อบจ.กระบี่สร้างกระบวนการยอมรับนวัตกรรมอย่างไร


"อบจ.กระบี่มีใจ..ให้ใจ..ใส่ใจ..ไว้ใจ..ได้ใจ

อบจ.กระบี่สร้างกระบวนการยอมรับนวัตกรรมอย่างไร

 การสร้างกระบวนการยอมรับนวัตกรรมที่อบจ.กระบี่

         อบจ.กระบี่สร้างกระบวนการยอมรับนวัตกรรม โดยการหลอมรวม สี่หน่วยงาน คือ ผู้นำท้องถิ่น  สมาชิกสภา ข้าราชการ   และประชาชน   สร้างการยอมรับมีส่วนร่วมในการพัฒนา  สร้างความผูกพันในองค์กร สร้างความตระหนัก รู้ค่าอย่างยั่งยืน  นอกจากนั้นมีการใช้เวทีชาวบ้านในการแก้ปัญหาโดยให้ชาวบ้านผู้นำชุมชนมีส่วนร่วม  การใช้มาตรการทางสังคม การใช้ผู้นำทางศาสนามาไกล่เกลี่ยเมื่อมีปัญหา  ใช้หลักการมีส่วนร่วมทุกกระบวนการ  ทำให้สร้างการยอมรับจากชาวบ้านในการยอมรับกติกา  และมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่  จากการใช้หลักการพัฒนาท้องถิ่นดังกล่าวทำให้อบจ.กระบี่ได้รับรางวัลดังนี้               

 อบจ.กระบี่ คว้า 2 รางวัลนวัตกรรมคือ                           

       1.รางวัลนวัตกรรมท้องถิ่นไทย โครงการอนุญาโตตุลาการหมู่บ้านจังหวัดกระบี่                                                                                         

       2.รางวัลนวัตกรรมท้องถิ่นไทย โครงการแข็งขันกีฬาฟุตบอล อบจ.กระบี่คัพ ต้านภัยยาเสพติด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอบจ.กระบี่                

       - อบจ.กระบี่ มีประชาชน 4 แสนกว่าคน                                

       - สินค้า คือ ปาล์ม ยางพารา การประมง

       - นักท่องเที่ยว ช่วงเทศกาลการท่องเที่ยวจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ถ้าไม่ใช่ช่วงท่องเที่ยวส่วนมากชาวมาเลเซีย                                         

       - อบจ.กระบี่ มี 8 ส่วนราชการ และ 1 หน่วยตรวจสอบภายใน       

        1.สำนักปลัด                                                                   

        2. กองแผนและนโยบาย                                                    

        3. กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม                                          

        4. กองคลัง                                                                     

        5. กองพัสดุ                                                                         

        6. กองกิจการสภา                                                       

        7. กองบรรเทาและสาธารณภัย                               

        8. กองการศึกษา                                                             

          1. หน่วยตรวจสอบภายใน

จุดเด่นของ อบจ.กระบี่

          จุดเด่นของ อบจ.กระบี่ คือ หลักการบริหารการมีส่วนร่วมของอบจ.กระบี่ ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 ประการ ดังนี้                                               

          1. ผู้นำท้องถิ่นต้องชัดเจนและโปร่งใสจริง                                                                                           

          2. สมาชิก สมาชิกจะต้องทำหน้าที่                                          

          3. ข้าราชการต้องสนองนโยบาย                                       

          4. ประชาชน มีส่วนร่วมในการพัฒนา

หลักการบริหารทั่วไป

           หลักการบริหารทั่วไป คือ ใช้หลักการมีส่วนร่วม ทุกวันพฤหัสบดีจะมีการประชุมสภากาแฟจะบันทึกรายงานการประชุมเฉพาะเนื้อหาสาระ มีการประชุมหัวหน้าส่วนราชการทุกเดือนจะมีการประชุมประจำเดือนของพนักงาน มีการทำปฏิทินงานจะทำงานแบบรู้ล่วงหน้า กำหนดแผนงานล่วงหน้า จะบริหารตามลำดับชั้น 

การเข้าสู่แผนการพัฒนาของ อบจ.กระบี่ มี 3 ทาง คือ          

          1. จากประชาชนทำหนังสือร้องเรียน                                  

          2. ประชาคมตัวแทนหมู่บ้าน                                              

          3. สมาชิกสภาอบจ.กระบี่

          ตัวอย่าง การทำเวทีประชาคมที่เกาะลันตา  มีการทำประชาคม  3 ครั้ง การทำแผนได้มาจากความต้องการของประชาชน การตรวจงานของอบจ.กระบี่ ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ เช่นการพัฒนาถนนเกิดขึ้นจากปัญหาข้อร้องเรียนของชาวบ้าน ในการพัฒนาถนนใช้กระบวนการให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและร่วมพัฒนาไปด้วย จนได้ใจของชาวบ้าน  โดยมีชาวบ้านบางส่วนยกที่ดินให้อบจ.กระบี่ ตัดถนนผ่านให้เป็นที่สาธารณะ  โดยอบจ.กระบี่ได้มอบเกียรติบัตรให้แก่คนที่มอบที่ดินตัดผ่าน

หลักการบริหารนวัตกรรมของ อบจ.กระบี่                   

           1. ใจเป็นสาธารณะ จิตเป็นสาธารณะ (วิธีการแล้วแต่จังหวะและโอกาส) ทุกอย่างที่ทำมีวิธีการไม่เหมือนกัน                                    

           2. คุณสมบัติของข้าราชการ คุณสมบัติเท่ากัน                      

           3. ต้องนำเสนอผลงาน

หลักการทำงานของ อบจ.กระบี่

           การทำงานของ อบจ.กระบี่ คือ มีความกระตือรือร้น ต้องหาคำตอบให้ได้ ทุกคนในที่ประชุมจะต้องได้พูด มอบหมายงานตามความถนัด ใช้สโลแกน ทำทันที ทำเป็นทีมที่ทันสมัย ทำทดแทนกันได้ และในองค์กรจะมีระบบคุณธรรม เครือข่ายของ อบจ.กระบี่ คือ "การเป็นเครือข่ายไม่มีสายบังคับบัญชาแต่ให้ความไว้วางใจ เชื่อมโยงไว้เพื่อไมตรีจิต ผูกมิตรเพื่อแลกเปลี่ยน หมุนเวียนเป็นเจ้าภาพ ทุกฝ่ายทราบอุดมการณ์ แล้วมาถักสานรูปแบบ มาตรฐานแบบขับเคลื่อน สร้างเพื่อนร่วมต่อสู้ เรียนรู้เพื่อปกป้อง มีอำนาจต่อรอง นำไปสู่ความเป็นพี่น้อง อย่างเท่าเทียม"

         การทำงานที่เกิดจากประสบการณ์  การพูดจาอย่างไม่เป็นทางการ ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้เข้าร่วมโครงการมีทุกภาคส่วน  และที่สำคัญผู้นำใช้หลักการบริหารไม่ข้ามขั้น ไม่สั่งตรง  สมาชิกสภาท้องถิ่นไม่มีสมาชิกเป็นผู้รับเหมา  มีการสแกนนิ้วมือลงเวลาปฏิบัติงาน  หัวใจของการทำงาน เริ่มที่จิตที่เป็นสาธารณะ เทคนิคการบริหารงาน คิดให้คนอื่นทำ  ทำอย่างไรให้คนอื่นทำงานให้กับเรา  ใช้ระบบเครือข่ายในการทำงานร่วมกับชาวบ้าน ยึดหลัก"ภายใต้การทำงาน  ความขัดแย้งเป้นเรื่องปกติ เอาจุดเด่นแต่ละคนมาใช้"

สรุป นวัตกรรมของ อบจ.กระบี่ เกิดจาก                       

          1. เกิดจาก 4 องค์ประกอบ คือ ผู้นำท้องถิ่น สมาชิกสภา อบจ.กระบี่ ข้าราชการและประชาชน                                                          

          2. เกิดจากการยอมรับทุกกระบวนการ                            

          3. ความผูกพันแล้วรู้สึกศรัทธา

นวัตกรรมของ อบจ.กระบี่ เกิดจากการคิดร่วมกันของสภากาแฟ

           ผลงานในอบจ.กระบี่ที่เขาใช้เวทีสร้างนวัตกรรม คือ นวัตกรรมการจ่ายงานลูกน้องในสภากาแฟอย่างไม่เป็นทางการถือเป็นนวัตกรรมเพราะเรื่องต่าง ๆที่มีการพูดคุยกันทุกวันพุธ มีรายงานสรุปเนื้อหาสาระ  ที่สามารถนำข้อมูลไปใช้ในเวทีของการประชุมสภาในการเข้าแผนพัฒนา โดยมีการลำดับความสำคัญของปัญหา   การที่ประสบความสำเร็จในการประกวดทุกครั้งของอบจ.กระบี่เพราะได้นำตัวชี้วัดมาเป้นตัวตั้ง  และลงไปหาชาวบ้าน กระบวนการตัดสินใจเอาข้อมูลจากชาวบ้าน เพื่อให้แก้ปัญหาจากความต้องการของประชาชนในพื้นที่  ทำให้สร้างการยอมรับได้ใจชาวบ้าน  เป็นการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนอย่างแท้จริง

          "อบจ.กระบี่มีใจ..ให้ใจ..ใส่ใจ..ไว้ใจ..ได้ใจชาวบ้าน"

 

หมายเลขบันทึก: 494614เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท