การยอมรับนวัตกรรม : องค์ความรู้จากการศึกษาดูงาน... อบจ.กระบี่


การยอมรับนวัตกรรม : องค์ความรู้จากการศึกษาดูงาน... อบจ.กระบี่

การยอมรับนวัตกรรม : องค์ความรู้จากการศึกษาดูงาน... อบจ.กระบี่

        องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่(อบจ.กระบี่) มุ่งเน้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาบริหารจัดการท้องถิ่นอย่างเต็มรูปแบบ ผลักดันให้เกิดเวทีชาวบ้านในรูปแบบสภาประชาคม โดยได้จัดประชุมตัวแทนประชาคมหมู่บ้านที่ได้รับคัดเลือกหมู่บ้านละ 2 คน เพื่อมาประชุมคัดเลือกตัวแทนเป็นคณะกรรมการสภาประชาคมระดับอำเภอทั้ง 8 อำเภอ และระดับจังหวัด

        สภาประชาคม อบจ.กระบี่ทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ในฐานะที่เป็น “ที่ปรึกษา” โดยได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ตั้งแต่การเสนอปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และเป็นตัวแทนของประชาชนชาวจังหวัดกระบี่ร่วมวางแผนพัฒนาขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัดกระบี่ มีส่วนร่วมรับรู้โครงการต่างๆ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่กำลังจะจัดทำขึ้น มีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาต่างๆ และลงมือปฏิบัติการร่วมกัน   

       สำหรับ อบจ.กระบี่ ได้ส่งโครงการเข้าทำการประกวด จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการฟุตบอล อบจ.กระบี่คัพต้านภัยยาเสพติด และโครงการอนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน ปรากฏว่าองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ผ่านการคัดเลือกและได้รับรางวัลนวัตกรรมท้องถิ่นไทย ทั้ง 2 โครงการ ซึ่งโครงการของ อบจ.กระบี่ ที่ได้รับรางวัลมีลักษณะโดดเด่น คือ เป็นโครงการฟุตบอล อบจ.กระบี่คัพต้านภัยยาเสพติด เป็นโครงการที่บูรณาการโครงการของภาคส่วนราชการและภาคเอกชนต่างๆ เข้าด้วยกัน มีความโดดเด่นเรื่องของการมีส่วนร่วมขององค์กรต่างๆ ส่งเสริมให้เยาวชนหันมาเล่นกีฬา หลีกห่างจากยาเสพติดและทีมที่ชนะเลิศจะได้รับรางวัลเป็นโครงการพัฒนาหมู่บ้านจาก อบจ.กระบี่  ส่วนโครงการอนุญาโตตุลาการหมู่บ้าน ปัจจัยความสำเร็จในการเป็นโครงการบริการสาธารณะ เป็นการต่อยอดหน่วยงานราชการอื่นๆและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับเจ้า หน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่จากกระทรวงยุติธรรม สำนักอัยการจังหวัดกระบี่ ศาลจังหวัดกระบี่ ร่วมทั้งหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เป็นโครงการที่สามารถลดกรณีพิพาทในชุมชน สร้างความสมัครสมานสามัคคีก่อให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์และความสงบสงบสุขเกิดขึ้นกับชุมชนในท้องถิ่น

จากการศึกษาดูงาน อบจ.กระบี่ พบว่า กระบวนการพัฒนานวัตกรรม

  1. เริ่มจากความคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่อยากจะทำงานจากฐานของชาวบ้าน มาค้นหาอนาคตร่วมกัน โดยการให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการประชุม/แลกเปลี่ยน/ถามชาวบ้านสู่เวทีประชาคม  จากวิธีคิด ทรัพยากรที่มีค่า ทำอย่างไรให้ได้สร้างมูลค่า สร้างรายได้สู่องค์กร
  2. การประเมินความคิดจากการประชุมสัมมนากับชาวบ้านและเครือข่าย การค้นคว้าหาความรู้จากภายนอก หรือผู้เชี่ยวชาญ แล้วมาประมวลสังเคราะห์เป็นองค์ความรู้ (นวัตกรรม)  นำไปสู่
  3. กระบวนการพัฒนานวัตกรรมในรูปแบบโครงการที่อบจ.เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีการทำวิจัยเพื่อหาผลกระทบสู่กระบวนการจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งผู้บริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการและประชาชน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ
  4. ผลออกมามีประโยชน์ในเชิงประจักษ์

การยอมรับนวัตกรรมมีอยู่ 5 ขั้นตอน  คือ

  1.  ผู้นำต้องทำให้ดูแบบอย่าง (Idol)
  2. ให้ความรู้/หาความรู้  ให้ทุกฝ่ายรู้ (จูงใจ) โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
  3. การเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ (ว่าเอาหรือไม่เอา) บอกถึงประโยชน์ที่ได้รับ โดยใช้รูปแบบการประชุมแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ (สภากาแฟ)
  4. การนำไปใช้  เราต้องไม่มีพฤติกรรมจูงใจแต่ต้องสร้างความตระหนักรู้ค่า ใช้ประโยชน์และยั่งยืน
  5. นำไปเผยแพร่เพื่อสร้างการยอมรับ จากการประเมินจากหน่วยงานภายนอก (รางวัลต่างๆที่ได้รับ)
หมายเลขบันทึก: 494635เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 02:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2012 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท