พบปลัดพูดคุยแนวทางการพฒนาสิทธิ


ไปพบปลัดอำเภอที่ท่านมีหน้าที่ดูแลการทะเบียน

วันนี้ช่วงเช้าไปพบปลัดอำเภอที่ท่านมีหน้าที่ดูแลการทะเบียน(จริงๆแล้วปลัดท่านนี้ก็ดูแลเรื่องอื่นด้วยอย่างล่าสุดก็มีการเข้าไปดูแลข้อพิพาทระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ที่มีปัญหาโต้แย้งกันไปมา ทางราชการก็กล่าวหาว่าชาวบ้านบุกรุกป่า ทางชาวบ้านก็กล่าวหาว่าทางราชการรังแกชาวบ้าน ผลคือปลัดอำเภอต้องเข้าไปไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทอยู่เรื่อยๆ)เพื่อติดต่อประสานงานในการที่จะให้ชาวบ้านยื่นคำร้องพิสูจน์ความเป็นบิดาและบุตร สอบถามแนวปฏิบัติของอำเภอในเรื่องดังกล่าว

ปรากฎว่าปลัดอำเภอได้แนะนำให้หาพยานบุคคลมายืนยันความเป็นบิดาและบุตรเพิ่มด้วย  ตรงนี้เราเข้าใจว่าเป็นความต้องการของปลัดอำเภอที่ต้องการให้ข้อเท็จจริงมีความชัดเจนมากที่สุด(ทั้งที่มีหลักฐานการตรวจสารพันธุกรรมมายืนยันแล้ว?) แม้ว่าปลัดก็ดูมีแนวโน้มที่จะเชื่อหลักฐานการตรวจสารพันธุกรรม(DNA) ตามที่กล่าวอ้าง แต่ก็ยังยืนยันที่จะขอพยานบุคคลมายืนยันเพิ่มเติม

ด้วยเหตุนี้เอง จากข้อเท็จจริงตามที่พ่อของด.ญ.สอง(นามสมมติ)กล่าวอ้างนั้น (ข้อเท็จจริงในกรณีนี้สามารถดูได้ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/495224) พบว่าด.ญ.สองไปเกิดอยู่ที่ฝั่งพม่า และกล่าวว่าไม่มีพยานที่เป็นคนไทยพยานที่สามารถยืนยันการเกิดของด.ญ.สองได้เลย

อย่างไรก็ตาม การที่ด.ญ.สองมีบิดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสแม้จะไม่ได้สัญชาติไทยตามบิดาเพราะว่าน้องเกิดในระหว่างที่พระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ใช้บังคับ กล่าวคือ ในช่วงระยะเวลาระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ ถึงวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ (ด.ญ.สองเกิดปี ๒๕๔๖) แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ได้วางหลักการได้สัญชาติโดยการเกิดของบุคคลซึ่งรับรองสิทธิของด.ญ.สองมากขึ้น กล่าวคือ ด.ญ.สองย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดโดยผลของมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่๔)พ.ศ.๒๕๕๑ เพราะมีบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยแม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของด.ญ.สอง แต่ต้องพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทย ตามกฎกระทรวงกำหนดวิธีการและค่าธรรมเนียมคำขอพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยโดยผู้เกิด พ.ศ.๒๕๕๓

 ส่วนกรณีของด.ญ.หนึ่งนั้นจากคำกล่าวอ้างของผู้เป็นพ่อ พบว่าเกิดในไทยและรับปากว่าจะไปหาพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมาพูดคุยกันอีกครั้ง

ในส่วนของน้องซันเมี๊ยไมทา (ข้อเท็จจริงจากคำบอกเล่าของบิดาน้องซันเมี๊ยไมทา สามารถดูได้ที่ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/495341) ยังคงต้องปรึกษากับอาจารย์ก่อนว่ามีประเด็นปัญหาที่น้องเกิดในศูนย์ผู้อพยพ ตรงนี้จะส่งผลอย่างไรหรือไม่ 

 


หมายเลขบันทึก: 495458เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2012 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012 00:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ถ้าพยานหลักฐานพร้อมแล้ว ก็ยื่นคำร้องซิคะ และถ้าอำเภอไม่อนุมัติคำร้อง ก็อุทธรณ์ แล้วฟ้องคดีต่อศาลปกครอง การอ้างพยานหลักฐานเป็นไปตามกฎหมาย มิใช่อำเภอใจของปลัดอำเภอ ปัญหา ก็คือ พยานหลักฐานพร้อมสำหรับสนับสนุนทุกข้อเท็จจริงอันก่อตั้งสิทธิไหมคะ

๑.บันทักนี้เป็นการรวบรวมข้อเท็จจริงของน้องหนึ่ง และน้องสอง? หรือเป็นการวิเคราะห์สถานะของน้องทั้งสองคน?

๒.ข้อเท็จจริงครบถ้วนหรือยังคะ? คุณพ่อมีสถานะคนสัญชาติไทยในขณะที่น้องเกิดรึเปล่าคะ ต้องดูข้อเท็จจริงของคุณปู่คุณย่าด้วยมั๊ย?

๓.มีพยานหลักฐานครบถ้วนมั๊ยคะ พยานเอกสารที่ระบุว่าคุณพ่อมีสัญชาติไทย พยานเอกสารของน้องทั้งสองคน ของแม่

๔.เห็นผลตรวจดีเอ็นเอแล้วในนั้นระบุว่าอย่างไร มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นบิดา-บุตร กี่เปอร์เซ็นต์คะ?

๕.ที่อำเภอเรียกพยานเพิ่มนั้นจะมาพิสูจน์ในประเด็นอะไร?

๖. ดูข้อ ๕ วรรคสาม ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ แบบคำขอ แบบหนังสือรับรอง และวิธีการสอบสวนเพื่อพิสูจน์ความเป็นบิดาซึ่งมีสัญชาติไทยของผู้เกิดเพื่อการได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ลงวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๔ ที่วางหลักว่า "กรณีผู้ขอมีหลักฐานการตรวจสารพันธุกรรม(DNA) หรือหลักฐานการตรวจทางวิทยาศาสตร์ซึ่งพิสูจน์ว่าบิดาและผู้เกิดเป็นบิดาและบุตรกัน ให้ยกเว้นการสอบสวนพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ"

http://www.pikarnpanya.tht.in/images/Legal_provision5_07.pdf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท