เค้าโครงความคิดเพื่อพัฒนาหนังสือกฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณสื่อสารมวลชน สำหรับนักศึกษานิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน และ สาขาที่เกี่ยวข้อง


เพื่อทำให้ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ เข้าใจทั้ง (๑) แนวคิดพื้นฐานด้านกฎหมายและกฎหมายสื่อสารมวลชน" (๒) เข้าใจ "ระบบกฎหมาย" ด้านสื่อสารมวลชน (๓) เข้าใจในเนื้อหาสาระทางกฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณสื่อสารมวลชน และ (๔) สามารถเลือกใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณี สามารถปรับใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง จึงได้ลองยกร่างและนำเสนอเกี่ยวกับ "เค้าโครงของหนังสือทั้งเล่ม"

เป็นเอกสารตามแนวคิดที่ได้ยกร่างขึ้นหลังจากที่ได้มีการประชุมร่วมกับคณะทำงานเพื่อจัดทำหนังสือกฎหมาย จริยธรรมสื่อสารมวลชน ของสำนักข่าวอิศรา โดย อ.อังธิดา ลิมปัทม์ธานี ได้กรุณาแนะนำผมกับทางศูนย์ข่าวอิศราเพื่อให้มาร่วมเป็นคณะทำงานในการจัดทำหนังสือคู่มือการเรียนการสอนกฎหมาย จริยธรรม สื่อสารมวลชน สำหรับนักศึกษาในระดับปริญญาตรี

อันที่จริงแล้ว ในส่วนของ อาจารย์อิทธิพล ที่ได้รับการทาบทามให้มาช่วยเขียนหนังสือในครั้งนี้ คือ เรื่อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์

ก่อนที่จะนำเสนอเค้าโครงความคิดในส่วนของเนื้อหาที่รับผิดชอบข้างต้น เพื่อทำให้ตนเองเกิดความชัดเจนในการเขียนรายละเอียดของเนื้อหาในเรื่องของการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหาสื่อ ผู้เขียนจึงลองนำเสนอเค้าโครงความคิดเพื่อใช้เป็นจุดตั้งต้นในการอธิบายภาพรวมของ "แนวคิดพื้นฐาน"ของหนังสือเล่มนี้เสียก่อนเพื่อที่จะทำให้สามารถมองเห็นระบบกฎหมายของเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ ประกอบกับ กลุ่มเป้หมายที่จะใช้หนังสือเล่มนี้ คือ นักศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์ หรือ สื่อสารมวลชน หรือ สาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแน่นอนว่า นักศึกษาเหล่านี้ไม่ได้เรียนในรายวิชากฎหมายพื้นฐาน และ ไม่มีพื้นฐานความรู้ในทางนิติศาสตร์ รวมถึง อาจารย์ผู้สอนในรายวิชานี้ ซึ่งเป็นไปได้ว่า จะไม่ได้สำเร็จการศึกษาจากคณะนิติศาสตร์

ดังนั้น เพื่อทำให้ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ เข้าใจทั้ง () แนวคิดพื้นฐานด้านกฎหมายและกฎหมายสื่อสารมวลชน" () เข้าใจ "ระบบกฎหมาย" ด้านสื่อสารมวลชน () เข้าใจในเนื้อหาสาระทางกฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณสื่อสารมวลชน และ () สามารถเลือกใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณี สามารถปรับใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้อง จึงได้ลองยกร่างและนำเสนอเกี่ยวกับ "เค้าโครงของหนังสือทั้งเล่ม"

หลังจากนั้นจึงค่อยลงไปในรายละเอียดของเนื้อหาในส่วนของการจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหารายการโทรทัศน์ และ รวมถึง การจัดระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ เกมคอมพิวเตอร์ และ อินเทอร์เน็ต

ทบทวนเรื่องเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์จากการใช้หนังสือ

() เข้าใจแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและแนวคิดพื้นฐานในการจัดระบบกฎหมายด้านสื่อสารมวลชน

() เข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับจริยธรรม จรรยาบรรณสื่อสารมวลชน

() สามารถเลือกและปรับใช้กฎหมายที่ถูกต้องกับปัญหาข้อเท็จจริงในแต่ละเรื่องได้

() สามารถวิเคราะห์และพิจารณาต่อกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นจากปัญหาช่องว่างของกฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณ วิชาชีพสื่อสารมวลชน

ข้อเสนอเกี่ยวกับเค้าโครงของหนังสือเพื่อบรรลุถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้

ภาค ๑ บททั่วไป ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ กฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพสื่อสารมวลชน

ภาค ๒ ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายและนิติวิธี

ภาค ๓ บทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ภาค ๔ จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาขีพสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวข้อง

ภาค ๕ การจัดการปัญหาช่องว่างทางกฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ

รายละเอียดในแต่ละภาค

ภาค ๑ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ

() นิยาม ความหมายของกฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ

() ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

. บ่อเกิดของกฎหมาย : แนวคิดของสำนักกฎหมาย ทฤษฎีกฎหมายสามชั้น การเกิดขึ้นและคลี่คลายตัวของกฎหมาย

. ลักษณะ ประเภทและลำดับศักดิ์ของกฎหมาย

. หลักความยุติธรรม

() การเกิดขึ้นและคลี่คลายตัวของกฎหมาย จริยธรรม และจรรยาบรรณสื่อสารมวลชน

ภาคสอง หลักกฎหมายทั่วไปและนิติวิธี

. หลักกฎหมายทั่วไป

.. หลักกฎหมายอาญาเบื้องต้น

.. หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

.. หลักกฎหมายปกครองเบื้องต้น

. นิติวิธีและการบังคับใช้กฎหมาย

.. หลักการตีความกฎหมาย

.. หลักกฎหมายปิดปาก

.. ภาระการพิสูจน์ในกฎหมายวิธีพิจารณา

.. ข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย

ภาคสาม บทบัญญัติทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อสารมวลชน

() แนวคิดพื้นฐานในการจัดระบบกฎหมายด้านสื่อสารมวลชน

() แนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายกับเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร และ สื่อสารมวลชน

() กฎหมายที่มีผลต่อการคุ้มครองสื่อมวลชน และ คุ้มครองผู้รับสาร

. การคุ้มครองเสรีภาพ ชื่อเสียง และความเป็นส่วนตัว

. กฎหมายที่มีผลต่อการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา

. กฎหมายที่มีผลต่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

. กฎหมายที่มีผลต่อการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร

. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

() กฎหมายที่มีผลต่อการกำกับดูแลด้านเนื้อหาสื่อ

() กฎหมายที่มีผลต่อการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชน

() กฎหมายที่มีผลต่อการส่งเสริมการพัฒนาสื่อ

() ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้กฎหมาย

ภาคสี่ จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพสื่อสารมวลชน

() แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพสื่อสารมวลชน

() จริยธรรม และ จรรยาบรรณ (หนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ โฆษณา)

() ปัญหาการบังคับให้เป็นไปตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

ภาค ๕ แนวทางในการจัดการปัญหาช่องว่างทางกฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณวิชาชีพ

() อะไรคือปัญหาช่องว่างทางกฎหมาย จริยธรรม และ จรรยาบรรณด้านสื่อสารมวลชนที่เกิดขึ้น

() ตัวอย่างกรณีศึกษาการจัดการอุดช่องว่างของปัญหา

บทส่งท้าย เพื่อเตรียมความคิด และเตรียมตัว

ข้อท้าทายในยุคเครือข่ายสังคมออนไลน์ e-journalist  


หมายเลขบันทึก: 494911เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 21:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2012 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท