รายงานการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2


กิจกรรมสร้างสรรค์ ทักษะทางคณิตศาสตร์
ชื่อเรื่อง       :    การใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน
                          ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ทะลบ อำเภอไชยปราการ
                          สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3
ชื่อผู้ศึกษา    :  นางอรวรรณ   หน่อคำ

ปีการศึกษา  :   2554

              การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ระหว่างการจัดประสบการณ์ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์     และเพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์    สำหรับ นักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ทะลบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่เขต 3  ในภาคเรียนที่ 2        ปีการศึกษา 2554 จำนวน 30 คน วิธีดำเนินการศึกษา คือ ทำการทดสอบ ด้วยแบบทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ จำนวน 25 ข้อ  ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนการจัดประสบการณ์พัฒนาทักษะคณิตศาสตร์        ชุดเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ และแบบทดสอบทักษะทางคณิตศาสตร์ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผล    การศึกษาพบว่า
              1. ผลการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ ระหว่างการจัดประสบการณ์  โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์  สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2  ในช่วง 10 สัปดาห์ การประเมินตามแผนการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์ในสัปดาห์แรกมีทักษะคณิตศาสตร์ 1.91 อยู่ในระดับพอใช้ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.98  จากนั้นระหว่างดำเนินการจัดกิจกรรม พบว่าเด็กมีพัฒนาการดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์ จนถึงสัปดาห์ที่10 เด็กมีทักษะคณิตศาสตร์ 2.96 อยู่ในระดับดี ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.62 แสดงว่า เด็กมีทักษะกระจาย  น้อยกว่าสัปดาห์แรก  ทำให้นักเรียนมีการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ดีขึ้น                 
              2. ผลการใช้กิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน         ชั้นอนุบาล ปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแม่ทะลบ ที่ได้จากการวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลัง  การจัดกิจกรรม ตามแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 5 ชุด คือ ชุดที่ 1 ด้านจำนวนและตัวเลข  ชุดที่ 2 ด้านการจัดประเภท ชุดที่ 3 ด้านการเปรียบเทียบ ชุดที่ 4 ด้านการเรียงลำดับ ชุดที่ 5 ด้านรูปทรงและขนาด พบว่า ก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 37.07 หลังการจัดกิจกรรม   มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 85.47 และความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ยร้อยละ 48.40  
หมายเลขบันทึก: 496288เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2012 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2012 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะแฟนน้องวิทยาสอนอนุบาลหรือคะเขียนมาเยอะๆนะคะพี่จะนำไปปรับใช้กับเด็กๆแต่พี่สอนอนุบาล๑ ค่ะ สอนมา๑๑ ปียังไม่ได้บรรจุเลยค่ะน้อง

ขอบคุณครับที่ติดตามอ่านผลงาน
ขอเป็นกำลังใจให้คุณพี่ได้บรรจุโดยเร็วไว
ความขยันและกำลังใจ เท่านั้นที่จะทำให้เราก้าวต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท