพื้นฐานของเรื่อง ซึ่งประกอบด้วย () การกลั่นกรองเนื้อหา () การวัดเชิงปริมาณ () การประเมินเชิงคุณภาพหรือเนื้อหาสาระ และ () การจำแนกตามช่วงวัย

ส่วนที่สี่ จะอธิบายถึง "แนวทางในการบังคับใช้กฎหมาย" เพื่อให้เห็นกระบวนการ ขั้นตอน ของการบังคับใช้กฎหมายแต่ละฉบับ หลังจากนั้น จะชวนให้ผู้อ่านวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ว่าเป็นอย่างไร

ส่วนสุดท้าย เพื่อทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึงปัญหาท้าทายในอนาคต ส่วนนี้จะเป็นการเปิดประเด็นคำถามที่น่าสนใจ พร้อมทั้ง มีการยกตัวอย่างกรณีศึกษาให้เห็นเป็นตัวอย่าง พร้อมกับชวนวิเคราะห์เพื่อใหเ้ห็นถึง "คำถาม" ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และ "วิธีการ" ตั้งคำถามกับนักศึกษา รวมทั้ง "แนวคำถาม" ที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ในชั้นเรียน

ดาวน์โหลดเอกสาร และ สารบาญตารางรายละเอียดกฎหมาย

1กรณีศึกษาจากคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับสื่อลามก

2กฎกระทรวงกำหนดลักษณะประเภทของภาพยนตร์ พ..๒๕๕๒

3ศึกษากรณีตัวอย่าง การพิจารณาภาพยตร์เรื่องInsect in the Backyard

4อธิบายจากคู่มือในการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ กรมประชาสัมพันธ์

5กรณีศึกษาจาก ESRB ของประเทศสหรัฐอเมริกา กับ กรณีของ MPAA ของประเทศสหรัฐอเมริกา

6

หมายเลขบันทึก: 496370เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท