บันทึกการเรียน 07/07/2555


บันทึกการเรียน 07/07/2555 ...ชีวนิเวศ (BIOME)

ชีวนิเวศ  (BIOME)
บทบาทหน้าที่ทางนิเวศวิทยา (Niche) เกี่ยวข้องกับ
- สถานที่ (place) 
- พื้นที่ (space)
- บทบาทหน้าที่ (role) ของสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ ดังนั้นระบบนิเวศของแต่ละพื้นที่จึงมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับการแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต
การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิต
1.ความสามารถในการแพร่กระจาย
2.ความสามารถในการทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น ๆ
3.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตนั้นกับสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันมักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทำให้เกิดความขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีวิต จึงมีการแพร่กระจายสู่แหล่งอื่น แบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ
1.Physical barrier เช่น พื้นดิน เกาะ ภูเขา พื้นน้ำ ทะเลทราย ทะเล 
2.Climatic barrier เช่น อุณหภูมิ แสง ความชื้น แรงกดดัน
3.Biological barrier เช่น อาหาร ศัตรู โรค การแก่งแย่งแข่งขัน
วิธีการแพร่กระจาย
1.มีสิ่งพาไปเช่น ลม น้ำ สัตว์ต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
2.
การเคลื่อนที่ไปด้วยตัวเอง และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์
ประเภทของการแพร่กระจาย
1.การแพร่กระจายตามภูมิศาสตร์
2.การแพร่กระจายทางนิเวศวิทยา
3.การแพร่กระจายทางธรณีวิทยา
BIOME แบ่งตามโครงสร้างของกลุ่มสิ่งมีชีวิต แบ่งได้เป็น
1.ชีวนิเวศบนบก (Terrestrial)
2.ชีวนิเวศในน้ำ (Aquatic)
    2.1 ชีวนิเวศน้ำจืด (freshwater)
    2.2 ชีวนิเวศน้ำเค็ม (marine)
ปัจจัยที่เกิดชีวนิเวศ
-การกระจายความร้อนของดวงอาทิตย์และการเกิดฤดูกาลในส่วนต่าง ๆ ของโลก
-การไหลเวียนของอากาศบนผิวโลก โดยเฉพาะลมมรสุม
-สภาพทางภูมิศาสตร์ของผิวโลก เช่น ภูเขา
การกำหนดโครงสร้างกลุ่มของพืชจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและปริมาณน้ำฝน
ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงเป็นตัวกำหนดลักษณะการกระจายของพืชพรรณ
แบ่งชีวนิเวศบนบกได้เป็น
1.ป่าไม้เขตร้อน
2.ป่าผลัดใบเขตอบอุ่น
3.ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
4.ทุ่งหญ้า (มีลักษณะคล้ายซาวันน่า)
5.ซาวันน่า
6.ทะเลทราย
7.ไทก้า
8.ทุนดรา

การจัดจำแนกและการแพร่กระจายในแหล่งน้ำ
แหล่งน้ำจืด (Fresh water biomes)
-ทะเลสาบ (lake)
-แม่น้ำลำธาร (stream)
แหล่งน้ำเค็ม (Marine biomes)
-พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland)
-พื้นที่น้ำกร่อย (estuary)
-เขตท้องทะเล (marine zone)
การแพร่กระจายของสิ่งมีชีวิตในน้ำ
-อุณหภูมิและความชื้นมีการเปลี่ยนแปลงน้อย จึงมีความสำคัญน้อย
-ระดับความลึกที่แสงส่องถึง
-องค์ประกอบทางเคมีของแหล่งน้ำ (salinity, nutrient availability)
-การเคลื่อนไหวของน้ำ (constant/seasonal)
ระบบนิเวศน้ำจืด (Freshwater Ecosystems)
-มีโอกาสเสียสมดุลง่ายกว่าท้องทะเล
-อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าทะเล
แหล่งน้ำจืด แบ่งเป็น
-แหล่งน้ำนิ่ง (Lentic) เช่น ทะเลสาบ บึง หนอง ปลัก
-แหล่งน้ำไหล (Lotic) เช่น แม่น้ำ (Rivers)  น้ำตก (Streams)
ระบบนิเวศน้ำเค็ม (Marine Ecosystem)
-ครอบคลุมพื้นที่กว่า 71% ของผิวโลก
-เป็นแหล่งสำรองคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสง
-เป็นที่อยู่ของพืชและสัตว์
-เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์
มหาสมุทรมี 2 Life zones หลักคือ
1.Open sea
2.Coastal zone
Intertidal zone

ที่มา : http://dc179.4shared.com/doc/1utPmRoU/preview.html 

หมายเลขบันทึก: 494942เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012 02:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กรกฎาคม 2012 02:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท