ก้าวข้ามปัญหาเทคโนโลยีฯ ...เพราะมี "ใจ"


ด้วยผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงที่เกี่ยวข้อง จึงขอใช้โอกาสท้ายๆ ของการอยู่ในแวดวงการศึกษานี้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 15 ปีของการก้าวข้ามปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา โดยมีปัจจัยในเรื่องของ "ใจ" เป็นสิ่งเกื้อหนุน

       แรกเริ่มเดิมทีนั้น ผู้เขียนไม่คิดจะเขียนบันทึก "ตามโครงการ สรอ.ขอความรู้" คำสำคัญ "ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา" เพราะต้องการทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนให้นักศึกษาเขียน แต่ในช่วงนี้เป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค ซึ่งจะมีไปจนถึงวันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม 2555 นักศึกษาคงไม่มีเวลาเขียนและไม่ถนัดที่จะเขียนในเรื่องดังกล่าว กอปรกับผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงที่เกี่ยวข้อง จึงขอใช้โอกาสท้ายๆ ของการอยู่ในแวดวงการศึกษนี้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 15 ปีของการก้าวข้ามปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา โดยมีปัจจัยในเรื่องของ "ใจ" เป็นสิ่งเกื้อหนุน ดังคำทิ้งท้ายในบันทึกเรื่อง "ยาสมุนไพรจากหัวใจของพวกเรา (ลดการสูญเสียยาลูกกลอน) ของ CoMedSci (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/496263) ที่ผู้เขียนลุกขึ้นมาอ่านตอนตีสามเศษ ความว่า "หลายคนมองว่าปัญหามีไว้ให้แก้ไข แต่หากเราทำงานด้วยหัวใจ ผมเชื่อว่าปัญหานั้นไม่ได้มีไว้เพียงแค่ให้แก้ไข แต่มีไว้ให้เราให้ได้พัฒนางาน ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป"

      อนึ่ง ก่อนจะเขียนบันทึกเรื่องใดที่เป็นเชิงวิชาการ ผู้เขียนจะต้องมีการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งอ่านบันทึกของผู้เขียนท่านอื่นๆ ก่อน เพราะยึดคติของ "ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์" ที่เขียนไว้เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2555 ความว่า ถ้าไม่ได้เป็นนักอ่าน   ไม่ควรคิดเป็นนักเขียน และหากเป็นนักเขียน ก็ควรเขียนเพื่อพัฒนาสังคม” (http://www.oknation.net/blog/markandtony/2012/07/20/entry-1และในการเขียนบันทึกนี้ ผู้เขียนได้อ่านและได้รับสารสนเทศจากผู้เขียน 5 ท่าน ที่ได้เขียนบันทึกตามคำสำคัญเดียวกันนี้  จึงขออนุญาตนำสารสนเทศและ/หรือข้อความจากบันทึกของกัลยาณมิตรทั้ง 5 ท่าน มาอ้างอิงไว้ในบันทึกนี้ (ท่านที่ 6 ในภาพ คือ คุณ ComMedsci ไม่ได้เขียนบันทึกตามคำสำคัญ "ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา")

  

ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

      เทคโนโลยีการศึกษา (อังกฤษ: Educational Technology) เป็นศาสตร์ที่ประยุกต์เอาวิชาการต่างๆ มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งเกิดจากการออกแบบการสอน ตามหลักการออกแบบการเรียนการสอน  (Instructional Design) โดยคำนึงถึงคุณลักษณะของผู้เรียน ความเหมาะสมของสื่อ ที่สอดคล้องกับลักษณะเนื้อหาและความสนใจของผู้เรียน เทคโนโลยีการศึกษา เป็นคำที่มาจากคำสองคำ คือ เทคโนโลยี ที่มีความหมายว่า เป็นศาสตร์แห่งวิธีการ ซึ่งมิได้มีความหมายว่าเป็นศาสตร์แห่งเครื่องมือเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึง วัสดุและวิธีการด้วย เมื่อมาเชื่อมกับคำว่า การศึกษา เกิดเป็นคำใหม่ที่มีความหมายว่า การประยุกต์เครื่องมือ วัสดุและวิธีการไปส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ ตลอดจนการจัดสภาพแวดล้อมใหม่ เพื่อการเรียนรู้

(http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2)

 

จุดมุ่งหมายในการใช้เทคโนโลยีการศึกษา

      จุดมุ่งหมายในการใชเทคโนโลยีการศึกษา ก็เพื่อให้ได้รับผลดี 6 ประการ ที่จะไม่ได้รับ หากปราศจากการใช้เทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงวัสดุการเรียนรู้ได้ง่าย 2) เพื่อจูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้ 3) เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในวงกว้างขึ้น 4) เพื่อช่วยปรับปรุงการเขียนของผู้เรียน จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์  5) เพื่อให้การเรียนรู้ง่ายขึ้น และ 6) เพื่อให้ครูอาจารย์ สามารถสอนได้แตกต่างหลากหลายรูปแบบ (Educational technology is intended to improve education over what it would be without technology. Some of the claimed benefits are listed below:  Easy-to-access course materials.  Student motivation. Wide participation. Improved student writing… exchanged over a computer network with students they know. Subjects made easier to learn.  Differentiated Instruction. (http://en.wikipedia.org/wiki/Educational_technology)

 

ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษาและการแก้ไข

       Han Min ได้กล่าวถึงปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา ไว้ในบันทึกเรื่อง “เรื่องขำ ๆ กับปัญหาการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา...(๑) (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/495804) โดยดูจะเน้นไปที่ อุปกรณ์หรือ "เครื่องมือ" ดังคำกล่าวที่ว่า  "กว่า ๓๐ ปีที่มีโอกาสแวะเวียนเข้ามาสู่โลกของ เทคโนโลยีทางการศึกษา พบกับเพื่อนพ้อง น้องพี่หลายคน แต่ละคนก็ประสบปัญหาแตกต่างกันอย่างหลากหลาย … บ้างก็เห็นว่าหน่วยเหนือไม่สนับสนุนเทคโนโลยีให้เลย  บางก็ว่ามีให้แต่ไม่พอ  บางคนก็ว่า มีให้มากพอแต่ยังเป็นตัวเก่าตกรุ่น บางคนก็ว่ามีให้ดีแล้วแต่ไม่ครบคน  บางคนก็ว่าให้ครบหมด ครบถ้วน แต่ให้แค่ปีเดียว ปีหน้าไม่มีงบบำรุงรักษาแล้ว ถ้าชำรุดเสียหายไปแล้วจะทำอย่างไร... เราเองก็มีประสบการณ์ขำๆ เรื่องหนึ่งอยากแบ่งปัน....วันหนึ่งได้ทราบว่า  เพื่อนคนหนึ่ง  ...ได้ตกปากรับคำวิทยาลัยครูแห่งหนึ่ง ว่าจะไปแนะนำเรื่องการผลิตสื่อในการเรียนการสอน   แม้จะเคยได้ยินมาว่าสาขาวิชานี้ ยังไม่เป็นที่นิยมมากนักก็ตาม  เจ้าตัวก็คิดว่าที่วิทยาลัยครูแห่งนั้น คงมีอุปกรณ์บ้าง แต่เมื่อไปเห็นกับตา ต้องตะลึง... เพราะอุปกรณ์ที่คิดไว้ในใจนั้น...ไม่มีเลยแม้แต่ชิ้นเดียว”

      ส่วนในบันทึกของ "คุณแว้บ" เรื่อง "เทคโนโลยี-ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี (ทางการศึกษา)" (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/495533) กลับแสดงมุมมองว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี (แต่อยู่ที่คน) ซึ่งผู้เขียนได้เข้าไปแสดงความเห็นไว้ ดังนี้

  • อ่านแนวคิดของ "คุณแว้บ" ที่ว่า "...มองไปทางไหนก็เห็นคนใช้เทคโนโลยีทั้งนั้น ครู อาจารย์และนักเรียนก็ใช้มือถือ ไอโฟน แท็บเล็ตและดิจิตอลเทคโนโลยีกันเกลื่อน เพียงแต่ไม่ได้ใช้เพื่อการเรียนการสอน" ทำให้นึกถึงคำพูดของอดีตนักการศึกษาท่านหนึ่ง ที่เสียชีวิตไปแล้ว (ดร.ทองคูณ หงส์พันธ์) ท่านได้ให้นิยามบุคคลที่มีพฤติกรรมตามที่ "คุณแว้บ" พูดถึงว่า เป็นคนที่ "ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา"

  • สำหรับอ.วิเอง ในชีวิตส่วนตัวนั้น ใช้เทคโนโลยีประเภทเครื่องมือ (มือถือ) ที่ล้าสมัยมาก แต่ในหน้าที่การงาน พยายามที่จะใช้เทคโนโลยีทั้งประเภทวัสดุอุปกรณ์ (ที่ซื้อด้วยเงินส่วนตัว และผลิตด้วยตนเอง) และประเภทกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรม และดึงดูดความสนใจของนักศึกษา

  • และโชคดีหน่อยที่อ.วิทำสิ่งต่างๆ ดังกล่าวด้วยแรงจูงใจภายในของตนเอง จึงเป็นพฤติกรรมที่มีความยั่งยืนตลอดเวลาย่างเข้าปีที่ 36 ของการเป็นอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งจะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30กันยายนนี้ค่ะ

      และในบันทึกเรื่อง “ปัญหาทางเทคโนโลยีการศึกษาและแนวทางการแก้ไข  (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/495497)

"ครูวุฒิ" ได้กล่าวถึงปัญหาโรงเรียนไม่มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องเทคโนโลยีการศึกษาด้วยตนเอง  และ "…ครูส่วนหนึ่งที่อายุมากขึ้นทุกวันๆ จนล่วงเลยวัยที่จะตามทันก็เลยกลายเป็นครูที่กลัวเทคโนโลยีไปโดยปริยาย อีกอย่างก็กลายเป็นความเขินอาย (เด็ก) ที่ตัวเองใช้เทคโนโลยีอย่างงกๆ เงิ่นๆ อย่างคนเรียนรู้ใหม่ คอยแต่จะถามเด็กในเรื่องซ้ำๆอยู่ร่ำไป จึงยอมที่จะอยู่ห่างๆ และใช้รูปแบบการสอนที่ถนัดและคุ้นเคยดีกว่า นี่คือการปิดกั้นโอกาสของครูโดยตรง”

    และผู้เขียนได้แสดงความเห็นในบันทึกของ "ครูวุฒิ" หลายประเด็น ประเด็นหนึ่งความว่า “อ.วิเป็นผู้สูงอายุ แต่ชอบเรียนรู้ ก็เลยใช้เครื่องไม้เครื่องมือทางเทคโนโลยีเป็นค่ะ ได้ใช้เงินส่วนตัว ซื้อเครื่องบันทึกรายการโทรทัศน์ เป็นวีดิโอเทป (Video Tape) เช่น รายการเกี่ยวกับการเล่านิทาน การละเล่นพื้นบ้าน เพลง การเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิต และเสริมสร้างลักษณะนิสัย ฯลฯ เพื่อใช้เป็นสื่อเสริมสำหรับจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยมาตั้งแต่ปี 2540 (ทำวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานค่ะ) จนพังไปสองเครื่อง (ใช้ผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วย)  พอยุค DVD ที่คณะครุศาสตร์มีแต่เครื่องเล่น DVD อ.วิก็ใช้เงินส่วนตัวซื้อ (เครื่องที่บันทึกได้ด้วย) อีก ซื้อมาแล้วอ่านและทำตามคู่มือแล้วก็ยังบันทึกไม่ได้ เจ้าหน้าที่ที่คณะก็ไม่เคยใช้แนะนำให้ไม่ได้ ก็เลยหอบหิ้วไปถามร้านที่ซื้อมา ซึ่งพนักงานก็ให้คำแนะนำไม่ได้ (ขายอย่างเดียว) ต้องหอบหิ้วตามไปร้านที่ขายเครื่องบันทึก/เล่น DVD ยี่ห้อนั้นโดยตรง ซึ่งพนักงานขายก็ให้คำแนะนำได้ เฉพาะวิธีบันทึกและการเล่นกับเครื่องเล่น DVD  แต่ไม่รู้เรื่องการนำไปใช้กับ Notebook อ.วิ เลยโทรฯ ไปปรึกษาลูกชาย ลูกก็ไม่เคยทำเหมือนกัน แต่ได้แนะให้ลองใช้ แผ่น DVD ที่มีสมรรถนะสูงขึ้น คือมีคำว่า +RW ตกราคาแผ่นละ 32-35 บาท อ.วิทำตามก็ได้ผล ใช้มาแล้วนับ 100 แผ่น ตอนนี้มีปัญหาว่า หาซื้อแผ่นไม้ได้ คนขายบอกไม่ค่อยมีคนใช้ ทั้งมหาวิทยาลัยก็มี อ.วิ คนเดียวที่ผลิตสื่อประเภทนี้ แม้แต่อาจารย์สาขาเทคโนโลยีการศึกษา ก็ไม่มีใครผลิต มีแต่รับบริจาคและซื้อ DVD ที่ผลิตสำเร็จรูปเท่านั้น ซึ่ง "ครูวุฒิ" ได้ตอบความเห็นว่า

  • เห็นการทำงานแบบทะลุทะลวงของ อ.วิ แล้วนับถือจริงๆ

  • ดูเหมือนพลังที่อยู่ในตัว อ.วิ เนี่ย ยิ่งกว่าปรมณูซะอีก

  • ระเบิดพลังออกมาได้ทุกเรื่อง ทุกมิติ เสียสละ และกล้าได้กล้าเสีย  (นักเลงตัวจริง)

       ขอแสดงตัวอย่างการนำ DVD ที่ผู้เขียนผลิตขึ้น ไปใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้ ในรายวิชาต่างๆ  ในปี พ.ศ. 2553 ใช้เป็นสื่อในการจัดอบรมนักศึกษา ก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในปี 2552 และล่าสุด ได้บันทึกข่าวนักกีฬาทีมชาติไทย  ที่จะไปร่วมแข่งขันใน "London Game " และได้ใช้เป็นสื่อในการสอบกลางภาคในสัปดาห์ที่ผ่านมา  

       การที่ผู้เขียนสนใจผลิตสื่อ  ที่บันทึกจากรายการโทรทัศน์ ที่ศัพท์ทางวิชาการใช้คำว่า "วีดิทัศน์" ก็เพราะ เดชอนันต์  บุญผัน  (2539 : 156; อ้างถึงใน วิไล แพงศรี. 2554 : 64) นักเทคโนโลยีทางการศึกษากล่าวว่า “โทรทัศน์มีเสียงและภาพเคลื่อนไหว จึงมีประสิทธิภาพสูงสำหรับการเรียนรู้… มีรูปแบบรายการที่หลากหลาย และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงสามารถติดตามชมได้นานไม่เบื่อหน่าย มีเทคนิควิธีการในการกระตุ้นและจูงใจผู้ชม ให้ติดตามเรื่องราว... ช่วยส่งเสริมการศึกษาทุกรูปแบบ…ในด้านการเรียนการสอน สามารถใช้รายการโทรทัศน์ช่วยการสอนในจุดประสงค์ต่างๆ ได้ดี ทั้งด้านความรู้ความจำ ด้านทักษะ และเจตคติ” ซึ่งสอดคล้องกับ แนวคิดของนักเทคโนโลยีทางการศึกษาในต่างประเทศ ที่ระบุว่า วีดิทัศน์สามารถแสดงแนวคิดได้ดีกว่าสื่อชนิดอื่นๆ และสามารถสนองตอบจุดประสงค์ในการเรียนรู้ได้ทุกด้าน ทั้งด้านพุทธิพิสัย (cognitive Domain) จิตพิสัย (Affetive Domain)  ทักษะพิสัย (Psycho-motor Domain) และด้านการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Heinich, Molenda, Russell & Smaldino, 1996 : 196; อ้างถึงใน วิไล แพงศรี. 2545 : 64-65)

   จากประสบการณ์ที่ผู้เขียนได้ผลิตสื่อวีดิทัศน์ ที่บันทึกจากรายการโทรทัศน์ เพื่อใช้เป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้และจัดการอบรมมาตั้งแต่ปี 2539 ได้พบว่า วีดิทัศน์มีคุณค่าตรงตามที่นักเทคโนโลยีการศึกษากล่าวไว้ทุกประการ ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนมาก ก็คือ เป็นสื่อที่เร้าความสนใจของผู้รับสื่อได้มากที่สุด เพราะสามารถนำเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น  ไปให้ผู้เรียน/ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับรู้/เรียนรู้ในห้องเรียน/ห้องอบรม ในขณะที่ใช้ สามารถหยุดในที่ที่ต้องการหยุดได้ตามความต้องการ และสามารถนำกลับไปให้ดูซ้ำได้หลายครั้ง นับเป็นสื่อที่มีลักษณะเป็น "Edutainment" คือ การให้การศึกษาที่มาพร้อมกับความบันเทิง ถูกกับนิสัยในการเรียนรู้ของคนไทย ที่ชาวตะวันตกซึ่งมีประสบการณ์เป็นครูในเมืองไทย เขียนบทความแสดงมุมมองว่า "นักเรียนนักศึกษาไทย จะไม่เรียนในสิ่งที่ไม่สนุก"

 

 

        การที่ผู้เขียนได้ผลิตสื่อวีดิทัศน์ เพื่อนำไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา  โดยใช้เงินส่วนตัวในการดำเนินการทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเครื่องมือและวัสดุในการผลิต การซ่อมบำรุง ฯลฯ มีความพยายามที่จะเรียนรู้จนผลิตได้ใช้เป็น และให้เวลากับการเสาะหารายการโทรทัศน์ แล้วเลือกบันทึกตอนที่เหมาะจะนำไปใช้ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้ต่างๆ แล้วบันทึกข้อมูลเนื้อหาและแหล่งอ้างอิงไว้ เพื่อให้สามารถเลือกไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ถือเป็นการก้าวข้ามปัญหาเทคโนโลยีฯ...เพราะมี "ใจ" เป็นปัจจัยเกื้อหนุน (มีอาจารย์ใหม่รุ่นน้อง ที่ซื้อเครื่องบันทึกฯ ก่อนผู้เขียน และบอกว่า พนักงานขายบริการดีมาก ติดตั้งให้เสร็จสรรพพร้อมใช้ และเธอได้ใช้บันทึกมาแล้ว แต่ใช้ไปสัปดาห์เดียวก็เสียใช้งานไม่ได้ เธอยกไปให้ร้านซ่อม แต่หลังซ่อมเธอก็ใช้ไม่เป็น และเธอได้ขอให้ผู้เขียนเขียนขั้นตอนต่างๆ ในการบันทึกให้ แต่พอเห็นขั้นตอนยืดยาว เธอก็บอกว่า ไม่เอาแล้วซับซ้อนเหลือเกิน แล้วเธอก็ไม่ใช้อุปกรณ์นั้นอีกเลย)

       ท้ายนี้ ผู้เขียนขอแนะนำกัลยาณมิตร ให้เข้าไปอ่าน บันทึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับความสำคัญของ "ใจ" กับการใช้เทคโนโลยีในบันทึกของ "คุณปริม" เรื่อง "5C สู่ความสำเร็จกับปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา" ซึ่งจะทำให้ท่านมีความชัดเจนมากขึ้น ว่า "ใจ" หมายถึงอะไร และมีความสำคัญอย่างไร อีกบันทึกหนึ่งที่น่าอ่าน คือ เรื่อง "@@เทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องใหญ่@@" ของ "krugui" ซึ่งได้ทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า "มื่อนโยบายในการนำเอาเทคโนโลยีและการสื่อสาร มาประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เกิดขึ้น ก็ควรคำนึงถึงผลที่จะได้รับว่า จะยกระดับคุณภาพ และกระจายโอกาสทางการศึกษาได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธภาพเพียงใด เพราะเป็นห่วงเหลือเกินว่า.....เราจะควบคุมเทคโนโลยีหรือจะให้เทคโนโลยีควบคุมเรากันแน่" (คลิกเข้าไปอ่านได้ที่ Link บันทึกที่เกี่ยวข้องนะคะ)

 

แหล่งอ้างอิงประเภทสิ่งพิมพ์

วิไล แพงศรี. (2545). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบ

              การณ์สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวทางการปฏิรูป

              การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. รายงานการวิ

             จัยโดยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะ

             กรรมการวิจัยแห่งชาติ. อุบลราชธานี : คณะ

             ครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี. 

    ผู้เขียนขอขอบคุณเจ้าของบทความ ตามที่ได้กล่าวนามในบันทึกนี้  และขอบคุณผู้อ่านทุกท่าน ที่กรุณาเข้ามาให้กำลังใจและแสดงความเห็นค่ะ

  

               

                                               

หมายเลขบันทึก: 496309เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 18:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2013 09:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (57)

จุดมุ่งหมายที่อาจารย์กล่าวไว้สำคัญนัก ไม่ต่างจากเทคโนโลยีทั่วไปครับ คือต้องทำให้สภาพความเป็นอยู่ ชีวิต หรือกิจกรรมนั้นดีขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเมื่อตอนไม่มีเทคโนโลยี บางทีเราไม่คิดตรงนี้ คือเอาเทคโนโลยีนำเอาคนตาม

เหมือนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดพรินเตอร์ขึ้นมาเพื่อจะพิมพ์จ่าหน้าซองจดหมายนั่นละครับ เขียนเอาง่ายกว่า ว่าไหมครับ :-)

ขอบคุณค่ะ..หากบริหารจัดการเรื่องนี้ดีๆ ย่อมต่อยอด >>> คนดี + คนเก่ง+ คนมีความสุข

เทคโนโลยี ไม่เป็นปญหา หากมี "ใจ" และ "ใส่ใจ"....สวัสดีครับ

เมื่อปี ๓๔ มีโอกาสได้ไปฝึกอบรมผู้บริหารระดับสูงที่วัดไร่ขิง ในหลักสูตรเขาสอนการส่ง E-mail ตอนกลางคืน ก็ทำได้แบบงูๆปลาๆ ขำตัวเองเหมือนกัน ไม่นานก็ลืม ๕๕๕ มาตอนหลังประมาณปี ๕๒ มาแข่งขันกีฬาสถาบันการพลศึกษาที่สุพรรณบุรี นั่งรถตู้มาซื้อ Notebook ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์ (เขาลดราคา) ซื้อมา ๑๘,๐๐๐ บาท ได้ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้แหละ...แต่ทำอย่างไรก็ไม่เก่งในการพิมพ์แต่ใช้วิธีจิ้ม ๕๕๕ ส่วนการใส่ภาพไม่ได้เศษเสี้ยว อ.วิเลย ขอยอมรับว่า อ.วิเก่งวิชาการมากๆ หลายๆอย่าง น่าจะอยู่สอนต่อนะ.......

        ***...ชื่นชมกับการให้ใจ-ใฝ่พัฒนา..นะคะจารย์  ....ยอดเยี่ยมค่ะ ชอบสำนวนนี้จัง   "ทันสมัยแต่ไม่พัฒนา" ...*** 


                                                           

ทุกอย่างไม่ยากเกินกำลังความสามารถหากใจเรามุ่งมั่นที่จะฝึกฝน

และมีความใส่ใจเพียงพอนะคะ

ขอบคุณค่ะ....

ใช่แล้วคับทุกอย่างไม่อยากเกินความสามารถของเราถ้าเราตั่งใจทำครับ

แต่หากเราทำงานด้วยหัวใจหนูเชื่อว่าปัญหานั้นคงผ่านไปได้ด้วยค่ะ

ไม่มีอะไรยากเกินความสามารถของมนุษย์ ถ้าหากมนุษย์ตั้งใจทำอะไรความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล้เกินเอื้อม

ยากแค่ใหน..ก็จะก้าวผ่านมันไปให้ได้ครับ

ถ้าเราตั้งใจที่จะทำอะไรแล้ว ไม่มีอะไรเกินความสามารถของมนุษย์เราได้

 

ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเรามาก

คงจะเป็นดังคำที่ว่า ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว

เราต้องมีความเข้าใจในเทคโนโลยีจึงจะสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์

สวัสดีค่ะอาจารย์ จากที่หนูได้อ่านบันทึกนี้แล้ว ก้ได้ข้อคิดดีๆ ค่ะว่า "ไม่ว่าจะทำอะไรถ้าทำด้วยใจ...ยิ่งใหญ่เสมอ " ค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะสำหรับบันทึกดีดีนี้

หนูคิดว่าเทคโนโลยีมีประโยชน์ทั้งคุณและโทษถ้ารู้จักใช้ไห้เกิดประโยชน์มันก็จะเกิดคุณค่ามหาสาร

เทคโนโลยีหากเราใช้ให้ถูกวิธีคุณค่าของมันก็มากเหมือนกัน แต่หากถ้าเราใช้ในทางที่ผิดสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือปัญหาทางสังคมนั้นเอง

ครูของผมสุดยอดมากครับ ผมได้อ่านแล้วนึกถึงยายตัวเองครับ ท่านเป็นคนที่ใจนักเลงอย่างนี้เลยครับ

เทคโนโลยีมีบทบาทมากในปัจจุบันนี้ เราจะต้องเรียนรู้และพัฒนาทักษะการใชัเทคโนโลยีต่างๆอยู่เสมอ ขอขอบคุณสำหรับบันทึกดีๆนี้นะคะ

  • ขอบคุณ "คุณแว้บBlank" มากนะคะ ที่เขียนบันทึกตามคำสำคัญ "ปัญหาเทคโนโลยีการศึกษา" ให้อ.วิ ได้นำมาอ้างอิง และกรุณาเข้ามาเติมเต็มบันทึกนี้ ด้วยความเห็นว่า "การใช้เทคโนโลยีต้องใช้เพื่อช่วยให้กิจกรรมที่ทำ มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเมื่อตอนไม่มีเทคโนโลยี บางทีเราไม่คิดตรงนี้ คือเอาเทคโนโลยีนำเอาคนตาม..."
  • และต้องขอโทษ "คุณแว้บ"  รวมทั้งกัลยาณมิตร GotoKnow ทุกท่านมากค่ะ ที่ อ.วิเข้ามาตอบความเห็นช้า เพราะหลังจากลงบันทึกเรื่องนี้แล้ว ก็ได้เข้าฟาร์ม และเที่ยวนี้ที่ฟาร์มใช้ Internet ไม่ได้เลยค่ะ
  • ขอแนะนำให้นักศึกษารู้จัก "คุณแว้บ" หรือ ดร.วสะ บูรพาเดชะ จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ซึ่งท่านสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาเทคโนโลยีการศึกษาโดยตรง จากมหาวิทยาลัยฟลอริด้า สหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2553 จากข้อมูลในประวัติ Jan 2006 –  Aug 2010: Ph.D. in Educational Technology, University of Florida, USA.
  • ขอบคุณ "พี่ใหญ่Blank" มากค่ะ ที่กรุณาเข้ามาให้กำลังใจและเติมเต็มบันทึกนี้ ว่า "หากบริหารจัดการเทคโนโลยีการศึกษาดีๆ ย่อมต่อยอด >>>คนดี + คนเก่ง+คนมีความสุข"

  • น้องรู้สึกชื่นชมมากค่ะ ในการมีจิตอาสาของพนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ได้จัดอบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้กับนักเรียนที่ จ.อ่างทอง ตามที่พี่ใหญ่ได้นำมาเผยแพร่ค่ะ

    Large_0006cd

  • ขอบคุณ "ท่านแว่นธรรมทองBlank" มากค่ะ ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจ อ.วิ อย่างสม่ำเสมอ
  • อ.วิ ชอบคำว่า "ใส่ใจ" ที่ท่านใช้มากค่ะ 
  • ปัญหาทุกอย่าง หากเรา "ใส่ใจ" ที่จะหาทางและลงมือแก้ไข สักวันก็ต้องแก้ได้จริงไหมคะ 
  • เมื่อกี๊ อ.วิได้แวะไปอ่านบันทึกล่าสุดของท่าน ด้วยนะคะ 

ต้องขอชมเชยว่า อ.วิ เป็นนักค้นคว้าตัวยงเชียวครับ..

  • "ป๋าเดBlank" คะ เมื่อวาน อ.วิได้เข้าไปคุยกับท่านในเรื่องสัพเพเหระ ที่บันทึก "ภาษาไทย...ภาษาชาติฯ " ยาวเลยนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ ที่ติดตามให้กำลังใจ อ.วิเสมอมาและพูดคุยเรื่องต่างๆ นาๆ ด้วยมิตรไมตรีอันดี
  • ท่านเรียนรู้การส่ง e-mail มาก่อน อ.วิ อีกนะคะ อ.วิ ได้ส่งประจำตอนอยู่ที่ Perth, Western Australia ห้องทำงานของนักศึกษาอยู่ชั้น 1  Supervisor ของ อ.วิอยู่ชั้นสอง แต่ให้สื่อสารกันทาง e-mail เป็นหลัก ค่ะ 
  • ท่านบอกว่า ปี ๕๒ ซื้อ Notebook เขาลดราคา ซื้อมา ๑๘,๐๐๐ บาท ได้ใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้แหละ อ.วิ ซื้อมาแพงหน่อย (+ จ้างลงโปรแกรมต่างๆ + ทิปคนจัดการ 30,000 พอดีค่ะ) ไม่ได้ไปซื้อเอง เพราะต้องการใช้เป็นอุปกรณ์ในการอบรมวิทยากรแกนนำสาขาการแนะแนวในวันที่ 3-4 ก.ค. 53 ที่กทม. และต้องการให้มีสมรรถนะสูงพอกับการที่ต้องใช้งานทุกอย่าง ตั้งแต่เรื่องการเรียนการสอน การอบรม งานฟาร์ม เครื่องเก่ามอบให้พ่อใหญ่สอ (Save ข้อมูลเอกสารและภาพเกี่ยวกับฟาร์มไอดินฯ มาตั้งแต่ปี 2548 รวมทั้งข้อมูลหมู่บ้าน วัด และโรงเรียนบ้านหนองฝาง) แต่พ่อใหญ่ที่จบปริญญาโทเทคโนโลยีการศึกษาและเคยสอนวิชาการใช้คอมพิวเตอร์ กลายเป็นคน Antitechnology ไปแล้ว และจะเปิดดูทีต้องนั่งกำกับไปไหนไม่ได้ 
  • ท่านก็ชม อ.วิ เรื่อยแหละ บอกว่าตนเอง "...ทำอย่างไรก็ไม่เก่งในการพิมพ์แต่ใช้วิธีจิ้ม ๕๕๕ (คงพอๆ อ.วิแหละค่ะ) ส่วนการใส่ภาพไม่ได้เศษเสี้ยว อ.วิเลย ขอยอมรับว่า อ.วิเก่งวิชาการมากๆ หลายๆ อย่าง น่าจะอยู่สอนต่อนะ" อ.วิไม่เก่งหรอกค่ะ แค่พอทำได้เพราะชอบเรียนรู้ สิ่งที่รู้ มีปริมาณแค่ใบไม้ในกำมือเมื่อเทียบกับสิ่งที่ไม่รู้ซึ่งเทียบกับใบไม้ทั้งป่า..." อ.วิบอกไปในบันทึก "ภาษาไทย...ภาษาชาติฯ " ไปแล้วนะคะ ว่าจะไปเป็นเกษตรกรในชนบทค่ะ สงสารคนที่รอมาเข้าปีที่ 8 แล้วค่ะ
  • ดร.จันทวรรณ ประกาศผลการอนุมัติโครงการแล้วนะคะ เข้าไปดูเมื่อคืนนี้ รู้สึกว่า 3 เรื่องที่ได้รับอนุมัติจะไม่มี "โครงการชุมชนคน สมศ." อยู่ด้วย ไม่ต้องเสียใจนะคะ อ.วิขออนุญาตให้ความเห็นนิดหนึ่ง อ.วิคิดว่า โครงการที่ได้รับการสนับสนุนน ดูจะเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง มีการวางแผนและกำหนดกิจกรรมที่ชัดเจน และมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน ค่ะ  

มันขึ้นอยู่กับคนใช้งานใช่ไหมค่ะอาจารย์ ว่าจะเลือกใช้ในทางไหน ขอบคุณที่มอบสิ่งดีๆมาฝากอีกครั้งค่ะ

หลังจากที่ได้อ่านบันทึกของอาจารย์แล้ว หนูเข้าใจแล้วค่ะว่า จริงๆแล้วปัญหาไม่ได้มีอยู่แค่ที่ เทคโนโลยีเท่านั้น มันประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลายต่อหลายอย่าง ทั้งบุคลากรเช่น ครู นักเรียน อื่นๆอีก ที่นำมารวมๆกันแล้ว มันเป็นปัญหาใหญ่เลย ดังนั้น ก็ไม่ใช่แค่ว่า เรามีเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้วเราจะเก่ง ก้าวทันไปซะทุกเรื่อง แต่อาจจะทำให้เราดูด้อยลงไปในบางเรื่อง เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เราไม่รู้ด้วยซ้ำไป ขอบพระคุณสำหรับบันทึกดีๆนี้น่ะค่ะอาจารย์

หนูแก้ไขบันทึกแล้วนะคะ ไม่รู้ว่าถูกไหมรบกวนอาจารย์ช่วยดูและแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

มาขอบคุณ อ.วิ อีกครั้ง ครับ ได้เข้าไปแก้ไข ตามที่แนะนำ แล้วครับ ...สวัสดีครับอาจารย์

เทคโนโลยี กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันเราไปแล้ว ผมต้องเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีให้มากๆขึ้นแล้ว ขอขอบคุณสำหรับบันทึกที่อาจารย์เขียนขึ้น ทำให้ผมอยากจะพัฒนาความรู้ด้านเทคโนโลยีมากๆ เพราะมันจะเป็นประโยชน์ของผมในการใช้ชีวิตในอนาคต

เทคโนโลยี ถ้าใช้ในทางที่ดีจะเกิดประโยชน์ ถ้าใช้ในทางที่ผิดจะทำให้เกิดโทษ ครับ

  • ขอบคุณ "หนู K.Pually" มากนะคะ ที่เข้ามาเสริมสร้างพลังใจ อ.วิ
  • อ.วิก็ชื่นชมในความสามารถและของบทบาทหนูมากเลยนะคะ ดังภาพกิจกรรมข้างล่าง

  • หนูเคยใช้รายการ English Breakfast เป็นสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไหมคะ อ.วิ เห็นว่าเป็นรายการที่เหมาะสำหรักนักเรียนม.ปลายถึงอุดมศึกษาค่ะ

 

  • ขอบคุณ "kruguiBlank" มากนะคะที่เขียนบันทึกดีๆ ให้ได้นำมาอ้างอิง และแวะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ค่ะ
  • ขอบคุณ "คุณ  Han MinBlank" สำหรับปิยวาจา "ต้องขอชมเชยว่า อ.วิ เป็นนักค้นคว้าตัวยงเชียวครับ.."
  • สงสัยจะเป็นเพราะ อ.วิมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน (Curios) เชิงวิชาการกระมังคะ ในอดีตที่ e-journals ยังไม่แพร่หลาย เห็นวาสารใหม่ๆ ในห้องสมุดจะรีบหยิบมาอ่านสารบัญ ถ้าพบเรื่องที่น่าสนใจจะสำเนาไว้ศึกษาทันทีค่ะ  

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูได้เข้าไปแก้ไขบันทึก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/496774 แล้วนะคะ ไม่รู้ว่าถูกต้องไหมรบกวนอาจารย์ช่วยเข้าดูและแนะนำด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ผมว่าเทคโนโลยีถ้าใช้ในทางที่ดีก็เป็นประโยชน์ต่อเรามากมายไม่ว่าจะใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูล ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน เช่น ใช้ e-mail ในการส่งจดหมายทำให้สะดวกสะบายมากขึ้น ใช้ในกาค้นคว้ารหาข้อมูลวิชาการ ถ้าใช้ในทางที่ผิดเทคโนโลยีนั้นก็จะไม่เป็นประโยชน์ต่อเรา เราควรในเทคโนโลยีนั้นใช้เกิดประโยชน์สูงสุด

เทคโนโลยีมีความสำคัญกับผู้คนอย่างมหาศาล และยังมีบทบาทกับในการดำเนินชีวิตของเรามากขึ้นทุกๆวัน โดยเฉพาะบทบาทด้านการศึกษาที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเรียนรู้ แต่เราต้องเลือกที่จะเรียนรู้ในทางที่ก่อให้เกิดผลดี เพราะเทคโนโลยีมีทั้งคุณและโทษ ขึ้นอยู่กับว่าเราเลือกใช้ในด้านใด

ข้อมูลอาจารย์แม่แน่นมากครับ...เป็นต้นแบบในการเขียนของผมได้อย่างดี...จะพยายามเขียนนะครับ...อาจารย์แม่สบายดีนะครับ

เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต และก็เป็นปัญหามากกับผู้ที่ก้าวไปไม่ทันโลกของเทคโนโลยี และขอบคุณครับสำหรับข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาเทคโนโลยี ครับ และผมก็จะพยายามพัฒนาตนเองให้ก้าวทัน ครับ

การนำเทคโนโลยีมาใช้มันก็ดีนะค่ะ แต่เราก็ต้องรู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์

การใช้เทคโนโลยีการศึกษามีทั้งผลดีและผลเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะทำจะนำมาปรับใช้อย่างไรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดและไม่เดือดร้อนคนอื่น

  • ภาพบนนักศึกษา Section 03 ที่เข้ารับการเตรียมความพร้อม ก่อนออกไปสัมภาษณ์ศิลปินชาวต่างชาติ ที่มาร่วมงาน "๊ิUbon Wax Festival 2012"
  • ภาพล่าง : ศิลปินชาวต่างชาติ 3 ราย เป้าหมายที่จะไปสัมภาษณ์และผลงาน
    • ประกาศสำหรับนักศึกษา Section 02, 03, 04
    • อาจารย์ได้แจ้งไว้ตั้งแต่บันทึกเรื่องข้างล่าง ซึ่งสร้างเมื่อวันที่ 23 มิถุนายนว่า นักศึกษาทุกคนต้องเขียนบันทึกอย่างน้อย 1 เรื่องภายในเดือนสิงหาคม จากการติดตามพบว่า บางคนก็ขยันเขียน เขียนมาแล้ว 4 เรื่อง เช่น Blank เป็นต้น แต่บางคนแม้แต่สมุด (Blog)ก็ยังไม่สร้าง จึงขอแจ้งว่า ภายในวันที่ 9สิงหาคม ทุกคนจะต้องมีหัวสมุดพร้อมให้อาจารย์ตรวจ ใครๆ เขาก็เชื่อว่าคนรุ่นใหม่เก่ง ITกว่าคนรุ่นเก่า พวกเราก็ต้องทำให้เป็นไปตามความเชื่อกันหน่อยสิตอนที่อาจารย์สมัครสมาชิกGotoKnow อาจารย์แค่เคยได้ยินชื่อ Weblog นี้เท่านั้น และไม่มีใครแนะนำอะไรเลย อาจารย์ต้องเริ่มตั้งแต่พิมพ์คำค้นว่า "ฺBlog"แล้วก็อ่านไปเรื่อยๆ ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ แต่พวกเราได้รับคำแนะนำสารพัด ตัวอย่างหัวสมุดและตัวอย่างการเขียนบันทึก อาจารย์ก็ทำให้ดูมามากแล้ว เพื่อนหลายคนก็ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างแล้ว ทำไมจึงไม่เข้าไปอ่านงานของเพื่อน และสอบถามวิธีทำจากเพื่อน ดูเหมือนพวกเราส่วนใหญ่จะชินกับการเรียนแบบอ่านและท่องจำเนื้อหาในตำรามากไปหรือเปล่า จึงยังปรับตัวเข้ากับการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้IT เป็นสื่อไม่ได้     

        หน้าตาภาพประกอบหัวสมุด ก็เป็นอย่างที่อาจารย์แนะนำไปแล้วในบันทึกก่อน ดังตัวอย่างข้างล่าง ให้กลับไปอ่านรายละเอียดอีกที ภาพจะใช้ภาพอะไรก็ได้ แต่ขวาสุดต้องเป็นภาพตัวเอง ถ้าไม่มีภาพตัวเองถือว่าไม่ถูกต้อง

       ที่"Blank" บอกว่าแก้ไขงานแล้วให้อาจารย์ช่วยตรวจ อาจารย์นำมาอธิบายตรงนี้เพื่อให้คนอื่นเรียนรู้ไปด้วย ตามที่หนูแก้ไขหัวสมุดไปนั้น ภาพที่ใช้ยังไม่ถูกต้อง เพราะเป็นภาพที่เจาะจงไปที่เทคโนโลยีการศึกษา ถ้าเขียนเรื่องอื่นก็จะไม่เข้ากับหัวนี้ ต้องใช้ภาพที่ไม่เจาะจงเรื่องดังภาพตัวอย่างที่อาจารย์ให้ไว้ข้างบน อีกทั้งยังไม่มีภาพของเจ้าของบันทึกทั้งที่อาจารย์แสดงให้ดูอย่างชัดเจน ภาพที่นำมาประกอบบทความก็ไม่ได้อ้างอิงที่มา ถ้าเราไม่ได้ถ่ายเองต้องอ้างอิง (เป็นทั้งมารยาทและกฏหมาย)GotoKnow ย้ำเตือนเรื่องนี้เสมอว่า ถ้าไม่อ้างอิงจะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และถ้าถูกจับได้ก็จะมีการฟ้องร้องได้ ดูตัวอย่างการอ้างอิงที่มาของภาพดังภาพล่าง

      

      

  • ประกาศสำหรับนักศึกษา Section 02, 03, 04 ทุกคน
  • ให้ทุกคนติดตามอ่านบันทึกตามภาพและชื่อเรื่องข้างล่าง ที่อาจารย์จะสร้างภายในวันที่ 3 สิงหาคม อ่านแล้วให้ดำเนินกิจกรรมตามข้อกำหนด

  • คนที่ปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ถูกต้อง สมบูรณ์ ชัดเจน ได้แก่ 1) ชื่อที่ใช้ใน GotoKnow 2) ภาพและข้อมูลรหัสประจำตัวที่พิมพ์ลงในภาพ 3) ข้อมูลขั้นต้นที่กำหนดให้กรอกในประวัติ ให้เข้ามาอ่านได้ แต่ไม่อนุญาตให้แสดงหลักฐานโดยการให้ดอกไม้หรือแสดงความเห็นใดๆ ถ้ายังแสดงจะถูกลบและได้แต้มติดลบ

อาจารย์แม่ไปร่วมแห่เทียนพรรษาที่ทุ่งศรีเมืองหรือปล่าว...ดูขบวนแห่ใน TV ขบวนแห่สวยงามมาก...คิดถึงตอนอยู่อุบลฯนะ

ถ้าไปอุบลคราวหน้าจะพยายามไปเที่ยวผาชนะได ดูภาพแล้วสวยงามมาก..."ชนะได" แปลว่ากระไร........

  • ขอบคุณ "คุณหมอทิมดาบBlank" มากนะคะ ที่แวะมาให้กำลังใจ ขออภัยที่ตอบช้า แต่พักใหญ่ๆ ก็ได้เข้าเยี่ยมบันทึกอบอุ่นละเมียดละไมของคุณหมอมาค่ะ
  • ข้อมูลที่อาจารย์แม่นำมาลงก็ได้จากการค้นคว้าแหละค่ะ เพราะต้องการให้มีข้อมูลเชิงวิชาการอยู่ด้วย
  • อาจารย์แม่สบายดีค่ะ ขอบคุณมากนะคะ
  • ขอบคุณ "ป๋าเดBlank" มากค่ะที่แวะมาคุย แทบจะไม่ได้เที่ยวงานแห่เทียนเลยแหละค่ะ ไม่ต่างจากป๋าเดหรอก ส่วนใหญ่จะดูถ่ายทอดสดทาง TV แต่ปีนี้เหมือนไม่มี เพราะเสนอข่าว London Games 2012
  • เชื่อไหมคะ เหมือนใกล้เกลือกินด่าง อ.วิไปโขงเจียมบ่อยมากแต่ไม่เคยไปถึงผาชนะไดเลย เห็นสวยก็เลยนำมาลง เป็นการโปรโมทแหล่งท่องเที่ยวอุบล เกษียณแล้วจะหาโอกาสไปค่ะ ค้นจากวิกิพีเดียมีข้อมูลว่า "ผาชะนะได เป็นหน้าผาที่มีความสูงชัน ซึ่งเป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรกของประเทศไทย ทิวทัศน์เบื้องล่างจะเป็นแม่น้ำโขงกั้นแบ่งเขต ไทย - ลาว เบื้อง หน้าเป็นภูเขาแดนลาว ที่สลับซับซ้อนมองดูสวยงาม ฤดูหนาว นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับความสวยงามของทะเลหมอก เหนือลำน้ำโขง และด้วยเหตุที่เป็นจุดที่เห็นตะวันขึ้นเป็นจุดแรก การรายงานข่าวของสำนักข่าวแห่งประเทศไทยได้เอาเป็นจุดรายงานดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นแห่งแรกของประเทศ ผาชะนะได จะมีความหมายว่า การลงชื่อด้วยฝ่ามือ (ชะนะ เป็นคำเพี้ยนมาจากภาษาถิ่นโบราณ ว่า ซะนาม แปลว่าการลงชื่อ ส่วน คำว่าได แปลว่า มือ หรือ ฝ่ามือ ซึ่งจะปรากฏหลักฐานจากสถานที่ไกล้เคียง เช่น ถ้ำฝ่ามือแดง โหง่นแต้ม) ค่ะ

-ขอบคุณอาจารย์วิมากครับที่ให้ความรู้...แห่เทียนพรรษาอุบล TV ช่อง ๑๑ ถ่ายทอด....ผมติดงานเขียนมากจริงๆอยู่หลายเรื่องไม่ค่อยมีเวลาเขียน...เมื่อวานก็ไปแข่งวู้ดบอลที่สุโขทัย...ประเภททีมได้ที่ ๔ เลยไม่ได้รางวัล...แต่ส่วนตัวป๋าเดตีได้รางวัล Gate in One ได้ในประตูที่ ๑๑ Par ๓ (ตีครั้งเดียวเข้าประตู ถ้าเป็นก๊อล์ฟเรียกว่า Hole in One) เลยได้รางวัลกลับมา ๑๐๐ บาท ๕๕๕

ปัจจุบัน เทคโนโลยี เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต ถ้าใช้ในทางที่ถูกต้องก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ถ้าใช้ในทางที่ผิดก็จะทำให้เกิดโทษได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเราต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน

เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญมากกับการเรียนรู้

ผมว่าการใช้เทคโนโลยีมันจะจำเป็นมากในอนาคตถ้าเราไม่หัดใช้หัดเรียนรุ้เราก็คงจะเป็นคนล่าหลังล่าสมัยไปๆๆ..ในอนาคต.

ผมนายจักรพงษ์ บุญเทียมคิดว่าเทคโนโลยีก็มีทั้งด้านดีด้านเสียขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะใช้ให้เกิดประโยชน์หรือเกิดโทษ

เทคโนโลยี ปัจจุบันกายเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ไปแล้วก็ว่าได้ เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ในโลกปัจจุบันล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เทคโนโลยีเหล่านี้ หากใช้ในความพอดี ใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็มีคุณค่า และทำให้การใช้ชีวิตในปัจจุบันดูง่ายขึ้น แต่ถ้าหากว่ายึดติดกับสิ่งเหล่านี้จนเกินไปจนขาดไม่ได้ ในบางทีก็อาจจะเกิดโทษ และผลเสียตามมาอย่างแน่นอน

ปัจจุบัน เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราแต่เรานำเทคโนโลยีนั้นไปใช้ในทางที่ผิดมากกว่าทางที่ถูกต้องค่ะ

เทคโนโลยีมีประโยชน์มากมาย ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นจะนำมาใช้ในทางที่ดีหรือทางที่ผิด

ไม่มีอะไรยากถ้าคุณตั้งใจทำเทคโนโลยีฯก็ไม่ยากถ้าเราตั้งใจเรียนรู้ทำครั้งแรกผิดครั้งที่สองจะดีขึ้น

เทคโนโลยีมีทั้งคุณและโทษหนูคิดว่าถ้ารู้จักใช้ไห้เกิดประโยชน์มันก็จะเกิดคุณค่ามากมายค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท