AR


 

นวัตกรรมแผ่นพับ มิติกับการศึกษาในยุค 2012

นาย วรวัชร  วงศ์ปัญญา

นิสิตปริญญาโทชั้นปีที่ 2

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

ถ้าพูดถึงแผ่นพับส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า จะมีลักษณะเป็นเอกสารเอกสารที่เย็บเป็นเล่มบางๆและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน"แผ่นพับ" สามารถพับ ได้ 3 - 6 หน้า แต่ในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมาสู่ยุคสมัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องทำให้มีการคิดค้นวิธีการใหม่โดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย จึงได้นำ แผ่นพับ” ดังกล่าว ด้วยการนำเอา แผ่นพับ เหล่านั้นมามาประยุกต์เป็นภาพ  3 มิติ ด้วโปรแกรมAR หรือ Augmented Reality เป็นการพัฒนาสื่อแผ่นพับให้มีความหน้าสนใจมากขึ้นเพื่อพัฒนาไปสู่นวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อ แผ่นพับ 3 มิติ

แผ่นผับหรือโปรชัวร์ (Brochures)

แผ่นพับ” มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Folder(s) แต่นิยมเรียกว่า โร์ชัวร์(Brochure) ซึ่งหมายถึง เอกสารที่เย็บเป็นเล่มบางๆและมีลักษณะคล้ายคลึงกัน"แผ่นพับ" สามารถพับ ได้ 3 - 6 หน้า (หน้า - หลัง) แต่นิยมใช้จะกระดาษ A4 พับเป็น 3 ตอน 6หน้ามากที่สุดเนื่องจากสะดวก และประหยัด เมื่อพับจะมีขนาดเล็ก พกพาได้สะดวก รวมทั้งแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนได้โดยไม่ต้องมีเลขหน้า

แผนผับ เป็นสื่อประเภทสื่อสิ่งพิมพ์มีข้อความที่จำกัดมีขนาดเล็กหยิกหยับได้สนุกเหมาะสมเหมาะกับคนทุกกลุ่มเป็นสื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มรับรู้ถึงสาเหตุผลดีผลเสียของสื่อที่ต้องการประชาสมพันธ์ให้เข้าใจและปฏิบัติตามนั้นเองแต่สื่อประเภทนี้ก็มีข้อเสียเหมือนกันคือไม่มีความคงทนอาจ จะฉีกได้ง่าย และยังมีเนื้อหาที่จำกัดและรายละเอียดเมื่อเทียบกับสื่ออื่นๆ

 

AR หรือ Augmented Reality

  เทคโนโลยี AR ได้เริ่มมีการคิดค้นมาตั้งแต่ปี .. 2004 ปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริงถูกนำมาใช้กับธุรกิจต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนมาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีภาพผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ และแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้ใช้สามารถนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาใช้กับการทำงานแบบออนไลน์ที่สามารถโต้ตอบได้ทันทีระหว่างผู้ใช้กับสินค้าหรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมแบบเสมือนจริงของโมเดลแบบสามมิติ ที่มีมุมมอง 360 องศา โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปสถานที่จริง

 

 

 

แนวคิดหลักของเทคนิค AR 

คือการพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Reality) และความเสมือนจริง (Virtual) เข้าด้วยกัน ผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น Webcam, Computer, Cloud Computing หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์บน Monitor, บนProjector หรือบนอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้ชมได้ทันที อาจมีลักษณะทั้งที่เป็นภาพนิ่งสามมิติ, ภาพเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็นสื่อที่มีเสียงประกอบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบว่าให้ออกมาแบบใด พื้นฐานหลักของ AR ที่ยอดเยี่ยมจำเป็นที่ต้องรวบรวมหลักการของ Motion Detection, Beat Detection และ Voice Recognize and Image Processing

 

 นอกจากการจับการเคลื่อนไหผ่าน Motion Detect แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น ต้องมีการจับ Voice ของผู้ใช้บริการและประมวลผลด้วยหลักการ Beat Detection เพื่อเกิดจังหวะการสร้างทางเลือกให้แก่ระบบ เช่น เสียงในการสั่งให้ตัว Interactive Media ทำอะไรต่อไป โดยกระบวนการภายในของเทคโนโลยีเสมือจริง 

ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่

1. การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้นจากฐานข้อมูล (Maker Database) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดเเละรูปแบบของMarker 

2. การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ Maker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบของ Marker เทียบกับกล้อง

3. กระบวนการสร้างภาพ 2 มิติ จากโมเดล 3 มิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพ โดยใช้ค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง

เทคโนโลยีเสมือนจริงสามารถแบ่งประเภทตามส่วนวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็น 2 ประเภทได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Makeเป็นหลักในการทำงาน (Maker Based AR) และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่างๆ ที่อยู่ในภาพมาวิเคราะห์ (Maker-less based AR)

หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริงประกอบด้วย 

1.
ตัว Maker (หรือที่เรียกว่า Markup)
2.
กล้องVDO กล้องWebcam กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือตัวจับSensor อื่นๆ
3.
ส่วนแสดงผล อาจเป็นจอภาพคอมพิวเตอร์ หรือจอภาพโทรศัพท์มือถือ หรืออื่นๆ 
4.
ซอฟแวร์หรือส่วนประมวลผลเพื่อสร้างภาพหรือวัตถุแบบสามมิติ

 

พื้นฐานหลักของ AR จำเป็นต้องรวบรวมหลักการของการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detection)การตรวจจับการเต้นหรือเคาะ (Beat Detection) การจดจำเสียง (Voice Recognize) และการประมวลผลภาพ (Image Processing) โดยนอกจากการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น ต้องมีการตรวจจับเสียงของผู้ใช้และประมวลผลด้วยหลักการ Beat Detection เพื่อให้เกิดจังหวะในการสร้างทางเลือกแก่ระบบ เช่น เสียงในการสั่งให้ตัว Interactive Mediaทำงาน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปการแสดงผลของ AR หรือ Augmented Reality

แหล่งที่มา :http://www.lemoninteractive.co.uk/augmentedrealityservices.shtml

 

ปัจจุบันความเจริญของเทคโนโลยีมีสูงมาก มีการขยายขอบเขตการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศซึ่งเรียกว่า ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หรือยุคไอที ด้านการศึกษานั้นได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI),การศึกษาทางไกล เป็นต้น เช่นเดียวกับชุดกิจกรรมที่มีการนำสื่อด้านเทคโนโลยีมาประกอบการเรียนการสอนตัวอย่าง เช่น การใช้วีดิทัศน์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book), บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สื่อเทคโนโลยีที่มีความแปลกใหม่ที่อยากจะแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชุดกิจกรรมเพื่อให้เกิดเป็นสื่อประสมที่น่าสนใจเร้าใจผู้เรียนในยุค IT ก็คือเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality)หรือเรียกสั้นๆว่า AR มาจัดการเรียนรู้ เป็นมิติใหม่ทางด้านสื่อการศึกษา สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้เพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality)เป็นเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Reality)และความเสมือนจริง (Virtual)เข้าด้วยกัน ผ่านวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Webcam, Computer,Pattern, Softwareและอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ มอนิเตอร์ โปรเจคเตอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผล โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมได้ทันที อาจมีลักษณะทั้งที่เป็นภาพนิ่ง มิติ ภาพเคลื่อนไหว และรวมถึงภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบ สามารถนำองค์ความรู้ด้าน AR มาประยุกต์สร้างสื่อแผ่นพับเพื่อเป็นสื่อการสอนได้(อ้างอิงจากดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า : 2553) 

 

สรุป

จะเห็นได้ว่าเราสามารถบูรณาการสื่อ AR เข้ากับสื่ออื่นๆ ได้ เช่น บูรณาการเข้ากับสื่อแผ่นพับ ทำให้สื่อแผ่นพับซึ่งเป็นสื่อเก่าเสนอข้อมูลได้เพียงแค่ตัวอักษรและภาพและเป็นสื่อทางเดียว ให้มีศักยภาพของความเป็นสื่อเพิ่มขึ้นกลายเป็นมัลติมีเดีย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ประกอบด้วยภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว หรือโมเดล มิติ สุดแล้วแต่การออกแบบสื่อนั้นๆ ว่าต้องการให้แสดงผลเป็นอย่างไร

 

ข้อมูลอ้างอิง

เอกสารออนไลน์

ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. ( 2553)ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.เกษตรศาสตร์บางเขน

สืบค้นจาก http://www.drpaitoon.com/wp-content/Documents/AR/prochure.pdf เมื่อวันที่22 กุมภาพันธ์ 2555

ดร.วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ .(2554).การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง.วารสารศึกษา .มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สืบค้นจาก http://www.edu.nu.ac.th/wiwatm/ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555

Google guru  “แผ่นพับ” คืออะไร

สืบค้นจาก  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=08dc2d93704bff74&pli=1 เมื่อวันที่ 9สิงหาคม 2554

 

Rosesy's Blog  AR คืออะไร  

สืบค้นจาก  http://rosesy.wordpress.com/2009/08/21/ar%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD  %E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3/ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552

ทำความรู้จักกับ Augmented Reality

สืบค้นจาก 

http://hitech.sanook.com/936485/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81-augmented-reality/ เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554


คำสำคัญ (Tags): #5050
หมายเลขบันทึก: 494770เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2012 11:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2012 11:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท