งาน Legal Aid ครั้งแรก


เป็นครั้งแรกที่พูดคุยกับกรณีปัญหาจริงๆ รู้สึกตื่นเต้นและประหม่า พยายามตั้งสติและสอบถามข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด

วันนี้มีกรณีผู้ประสบปัญหาสถานะบุคคลเร่งด่วนเข้ามา ข้อเท็จจริงสามารถสรุปได้ว่า

ด.ญ.ดาวพระศุกร์เกิดที่โรงพยาบาลในประเทศไทยประมาณปี 2543 บิดาชื่อนายอนันต์ วังพลับ ซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่มารดาชื่อนางมะเด๋อ เป็นผู้ไม่ปรากฎสัญชาติ(อยู่ฝั่งประเทศพม่า) ทั้งสองคนอยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสซึ่งโดยหลักแล้วด.ญ.ดาวพระศุกร์ได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดนตามมาตรา 7 (2) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติพ.ศ.2508 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสัญชาติ(ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 แต่ในการออกหนังสือรับรองการเกิด(ท.ร.1/1 ตอนที่ 2) ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลได้ระบุชื่อตรงช่องชื่อมารดา ว่า "บุตรนางมะเด๋อ" ทางตัวนายอนันต์ บิดาของเด็กเองก็ไม่ไ้ด้ขอแก้ไขและไม่ได้ไปแจ้งการเกิดด.ญ.ดาวพระศุกร์ที่อำเภอจนถึงปัจจุบันนี้

ในช่วงที่ด.ญ.ดาวพระศุกร์เข้าศึกษาในโรงเรียนใกล้ๆบ้าน (โรงเรีนสามัคคีวิทยา) จึงได้รับการสำรวจบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ถือบัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนขึ้นต้นด้วยเลข 0

กรณีต่อมาเป็นกรณีที่เกี่ยวข้องกันกล่าวคือ ด.ญ.ฝ้ายซึ่งเป็นน้องสาวของด.ญ.ดาวพระศุกร์(โดยเกิดจากบิดาและมารดาคนเดียวกัน) ข้อเท็จจริงต่อเนื่องกันคือหลังจากที่คลอดด.ญ.ฝ้ายได้ไม่นาน นายอนันต์ได้เดินทางไปทำงานที่กรุงเทพ นางมะเด๋อจึงพาด.ญ.ดาวพระศุกร์ข้ามฝั่งกลับไปอยู่ที่ประเทศพม่าโดยไม่รู้ว่าตนเองได้ตั้งครรภ์บุตรอีกคนหนึ่งกับนายอนันต์ เมื่อครบอายุครรภ์นางมะเด๋อจึงคลอดด.ญ.ฝ้ายที่ฝั่งพม่า ซึ่งแน่นอนว่านางมะเด๋อไม่ได้แจ้งการเกิดของด.ญ.ฝ้ายทั้งในประเทศไทยและประเทศพม่า ต่อมานายอนันต์กลับมาจากการทำงานที่กรุงเทพจึงข้ามฝั่งไปรับนางมะเด๋อพร้อมกับบุตรทั้งสองคนกลับมาอยู่ด้วยกันที่ฝั่งประเทศไทยและอยู่ด้วยกันพร้อมหน้าอีกครั้งหนึ่ง

ผ่านมาระยะหนึ่งนางนางมะเด๋อได้ให้กำเนิดบุตรชายอีกหนึ่งคน ตั้งชื่อว่าด.ช.กฤษฎา วังพลับคราวนี้นายอนันต์ได้ดำเนินการแจ้งการเกิดและเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน(ท.ร.14)ให้แก่ด.ช.กฤษฎาในที่สุดด.ช.กฤษฎาได้รับการเพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านและมีเลขประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยเลข 1

กลับมาที่ด.ญ.หนึ่งและด.ญ.สอง หลังจากที่นายสมชายและนางสมหญิงได้รู้ถึงปัญหาและสิทธิสถานะบุคคลของบุตรทั้งสองของตนเองแล้วจึงได้มาปรึกษาปัญหาดังกล่าวที่คลินิกกฎหมายอุ้มผางซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้แนะนำให้ไปตรวจเลือดและดีเอ็นเอเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความเป็นบุตรและบิดากันจริง ทั้งนี้เนื่องจากเหตุที่ด.ญ.สองเกิดที่ฝั่งประเทศพม่าทำให้มีแต่พยานบุคคลที่เป็นชาวพม่ารู้เห็นการเกิดของด.ญ.สอง การตรวจดีเอ็นเอจึงน่าจะเป็นพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือและผลการตรวจเลือดและดีเอ็นเอนั้นแพทย์ผู้ตรวจได้ให้ความเห็นว่า เชื่อว่าเด็กทั้งสองคนเป็นบุตรของนายสมชายจริง

หลังจากที่พบนายสมชายแล้วจึงได้แนะนำให้นายสมชายลองหาพยานบุคคลที่สามารถยืนยันและรับรองการเป็นบิดาและบุตรทั้งสองอีกครั้งเนื่องจากยังไม่แน่ใจว่าทางปฏิบัติแล้วทางอำเภอจะมีแนวโน้มเชื่อผลตรวจเลือดและดีเอ็นเอหรือว่าต้องการพยานบุคคลมาสอบสวนเพิ่มเติมอีก นอกจากนี้ยังมีพยานเอกสารบางอย่าง เช่น หลักฐานการศึกษา ที่ยังขาดไปจึงให้นายสมชายกลับไปรวบรวมอีกครั้ง แล้วค่อยนัดพบกันอีกครั้ง

เป็นครั้งแรกที่พูดคุยกับกรณีปัญหาจริงๆ รู้สึกตื่นเต้นและประหม่า พยายามตั้งสติและสอบถามข้อเท็จจริงให้ได้มากที่สุด


คำสำคัญ (Tags): #ค
หมายเลขบันทึก: 495224เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2012 18:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2012 18:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คำถามแรกที่คิดว่า โจ้งควรจะต้องตอบ อ.แหววก็คือ ทำไมในกรณีนี้จะต้องใช้ชื่อสมมติ ? การใช้ชื่อจริงเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อเคส ? หากเป็นคุณ ก็ควรใช้ชื่อจริง ? หากเป็นโทษ ก็คงใช้ชื่อจริงไม่ได้ ?

คำถามที่สอง เป็นคำถามไปยัง อ.ด๋าวและ อ.ไหม ซึ่งเป็นผู้ฝึกอบรมโจ้งว่า มีการแลกเปลี่ยนประเด็นในการบันทึกข้อเท็จจริงของเคสในเรื่องชื่อไหมคะ ?

คำถามที่สาม ในการบันทึกของโจ้งนั้น เป็นหน้าที่ของ อ.ด๋าวหรือ อ.ไหมคะที่จะต้องมาแลกเปลี่ยนประเด็น (๑) ข้อกฎหมาย และ (๒) Work Process กับโจ้งคะ โปรดบอก อ.แหววหน่อย ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาของการทำงาน ก็น่าจะทราบนะคะ

ในประการสุดท้าย ขอขอบคุณโจ้งที่ทำให้นักศึกษาในห้องเรียนคดีบุคคลที่ธรรมศาสตร์รังสิตจะได้เรียนรู้เรื่องจริงจากประสบการณ์การทำงานวิชาชีพกฎหมายของโจ้งด้วยค่ะ

ในประการต่อมา โดยไม่ต้องรอให้ อ.ด๋าวหรือ อ.ไหมมาแลกเปลี่ยนความรู้ในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย อ.แหววอยากให้โจ้งช่วยทบทวนข้อกฎหมายสัญชาติหน่อยค่ะว่า หากบุคคลเกิดใน พ.ศ.๒๕๔๓ แล้ว กฎหมายที่มีผลกำหนดสิทธิในสัญชาติไทยของเขาควรจะเป็นกฎหมายใดบ้างคะ ??? จำเป็นนะคะที่จะต้องทบทวนสมองตรงนี้

มีความเห็นต่องานเขียนชิ้นแรก ดังนี้ค่ะ

๑. การตั้งชื่องานในครั้งต่อๆไป : เนื่องจากเป็นงาน Legal Aid ควรตั้งชื่อบันทึกตามกรณีศึกษา และใช้ชื่อเคสตั้งเป็น "คำสำคัญ/keyword" เพื่อความสะดวกในการสืบค้นค่ะ

๒. ถ้าได้รับสำเนาเอกสารแล้วเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆด้วยนะคะ เช่น เลข ๑๓ หลัก ให้ ๓ หลักสุดท้ายเป็น xxx ค่ะ

๓. ข้อเท็จจริงของคุณพ่อ : ในขณะที่ลูกเกิดนั้นคุณพ่อมีสัญชาติไทยมั๊ยคะ?, ปู่ย่ามีสัญชาติไทยมั๊ย? เพื่อมาวิเคราะห์สถานะคุณลูกในขณะเกิดค่ะ 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท