วิธีการแก้ปัญหาสารเรืองแสงในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม กุ้งขาว (แวนาไมท์) กุ้งดำ (กุลาดำ)


นอกจากน้ำจะเน่าเสียเป็นปรกติจากอินทรียวัตถุแล้ว แต่ถ้ามีการหมักหมมมากเข้าๆ ก็จะยิ่งเพิ่มความหลากหลายของเชื้อโรค โดยเฉพาะกลุ่มแบคทีเรีย วิบริโอ ฮาร์วีไอ, ซูโดโมแนส ฟลูออเรสเซน

เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งส่วนใหญ่เมื่อเลี้ยงกุ้งไปสักระยะหนึ่งจะพบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการหมักหมมของเสียที่พื้นบ่อ สร้างปัญหาน้ำเน่าน้ำเสีย จนส่งผลกระทบต่อตัวกุ้งจนลอยหัวเต็มขอบบ่อ เพราะโดยปรกติกุ้งนั้นจะชอบหากินอยู่ที่พื้นดินไม่ลอยตัวให้เห็นเด่นชัดให้เป็นเหยื่อล่อนกหรือศัตรูอื่นๆให้เห็นได้ง่ายๆ  แต่เนื่องด้วยสภาพพื้นบ่อที่บูดเน่าจนเกิดก๊าซพิษต่างๆ สะสมในปริมาณมากจนมีความเข้มข้นมากพอที่จะมาแทนที่ ออกซิเจนให้ลดน้อยถอยลงไปตามสัดส่วนของของเสียที่เกิดขึ้น

ของเสียต่างๆเหล่านี้ที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดน้ำเน่าเสียมาจากขี้กุ้ง อาหารกุ้ง ที่ถูกขับถ่ายและถูกใส่ลงไปในบ่อทุกวัน เนื่องด้วยกุ้งนั้นจะต้องกินอาหารเป็นประจำทุกวัน ยิ่งเจ้าของบ่อไม่มีการเช็คยอ เช็คอาหารที่เหลือตกค้างก็จะยิ่งไม่รู้ว่าอาหารที่ให้ไปนั้นกุ้งกินหมดหรือไม่ มีผลเสียทั้งทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนเรื่องอาหารและเกิดการสะสมบูดเน่าของอินทรียวัตถุ  โดยเฉพาะยิ่งเป็นช่วงระยะปลายฝนต้นหนาวด้วยแล้ว กิจกรรมของจุลินทรีย์ต่างๆ จะทำงานน้อยลง แต่ฝนที่ชะล้างเอาอินทรีย์วัตถุ (organic matter) ลงไปไม่สมดุลยิ่งทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียบูดเน่าได้ง่าย

 

นอกจากน้ำจะเน่าเสียเป็นปรกติจากอินทรียวัตถุแล้ว แต่ถ้ามีการหมักหมมมากเข้าๆ ก็จะยิ่งเพิ่มความหลากหลายของเชื้อโรค โดยเฉพาะกลุ่มแบคทีเรีย วิบริโอ  ฮาร์วีไอ, ซูโดโมแนส ฟลูออเรสเซน ด้วยแล้วจะทำให้เกิดการเรืองแสงขึ้นในบ่อ เหมือนที่เราเคยได้ยินลูกชิ้นเรืองแสง จากข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์และทีวีเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรียเช่นเดียวกันแต่อาจจะแตกต่างในเรื่องของชนิดไปบ้างเท่านั้น วิธีการแก้ไขปัญหาทำได้ไม่ยากเพียงดูแลรักษาความสะอาดที่พื้นบ่ออย่างสม่ำเสมอด้วยการเติมเสริมจุลินทรีย์ที่ทำการย่อยสลายของเสียโปรตีนจากขี้กุ้งอาหารกุ้งโดยตรงคือ บาซิลลัส ซับธิลิส (ชื่อการค้า “บาซิลลัส MT”) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ผ่านการคัดเลือกมาแบบเฉพาะเจาะจง ไม่ใช่เอาแต่จุลินทรีย์หรือยีสต์ที่หลากหลายที่ย่อยได้แต่ แป้ง คาร์บอน น้ำตาลแต่ไม่เก่งในการย่อยโปรตีนที่มีมากในบ่อเลี้ยงกุ้ง และเพื่อให้ออกซิเจนมากเพียงพอควรใช้ สเม็คโตไทต์ ช่วยจับก๊าซและของเสียที่พื้นบ่อในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านกระจายให้ทั่วบ่อจะช่วยลดก๊าซของเสียและเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้มากเพียงพอต่อการหายใจของกุ้งไม่ต้องลอยขึ้นมาขอบบ่อ

 

มนตรี  บุญจรัส

ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 494335เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 18:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท