เด็กไทยเป็นเด็กด้อยโอกาสทั้งชาติ


การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องเน้นการงอกงามความรู้จากภายในตนของผู้เรียนไม่ใช่เน้นรับถ่ายทอดจากภายนอก.....................

 

          ย้ำนะครับว่าเด็กไทยทุกคนเป็นเด็กด้อยโอกาสและ "โอกาส" ที่ว่านั้นคือโอกาสในการพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพ

 

          ผมเกิดความคิดนี้จากการชมวิดีทัศน์ของสสค. เมื่อเช้าวันที่๒๖มิ.ย. ๕๕ในการสัมมนาวิชาการเรื่องการสังเคราะห์ชุดความรู้ด้านการปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศที่บอกว่าเด็กไทย๕ล้านคนเป็นเด็กด้อยโอกาส

 

          ผมเถียงในใจว่าไม่ใช่เพียงเด็กไทย๕ล้านคนเท่านั้นที่ด้อยโอกาสแต่ผมเห็นว่าเด็กไทยทุกคนเป็นเด็กด้อยโอกาสคือด้อยโอกาสที่จะพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพของตนเพราะระบบการศึกษาของประเทศไทยเดินผิดทาง

 

          ดร. ศุภชัยศรีสุชาติแห่งคณะเศรษฐศาสตร์มธ. วิทยากรในการประชุมบอกว่าพรบ. การศึกษาฯพ.ศ. ๒๕๔๒มาตรา๔ระบุว่า "กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้การฝึกการอบรมการสืบสานทางวัฒนธรรมการสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการการสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดการสภาพแวดล้อมสังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต"

 

          โปรดสังเกตว่าข้อความที่คัดลอกจากพรบ. ระบุการถ่ายทอดความรู้เป็นวิธีการแรกของกระบวนการเรียนรู้ซึ่งหลักการเรียนรู้แบบ 21st Century Learning และ Learning Pyramid บอกว่าไม่ใช่แต่ต้องเปลี่ยนไปเน้นการเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนลงมือทำ (Learning by Doing)   ไม่ใช่เน้นเรียนแบบรับถ่ายทอดความรู้จากครู

 

          การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องเน้นการงอกงามความรู้จากภายในตนของผู้เรียนไม่ใช่เน้นรับถ่ายทอดจากภายนอกโปรดดูภาพ Learning Pyramid นี้

 

          การงอกงามความรู้จากภายในตนทำโดยการลงมือปฏิบัติในกระบวนการที่เรียกว่าการเรียนแบบโครงงาน(Project-Based Learning, PBL)

 

          หลักฐานความอ่อนแอของระบบการศึกษาไทยคือผลการทดสอบ PISA ครั้งสุดท้ายคือปีค.ศ. 2009   คะแนนเฉลี่ยของนร. ไทยอยู่ในระดับ poor คือ 419 คะแนนเพียงร้อยละ 19.2 ได้คะแนนตั้งแต่ level 3 ขึ้นไปในขณะที่สิงคโปร์ฮ่องกงและเกาหลี (ใต้) นร. ที่ได้คะแนน level 3 ขึ้นไปร้อยละเกือบ 80

 

          ดังนั้นเวลานี้เด็กไทยทุกคนอยู่ในฐานะด้อยโอกาส (ในการเรียนรู้ฝึกฝนตนเองให้มีพัฒนาการเต็มศักยภาพ)   หรือกล่าวให้แรงคนไทยทุกคนตกอยู่ในสภาพด้อยโอกาสนี้เพราะคนเราทุกคนต้องเรียนรู้ตลอดชีวิตและระบบการเรียนรู้ของสังคมไทยเดินผิดทางคือมุ่งถ่ายทอดความรู้ด้วยการทำtraining   ต้องการให้ใครมีความรู้ก็จับมาเข้ารับการฝึกอบรมหรือรับการสอนเสียเงินมากมายแต่ได้ผลน้อยเพราะtraining มักจัดตามที่วิทยากรหรือผู้จัดการอบรมกำหนดซึ่งมักไม่ตรงกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรมผมได้ฟังคำบ่นเรื่องนี้ในวงการศึกษาจนชินชา

 

          จะเปลี่ยนให้เด็กไทยได้เรียนรู้เต็มศักยภาพของตนต้องเปลี่ยนวิธีจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยแบบหน้ามือเป็นหลังมือตามแนวทาง21st Century Learning ที่ระบุในหนังสือทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่๒๑และวิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่๒๑

 

          ผมเคยบันทึกเรื่องนี้ไว้ที่นี่

 

          คนที่มีลูกมีหลานควรเลือกโรงเรียนที่เปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปเป็นแนว21st Century Learning

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒ ๘มิ.ย. ๕๕

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 496056เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2012 13:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กรกฎาคม 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เด็กไทยเป็นเด็กด้อยโอกาสทั้งชาติ ==> อ่านแล้ว ไม่สบายใจเลยค่ะ ==> พัฒนาคน ==> พัฒนาที่ ==> คุณภาพการศึกษา

ปัญหาคือการถ่ายทอดความรู้แบบ training นั้น trainers มีรายได้เป็นกอบเป็นกำโดยเฉพาะการ training ของผู้ใหญ่ครับ ยิ่งกว่านั้นการจัด training ยังทำได้ง่ายกว่าแบบอื่นมากทำให้คนจัดการก็ชอบอีกด้วย

ตอนนี้ธุรกิจ training ในประเทศไทยใหญ่มากทีเดียวโดยมีผู้เกี่ยวข้องมากมาย ทั้งที่เกี่ยวข้องกับสถานศึกษาและที่ไม่ได้เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงไม่น่าจะทำได้ง่ายครับ

เห็นด้วยกับท่าน ดร.ธวัชชัย ครับ แล้วก็อยากจะขอเสริมว่านอกจากธุรกิจ trining ที่ดูเหมือนอิงไปทาง internal แล้วธุรกิจด้าน event organizer ก็เติบโตไม่แพ้กันครับ

อ้าว !!! ครูที่มีความรู้ความสามารถ ไปอยู่ที่ไหนกันหมดล่ะครับ ? นักวิชาการที่เถียงกันทุกวันว่า..กระผมเก่งครับ..กระผมเก่งกว่า..ทำไมไม่นำมารวมกันแล้วแก้ไขเสียล่ะครับ..วันไหนเป็น เอ-อี-ซี เต็มตัวสงสัย....จะแพ้เพื่อนบ้านบางปีเทศที่เคยคุยทับเขาไว้..

ผมขอรับผิดครับ..ขนาดตรวจทานแล้วยังผิดเลย..ดังนั้นอย่าทะนงตัว..ผมอยากบอกว่างบที่ประเทศไทยเสียไปมากก็เป็นเงินที่ต้องเจียดไปให้การศึกษากับผู้อพยพบ้าง รักษาพยาบาลผู้อพยพบ้าง..มนุษยธรรมก็เป็นเรื่องหนึ่งและทางยูเอ็นน่าจะช่วยเหลือมาให้แล้ว แต่ที่หมดงบนั้นเป็นเพราะอะไรคงต้องไปถามผู้ที่เกี่ยวข้องดู..เห็นหลายหน่วยงานพร้อมใจกันที่จะปราบคอรับชั่น..ไม่ทราบว่าปีไหนจึงจะปราบได้จริงจัง ? บางคนรวยมากกว่าและเพิ่งถูกยึดทรัพย์ไปนี่เอง..ทำไมรวยอยู่ได้ตั้งนาน..เผลอไปหน่อยเรื่องขายยาใน ร.พ.ก็เริ่มจะเงียบไปเหมือนกัน..อีกหน่อยนร.แพทย์ไทยก็คงจะด้อยกว่านร.ที่จบจากรร.หมอตำแยบ้านโนนเขียวเป็นแน่ !

เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในฐานะนักพัฒนาการศึกษาชื่นชมที่มีอาจารย์ผู้เป็นผู้ทรงคุณวุฒฺที่อุทิศตนทั้งแรงกายแรงใจ เพื่อเด็กไทยทุกคนการศึกษาจะพัฒนาได้ ถ้าทุกคนยอมรับการเปลี่ยนแปลงไป และร่วมมือทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดค่ะ

ในฐานะครูด้อยโอกาส ที่สอนโรงเรียนขยายโอกาส เด็กด้อยโอกาสจริงอย่างท่านว่า ในเมื่อท้องไม่อิ่มจะเอาสมองส่วนไหนไปคิดให้ตนเองเก่งและพัฒนา ก็ค่อย ๆ ทำกันไป เปลี่ยนโรงเรียนก็ไม่ได้ ซึ่งมันจะกระทบค่าใช้จ่ายผู้ปกครองซึ่งยากจนอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ไม่ได้อยู่กับพ่อ-แม่ มาเปลี่ยนที่ผู้ใช้หลักสูตรดีกว่าค่ะ พวกครู ๆ ทั้งหลายยอมรับว่าไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการสอน ได้วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญต่าง ๆ ก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าสอนดี สอนเก่ง เท่าที่รู้เก่งเอาตัวรอดแบบศรีธนญชัยไปวัน ๆ ผลงานก็จ้างมา ซื้อมา เดินชนกันทุกวัน ต่อให้เพิ่มเงินวิทยฐานะสูงกว่าแพทย์กว่าวิศวกรก็ไ่สามารถจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมครูพวกนี้ได้ ดิฉันก็ชักจะเสื่อมศรัทธาแล้วค่ะ

เป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท