วิเคราะห์ข่าว "มหากาพย์งาบงบ แยบยลกินทุกเม็ด"


ประธานชมรมแพทย์ชนบทไล่บี้ ไอ้เสือโหย VS ไอ้จิ้งจก

         การเรียน Module 6 : Health Economics and Financial Management วันที่ 13 - 14 กรกฏาคม 2555 ณ โรงแรมอมารี เอเทรียม กรุงเทพ ฯ ช่วงวิชาหัวข้อ การเจรจาต่อรองทางการเงินให้ได้ของดีและคุมค่า โดยวิทยากรคือ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น และ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ชั้นเรียนได้รับงานให้วิเคราะห์บทความข่าวจากหนังสือพิมพ์ ไทยรัฐออนไลน์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 คอลัมน์ มหากาพย์งาบงบ แยบยลกินทุกเม็ด ซึ่ง

         นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ออกมาให้รายละเอียดถึงข้อมูลที่ส่อว่าจะมีการทุจริต ในกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีมานานและมีต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ โดยเปลี่ยนรูปแบบ และคนดำเนินการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน จากการอ่านบทความลงลึกในรายละเอียดแล้วพบว่าเป็นเรื่องทุจริตซึ่งจะมีผลทำให้การใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่ดี และไม่คุ้มค่า ทำให้ในภาพกว้าง งบประมาณที่จะต้องใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพของประชาชนต้องถูกหักหัวคิวออกไป การบริการด้านสาธารณสุขซึ่งต้องดูแลสุขภาพของประชาชน ต้องสูญเสียไปในการทุจริต

         การออกมาให้ข่าวดังกล่าวต้องถือว่าเป็นบทบาทที่สำคัญอีกครั้งหนี่งของ ประธานชมรมแพทย์ชนบท ซึ่งก็เคยออกมาเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริตมาแล้วหลายครั้งและทุกครั้งก็จะเกิดการสั่นสะเทือนอย่างหนักในกราะทรวงสาธารณสุข และครั้งนี้ก็คงจะเป็นเช่นเดียวกัน ต้องยอมรับว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นมีทั้งการได้ประโยชน์ และเสียประโยชน์ ซึ่งถ้าจะวิเคราะห์ให้ครอบคลุมและเป็นธรรมผมก็ต้องขออนุญาต กล่าวถึงทั้ง 2 ด้าน คือ

         ผลดีนั้นแน่นอนทุกครั้งที่มีการตรวจสอบทักท้วงจะทำให้คนที่กำลังคิดหรือกำลังทำการทุจริตต้องชะงักดำเนินการต่อไใม่ได้เป็นการรักษาเงินงบประมาณภาษีของประชาชนไม่สูญเสียไปหรือถ้ากระทำการทุจริตเสร็จสิ้นแล้วก็ถูกสอบสวนลงโทษดังที่เกิดขึ้นแล้ว

         ส่วนอีกมุมหนึ่งซึ่งหลายครั้งผมก็ได้พูดคุยกับกลุ่มข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขกลุ่มต่าง ๆ และอยากจะสรุปไว้ในบทวิเคราะห์นี้ด้วยก็คือ การออกมาให้ข่าว ก็ถูกตอบโต้กลับซึ่งดูเหมือนเป็นการจัดการกับเด็กดื้อ โดยการชะลอและยกเลิกโครงการ และงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข เกือบทั้งหมด เหมือนเมื่อครั้ง งบเมืองไทยเข้มแข็ง ต้องถูกยกเลิก ไม่ทราบแน่ชัดว่างบประมาณดังกล่าวนี้ ได้นำไปเพิ่มให้กับโครงการถนนไร้ฝุ่น อันลือชื่อหรือไม่ ถ้าวิเคราะห์ข้อมูลในแนวทางนี้ ผมเห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขเสียประโยชน์ ในการที่จะได้งบประมาณมาเสริมการบริการที่ดีให้กับประชาชน โดยไม่สามารถสกัดการโกงกินได้เลย เพราะการโกงกินก็ยังย้ายไปทำกันที่อื่นอยู่ได้ การออกมาเรียกร้องป้องปรามการทุจริตครั้งนั้นไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ได้ เพราะการดำเนินการได้หยุดชะงักลงอย่างผิดปกติ จึงหวังว่าเป้าหมายครั้งนี้จะดีกว่าครั้งที่แล้วมา คือป้องปรามการทุจริตได้และกระทรวงสาธารณสุขได้งบประมาณมาใช้ในการดูแลสุขภาพประชาชน ให้เหมาะสมและเป็นธรรม

         ผมเกรงว่าการดำเนินการครั้งนี้จะฉายภาพเด็กดื้อของผู้ตรวจสอบทุจริตในกระทรวงสารณสุขจนเป็นเหตุให้การของบประมาณต่าง ๆ ของกระทรวงสาธรณสุขเรื่องอื่น ๆ เป็นไปได้ยากขึ้น แต่ไม่สามารถสะกัดกั้นการเปลี่ยนเส้นทางการทุจริตโกงไปทำที่กระทรวงอื่นได้ ประชาชนก็คงยังเสียผลประโยชน์อยู่ดี

หมายเลขบันทึก: 494664เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2012 17:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชื่อว่าการวิเคาระห์ ต้องวิเคาระห์ถึ่งรากเหง้า ตรงไป ตรงมา ไม่มี Bias

ขอบคุณบทความดีดีนี้นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท