วันเริ่มต้นของการบันทึก จากคำแนะนำในหนังสือ ชื่อหนังสือ เรียนปริญญาเอกอย่างไรให้สำเร็จตามเป้าหมาย


วันแรกของการบันทึกใน http://www.gotoknow.org เริ่มขึ้นหลังจากที่คิดว่าจะทำมาหลายครั้งแล้วก็"ลืม" รวมกับ "บ่ายเบี่ยง" มาเรื่อย ๆ แต่วันนี้เห็นว่าจำเป็นแล้ว เพราะว่าเริ่มลืมเรื่องต่าง ๆ ง่าย ๆ และคิดว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการทำดุษฏีนินิพนธ์ด้วย (เคยยุคนอื่นให้บันทึกมามาก แต่ตัวเองทำๆ หายๆ ใ นBlog อื่นมาตลอด) วันนี้ควรจะเริ่มต้นเสียที ความรู้ที่ได้วันนี้ได้จากการอ่านหนังสือของ ดร.จำเนียร จวงตระกูล ชื่อหนังสือ เรียนปริญญาเอกอย่างไรให้สำเร็จตามเป้าหมาย (สำนักพิมพ์จุฬานำมาพิมพ์ใหม่) ซึ่งอ.จำเนียรแนะนำให้จดบันทึกทุกวัน เพราะจะทำให้เราจดจ่อและมุ่งมั่นกับการทำวิจัย เพราะการจดจ่อและมุ่งมั่นเป็นสิ่งสำคัญมาก และคิดว่านักวิจัย (หน้าใหม่) ทุกคนอาจจะต้องเผชิญกับปัญหานี้ อ.บอกว่าการห่างหายจากการสำนึกในงานวิจัยจะทำให้ "Momentum" ของการทำวิจัยขาดหายไป ซึ่งเป็น    " สิ่งสำคัญมาก " การจดบันทึกทุกวันแม้ไม่ได้ทำวิจัย เช่น ติดภาระกิจ ป่วย หรือจิตใจไม่ปกติ จะทำให้เรา "ต่อ" "ติด" กับงานได้โดยไม่ใช้เวลา "ระลึก" สิ่งที่ทำไปแล้วและสิ่งที่จะต้องทำ ใช้เวลานานจนเกินไปนัก สิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือคือ

  1. การเขียนที่มาและความสำคัญของปัญหา (บางมหาวิทยาลัยเรียกว่า บทนำ,ความเป็นมา, Introduction และอื่นๆ ) ให้ใช้ 3 ประโยคนี้ "ต้นตื่นเต้น กลางกลมกลืนและจบจับจิต"
หมายเลขบันทึก: 494530เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 10:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กรกฎาคม 2012 10:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ ที่ช่วยเล่าความในใจให้ได้ทราบว่า... "ยังมีบางคนคิดเหมือนกัน" ค่ะ

การบันทึกทำให้เกิดความคิดต่างๆมากมายขณะเขียนด้วยค่ะ

ยังทำได้ไม่ทุกวันค่ะ บันทึกเมื่ออยากทำเท่านั้น.. รออ่านบันทึกต่อๆไปนะคะ

สู้ๆนะครับเป็นกำลังใจให้ครับ..ปริยญาเอกคงไม่นานครับแป๊บเดียว "ยืนหยัดและฝ่าฟันนะครับ" 

เอาเพลงมาฝากครับ... เพื่อเป็นกำลังใจ ฟังแล้วสดใส่มีพลัง..



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท