chacha2907
ฝ่ายอำนวยการ สพจ.ปทุมธานี CDD Pathum thani

การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การวัดความสุขมวลรวม


การวัดความสุขมวลรวม,เศรษฐกิจพอเพียง,หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อ : นางสาวอทิติ ศิลาณรงค์
ตำแหน่ง : นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ
สังกัด : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้สะดวก : 08-3909-6161

บ้านทางยาว หมู่ที่ ๘ ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่น และมีการขับเคลื่อนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ โดยการประเมินความ “อยู่เย็น เป็นสุข” ของหมู่บ้าน หรือความสุขมวลรวมของหมู่บ้าน เป็นการวัดคุณค่าของการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่สะท้อนเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา และสามารถพิจารณาเชื่อมโยงถึงวิธีการต่าง ๆ ที่จัดทำเพื่อให้ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายความ “อยู่เย็น เป็นสุข” ในหมู่บ้านด้วย โดยดัชนีวัดความอยู่เย็น เป็นสุขสามารถประเมินได้ทั้งในระดับหมู่บ้าน ระดับครอบครัวและระดับบุคคล

ขุมความรู้ ๑. เกิดกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนให้เข้าใจหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง และนำไปเป็นรากฐานในการดำเนินชีวิตเป็นชุมชนต้นแบบ
๒. เป็นหมู่บ้านต้นแบบที่สามารถพัฒนาตนเอง ได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็น เป็นสุข ระดับตำบล /ระดับอำเภอ และเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้


แก่นความรู้ ให้คนในชุมชนรับทราบระดับความรู้สึกพึงพอใจ สบายใจ ไม่กังวลในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในชุมชนตามองค์ประกอบของตัวชี้วัดความ “อยู่เย็น เป็นสุข” หรือความสุขมวลรวมชุมชน พิจารณาระดับความพึงพอใจ รวมค่าทุกองค์ประกอบ ดำเนินการโดยการจัดประชุมตัวแทนชุมชน ตัวแทนครัวเรือน โดยมีวิธีการ
๑. ใช้การประเมินชุมชนแบบมีส่วนร่วม โดยการจัดประชุมประชาคมในชุมชน และผู้เข้าร่วมสามารถเป็นตัวแทนครัวเรือนและชุมชนได้
๒. ผู้เข้าร่วมประชุมทำความเข้าใจในองค์ประกอบของดัชนีวัดความสุขแต่ละองค์ประกอบ
๓. เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนหรือผู้นำการประชุม ผู้ทำหน้าที่เอื้ออำนวยการประชุมดำเนินการประชุมโดยอธิบาย ทำความเข้าใจวิธีการประเมินและ ช่วยให้ที่ประชุมประเมินสำเร็จ

๔. การให้คะแนนระดับความสุข จุดเป็น ๕ ระดับคะแนน (๑ คะแนน ความสุขน้อยที่สุด ถึง ๕ คะแนน ความสุขมากที่สุด) แบ่งเป็น ๖ ด้าน คือ
4.1 การมีสุขภาวะ
4.2 การเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็ง
4.3 ครอบครัวอบอุ่น
4.4 ชุมชนเข้มแข็ง
4.5 สภาพแวดล้อมดี มีระบบนิเวศที่สมดุล
4.6 เป็นชุมชนประชาธิปไตย

แนวคิด พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2537 “ ความสุขในครอบครัว และสุขภาพอนามัยที่ดี คือหัวใจสำคัญของความมั่นคงของมนุษย์” ส่วน องค์ประกอบอื่น ๆ เป็นส่วนที่ช่วยเสริม หรือเพิ่มเติมให้มนุษย์มีความมั่นคง หรือมีความสุขมากขึ้นเท่านั้น คือ“.....ถ้าหากว่าประชาชนในประเทศใดมี ความสุข มีความอยู่เย็นเป็นสุข คือมีความเป็นอยู่ที่สบายก็หมายความว่าประเทศนั้นมีความมั่นคง ภูมิภาคไหนที่ประเทศที่มีความมั่นคงอย่างนี้ เป็นภูมิภาค ที่มีกำลังแข็งแรง...”

หมายเลขบันทึก: 495340เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 17:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดัชนีความสุข วัดจาก ความพอเพียง พอใจ ไม่มีหนี้สิน ครอบคร้วไม่ทะเลาะกันแบบรุ่นแรงนะคะ

ความสุขจริงๆๆคือ ใจเป็นสุข ไม่อยากมากเกินตัว ไม่โลภมากเกินไป ไม่ทำอาชีพ ผิดกฎหมาย ความสุขภาพรวม "ความสุขมวลรวม" ก็ไม่ต่างจากความสุขนี้นะคะ เพราะ ครอบครัว เป็นหน่วยย่อยของสังคม

ขอบคุณ บทความดีดีนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท