Horei Vs. พรบ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481


กฎหมายขัดกันไทยและญี่ป่นว่าด้วยเรื่องเงื่อนไขของการสมรสและแบบแห่งการสมรสมีความคล้ายคลึงกันเนื่องมาจากเป็นประเทศที่ใช้ระบบประมวลกฎหมายเหมือนกัน

Article 13 (Requirements for effective marriage)

1 The requirements for and effective marriage shall be determined with regard to each party by the law of the country of which he or she is a national.

2 The formalities of the marriage shall be determined by the law of the place of marriage.

3 The formalities determined in accordance with the provisions of the law of the country of which either of the parties is a national shall also be effective despite the provisions under the preceding paragraph, provided that this shall not apply in case where the marriage takes place in Japan and one of the parties is a Japan national.

มาตรา 13 เงื่อนไขของการสมรส

1 เงื่อนไขสำหรับการสมรสที่สมบูรณ์เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่าย

2 แบบแห่งการสมรสเป็นไปตามกฎหมายแห่งประเทศที่ทำการสมรส

3 แบบแห่งการสมรสที่เป็นไปตามข้อตกลงตามกฎหมายของคู่กรณีแต่ละฝ่ายย่อมสมบูรณ์โดยไม่ต้องคำนึงถึง บทบัญญัติที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่เงื่อนไขนี้ไม่สามารถใช้บังคับได้ ในกรณีที่การแต่งงานได้จัดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นและคู่กรณีฝ่ายหนึ่งเป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น

จากบทบัญญัติมาตราดังกล่าวนี้ เป็นเรื่องเงื่อนไขของการสมรสนั้นจะมีความคล้ายคลึงกับ พรบ.ขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ. 2481 มาตรา 19 มาตรา 20

จากการเปรียบเทียบกฎหมายขัดกันระหว่างประเทศญี่ป่นและกฎหมายขัดกันของประเทศไทยนั้น  จะเห็นได้ว่า 

 เงื่อนไขของการสมรส  ตามกฎหมายขัดกันของไทย  ให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณี  (มาตรา 19)  ส่วนในเรื่องแบบแห่งการสมรสนั้นกฎหมายขัดกันของไทยได้กำหนดความสมบูรณ์ไว้เพียงว่า  ได้ทำถูกต้องตามแบบแห่งประเทศที่ทำการสมรสนั้น  (มาตรา 20) การสมรสนั้นๆก็จะเป็นการสมบูรณ์

เงื่อนไขของการสมรส  ตามกฎหมายขัดกันของญี่ปุ่น (Horei)   ในข้อแรก  เงื่นไขของการสมรสเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่ายเช่นกันตามกฎหมายขัดกันของไทย

ในข้อ 2 แบบแห่งการสมรสเป็นไปตามประเทศที่การสมรสได้ทำขึ้น  ก็เป็นไปเช่นเดียวกับกฎหมายขัดกันของไทยเช่นเดียวกัน

ในข้อที่ 3 จะเป็นข้อที่แตกต่างกับกฎหมายขัดกันของประเทศไทยซึ่งประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติดังนี้   ที่ให้ความสมบูรณ์ของแบบแห่งการสมรสเห็นไปตามกฎหมายแห่งสัญชาติของคู่กรณีแต่ละฝ่ายได้  แต่การนี้จะใช้ไม่ได้  ถ้าการสมรสได้เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น  หรือ  คู่กรณีฝ่ายใดฝ่านหนึ่ง  เป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น  

จากการเปรียบเทียบกฎหมายขัดกันของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยนั้นจะพบทั้งความเหมือนและความแตกต่างระหว่างกฎหมายทั้งสองประเทศ  ความเหือนกันที่เห็นได้ชัด คือ  การที่ให้ความสมบูรณ์แห่งเงื่อนไขในการสมรสเป็นไปตามกฎหมายสัญชาติซึ่งน่าจะมีความหมายว่าทั้งประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ใช้ระบบ Civil Law  นอกจากนี้ตามกฎหมายญี่ปุ่น  ได้รวมเรื่องเงื่อนไขของการสมรสและแบบแห่งการสมรสไว้ในข้อเดียวกัน  ส่วนของประเทศไทย  ทำการบัญญัติแยกออกจากกัน  และนอกจากนี้สิ่งที่กำหนดไว้ในกฎหมายขัดกันญี่ปุ่นที่ให้คู่กรณีสามารถกำหนดแบบแห่งการสมรสให้เป็นไปตามกฎหมายสัญชาติของตนเองได้นั้นก็ถือว่าสมบูรณ์  ซึ่งบทบัญญัติดังนี้  ไม่มีในกฎหมายขัดกันของไทย  แต่เจตนาดังนี้  จะไม่สามารถกระทำได้  ถ้าการสมรสเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น  หรือ  คู่กรณีฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นคนสัญชาติญี่ปุ่น  ดังนี้เป็นความแตกต่างระหว่างกฎหมายขัดกันของทั้งสองประเทศ

หมายเลขบันทึก: 49598เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 04:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมมีปัญหาสอบถามเพิ่มเตอม คือว่า ผมได้ยื่นฟ้องสามีซึ่งเป้นคนอังกฤษที่มาแต่งงานกับหญิงไทยในเมืองไทยแล้วทิ้งร้างกันเกิน 1ปี มีเหตุหย่าได้ตามกฎหมายไทย แต่ศาลท่านขอให้จัดส่งเอกสารที่แสดงว่าประเทศอังกฤษยอมรับว่าเหตุนั้นสามารถหย่ากันได้ประกอบการพิจารณา ผมไม่รู้จะไปหาที่ไหนรบกวนท่านผู้รู้ช่วยแจ้งบอกด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท