อาชญากรรมของบริษัทยา


อาชญากรรมที่บริษัท GlaxoSmithKline (GSK) ถูกกล่าวหาคือ จ่ายเงินจ้างหมอให้ทำวิจัยเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง รวมทั้งปกปิดผลข้างเคียงของยา ทำให้มีคนได้รับผลร้ายจากการใช้ยา เช่นฆ่าตัวตาย

อาชญากรรมของบริษัทยา

ข่าวนี้บอกว่าบริษัท GlaxoSmithKline ยอมจ่ายค่าปรับแก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ๓ พันล้านเหรียญ เพื่อปลดตนเองออกจากข้อกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรม ด้านการตลาดของยาหลายชนิด หลายวาระ

ข่าวบอกว่า นี่คือการยอมตกลงจ่ายค่าปรับก้อนใหญ่ที่สุด   หลังจากบริษัท    Pfizer ยอมจ่ายค่าปรับให้แก่รัฐบาลเป็นเงิน ๒.๓ พันล้านเหรียญ ในปี ค.ศ. ๒๐๐๙

อาชญากรรมที่บริษัท GlaxoSmithKline (GSK) ถูกกล่าวหาคือ จ่ายเงินจ้างหมอให้ทำวิจัยเพื่อส่งเสริมการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง   รวมทั้งปกปิดผลข้างเคียงของยา   ทำให้มีคนได้รับผลร้ายจากการใช้ยา เช่นฆ่าตัวตาย

บทความนี้บอกว่า ในปี ๒๐๑๐ บริษัทเดียวกันนี้ ก็ได้ตกลงจ่ายค่าปรับให้แก่รัฐบาลสหรัฐ ๗๕๐ ล้านเหรียญ   ฐานผลิตยาด้อยคุณภาพ

ในบทความระบุว่า มีคนไม่เห็นด้วยที่มีแค่โทษปรับ   น่าจะเอาตัวผู้บริหารทำทำผิดมาจำคุกด้วย

หลังเขียนบทความนี้เสร็จหลายวัน มีคนส่งข่าวนี้ , มาให้  ยืนยันว่าบริษัทยาข้ามชาติมีปัญหาด้านจริยธรรมร้ายแรงถึงขั้นผิดกฎหมายอาญา   โปรดอ่านรายละเอียดในข่าว จะเห็นว่า GSK ยอมรับความผิดหลายกระทง   รวมทั้งความผิดด้านคิดราคายาแพงเกินไป   

บทความทางวิชาการเรื่องการส่งเสริมการใช้ยา อ่านได้ที่ Gagnon M-A, Lexchin J. The cost of pushing pills : A new estimate of pharmaceutical promotion expenditures in the United States. Plos Medicine 2008; 5 : 1-6.

 และบทความ Glaxo Fine : What Will Stop Big Pharma Fraud? โดย  Judith Warner อ่านได้ ที่นี่ 

หากตามอ่านรายละเอียดจะพบว่า มีคนเสียชื่อหลายวงการ   โดยเฉพาะวงการแพทย์ และวงการวิจัย ที่เข้าไปร่วมมือ ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว   หมอที่มีชื่อเสียงโดนเอ่ยชื่อ คือ Drew Pinsky ว่ารับเงิน $ 275,000 เป็นค่า “services for Wellbutrin”   ไม่ทราบว่ามีนักวิจัยในมหาวิทยาลัยเกี่ยวข้องไหม   และหากมี ทางมหาวิทยาลัยเขาจัดการอย่างไร

วิจารณ์ พานิช

๒๘ มิ.ย. ๕๕  ปรับปรุง ๔ ก.ค. ๕๕  และ ๗ ก.ค. ๕๕   

หมายเลขบันทึก: 493901เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2012 18:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2012 07:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จริยธรรมทางการวิจัย ==> วิจัยในมนุษย์ (คน) หายไปไหน?

ขอบคุณบทความที่มีประโยชน์ยิ่งนี้นะคะ

ขอบคุณ สำหรับข้อมูลค่ะอาจารย์หมอ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท