มลพิษทางอากาศในเอเชียและผลกระทบต่ออุณหภูมิและชั้นบรรยากาศโลก


โอโซน
มลพิษทางอากาศในเอเชียและผลกระทบต่ออุณหภูมิและชั้นบรรยากาศโลก                ศาสตราจารย์ ดร.พอลเจ ครุซเซน เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้แสดงให้เห็นว่าการเผาผลาญมวลชีวภาพเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศซึ่งมีผลกระทบร้ายแรงต่ออุณหภูมิในโลกและชั้นบรรยากาศ และเป็นผู้ริเริ่มศึกษาผลพวงทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากสงครามนิวเคลียร์           ศาสตราจารย์ ดร.พอลเจ ครุซเซน กล่าวถึง  โอโซน ซึ่งเป็นก๊าซที่อยู่ในชั้นสทาโทสเฟียร์ว่ามีความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตบนโลกมากที่สุด เนื่องจากเป็นก๊าซชนิดเดียวที่สามารถกรองรังสีอุตตร้าไวโอเบตในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 200-310 นาโนเมตร ซึ่งเป็นความยาวที่เป็นอันตรายต่อสภาพชีววิทยาของสิ่งมีชีวิต ถ้าปราศจากชั้นโอโซน สิ่งมีชีวิตจำนวนมากจะไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาได้ แต่ปัจจุบันเกิดช่องโหว่ในบรรยากาศชั้นสทราโทสเฟียร์หรือปรากฎการณ์การสูญเสียโอโซนจำนวนมากได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา บริเวณทวีปแอนทาร์ทิก ซึ่งห่างไกลจากศูนย์การอุตสาหกรรม จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมของมนุษย์สามารถลดปริมาณของโอโซน ได้มีการศึกษาวิจัยตรวจวัดสภาพบรรยากาศ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการณ์ รวมทั้งการใช้แบบจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ โดยความร่วมมือระหว่างนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้สามารถเข้าใจถึงกระบวนการทางกายภาพและเคมีของการเกิดช่องโห่วโอโซน ดังนั้นการเกิดช่องโหว่ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามนุษยชาติสามารถทำลายสิ่งแวดล้อมของโลกได้อย่างใหญ่หลวงในระดับที่ไม่อาจคาดการณ์ได้จึงควรมีการศึกษาวิจัยในเรื่องกระบวนการทางกายภาพและเคมีที่เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นสทราโทสเฟียร์ที่ได้รับอิทธิพลจากกิจกรรมของมนุษย์ต่อไป 
คำสำคัญ (Tags): #ima#it#rsu
หมายเลขบันทึก: 49591เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 21:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ได้รู้ถึง คำว่า โอโซน ว่าเป็นอย่างไร และมันมีหน้าที่อะไร 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท