รู้หรือยังสัญญาณอันตราย “คุณเป็นเบาหวาน” แล้วนะ 2 กับ ความคิดด้านมืดของพยาบาล


       ผู้ป่วยอีกรายที่เจอนี่  เป็นหญิงอายุ  52 ปี  รูปร่างผอมบาง  ผิวขาว  มานั่งที่โต๊ะซักประวัติ ของชลัญด้วยสีหน้าวิตกกังวล  ดูไม่สุขสบาย  ชลัญเริ่มถาม

          ชลัญ :  เป็นอะไรมาค่ะ

          ผู้ป่วย :  อยากมาตรวจเลือด  ตรวจร่างกาย ไม่สบายมา 2  เดือนแล้ว  ตรวจให้หมอเลยว่าเป็นอะไร

โดยสัญชาตญาณของพยาบาลหรือแพทย์ ก็ตามจะรู้สึกปรี๊ดขึ้นสมองทันทีที่  มีคนมาสั่งให้ทำโน่น  นี่ นั่น  ต้องให้ ฉัน เป็นคนสั่งตรวจซิ  แล้วตรวจเลือดมีเป็นร้อย ไม่บอกอาการ ข้าจะไปรู้ไม่นี่ว่า เป็นอะไร  นี่ เป็นความคิดด้านมืดที่ชลัญเองพยายามแก้ไขตัวเองโดยการไม่ตอบโต้ อะไรกับผู้ป่วย  เพียงเปลี่ยนเรื่องถามก็เท่านั้นเอง 

          ชลัญ :  อาการที่บอกว่าไม่สบายนี่เป็นอย่างไรค่ะ 

          ผู้ป่วย :  ก็รู้สึกเหนื่อย  หายใจไม่อิ่ม   รับประทาน อาหารไม่ค่อย ได้  นอนไม่หลับ

ฟังๆดู อาการคล้ายคนวิตกกังวล มากกว่า  ชลัญคิดในใจ  วัยทองชัวร์ 

          ชลัญ : มีอาการอื่นอีกมั๊ยค่ะ 

          ผู้ป่วย :  ก็เหนื่อยนี่แหล่ะ  ตรวจเลือดเลือดเลยตรวจให้หมด  ทุกอย่าง  ว่าทำไม่ถึงเหนื่อย

ชลัญเริ่มปรี๊ดอีกรอบ อะไรกันหนักหนานี่  จะตรวจแต่เลือด เฮ้ย  เย็นไว้  เย็นไว้ 

          ชลัญ :  มีน้ำหนักลดมั๊ย

          ผู้ป่วย : มีค่ะ  1 เดือนลดไป  5 กิโล 

อ้าวแล้วไง  ได้ประเด็นแล้ว  ชลัญเริ่มเปลี่ยนความรู้สึกจากอาการปริ๊ด เป็น การอยากรู้ต่อ

          ชลัญ :  มีคอแห้ง กระหายน้ำมั๊ย  ปัสสาวะบ่อยมั๊ย 

          ผู้ป่วย :  มีทั้ง 2 อย่างเลยค่ะ

อ้า! ….. ตอนนี้ชลัญได้ประเด็นแล้ว  เบาหวาน ชัวร์ 

          ชลัญ :  ขอใบวัดความดันด้วยค่ะ

          ผู้ป่วย :  ยังไม่ได้วัดค่ะ

อ้าว ... ไม่เป็นไร เดี๋ยววัดให้  ความดันโลหิต  110/70  mmHg  ชีพจร เอ๊ะ  เบามาก  เร็วด้วย  จึงใช้หูฟัง  ฟังที่  หัวใจ  โหย !  รัวเป็นกลองเลย นับได้  162 ครั้ง/นาที   ซวยแล่ว ชลัญเอ๊ย  เท่านั้นแหล่ะ  เรียกน้อง เวรเปล 

          น้องขอรถเข็ญ  1 คัน  พาคนไข้ไปตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 

          น้องผู้ช่วย ขอเครื่อง DTX  เจาะ stat  เลย 

ทุกคนนะที่นั้นเริ่มต๊กใจ  ชลัญไม่สนใจพาคนไข้ไปตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ  พบ  หัวใจ เต้น 141 ครั้ง /นาที  ดู ตอนแรก คิดว่า  SVT ( Supraventricular  tachycardia )  DTX stat  = HI แสดงว่าน้ำตาลในเลือดสูงมากชนิดวัดค่าจากเครื่องนี้ไม่ได้  แหม! ได้ตื่นเต้นอีกแล้วรีบเอา EKG  ไปให้ อ.หมอ ชาญศักดิ์ดู บอก เป็น  Sinus tachycardia  แต่ไม่ค่อยเจอว่า rate เร็วขนาดนี้ รีบเอาไปฉุกเฉินเลย   ชลัญจึงรีบไปส่งคนไข้ที่ฉุกเฉิน  คนไข้ได้รับการดูแล ปลอดภัย   หมอให้นอน รพ. ต่อ 

นี่แหล่ะค่ะปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคน   ถ้าเราไม่เปิดใจรับฟังเขาก็จะทำให้การรักษาล่าช้าไป  จิตด้านมืดทุกคนมี แต่อยู่ที่จะควบคุมมันได้หรือเปล่า  ผู้ป่วยรายนี้ถ้าชลัญ ปล่อยให้จิตด้านมืดครอบงำจิตใจ  คนไข้ก็อาจต้องรอตรวจอีก ประมาณ 3 ชม. เพราะเข้าใจว่า ผู้ป่วยเป็น วัยทอง และวิตกกังวลนั่นเอง 

 

 

ชลัญธร  ตรียมณีรัตน์ 

 

หมายเลขบันทึก: 496327เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กรกฎาคม 2012 07:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อนุโมทนาในการดูแลผู้ป่วยอย่างใส่ใจเช่นนี้ค่ะ..

พยาบาลก็คนนี่คะน้องชลัญ.. ยังไงอารมณ์ความรู้สึกก็ยังมี มันต้องมีทั้งด้านสว่างและด้านมืบ้าง (บางเวลา อิอิ)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท