ประสบการณ์การพัฒนาทักษะการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพของข้าพเจ้า


วิธีรักษาสายตาสั้นด้วยวิธีธรรมชาติ

สิ่งที่เรียนรู้  (What) : วิธีรักษาสายตาสั้นด้วยวิธีธรรมชาติ

วิธีเรียน (How) : เนื่องจากตนเองเป็นคนที่มีปัญหาสายตาสั้นมาเป็นเวลานาน  ทำให้ไม่สามารถมองเห็นภาพระยะไกลได้อย่างชัดเจนได้  จำเป็นต้องใส่แว่นสายตา  ซึ่งก็มีความรู้สึกว่า  การใส่แว่นสร้างความไม่สะดวกหลายอย่าง  อาทิเช่น  การเล่นกีฬา  เป็นต้น  ทำให้อยากบำบัดอาการสายตาสั้นให้กลับมามองเห็นชัดเจนดังเดิมโดยไม่ต้องพึ่งแว่น  จึงได้พยายามศึกษาและสืบค้นวิธีรักษาสายตาสั้นด้วยวิธีธรรมชาติทั้งทางหนังสือและเว็ปไซต์สุขภาพต่างๆ

ผลการเรียน (Outcome) : เมื่อนำวิธีรักษาสายตาสั้นที่ได้ค้นคว้ามาไปปฏิบัติเป็นประจำพบว่าสายตาดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  ทั้งยังรู้สึกผ่อนคลาย  สบายตามากขึ้น

                       

วิธีรักษา "สายตาสั้น" ด้วยวิธีธรรมชาติ

หากสายตาของคุณสั้นมากจนต้องสวมแว่น  เชื่อได้เลยว่า  มันคงจะทำให้คุณรำคาญพอดู  บุคลิกก็ดูยังกะคนแก่เรียน  ยิ่งพอจะไปเล่นกีฬาอะไรๆ เพื่อลดเชพก็รู้สึกว่า เจ้าแว่นตัวดี มันเกะกะเหลือเกิน โลกนี้ไม่สดใสเสียเลย หลายคนพอหันลองไปใช้คอนแทคเลนส์แทน  ก็รู้สึกจั๊กจี้ตาพิลึก  ต้องมานั่งล้างก่อนนอนทุกคืน  เผลอๆ ตาอันบอบบางก็ต้องมาเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย

ไม่นานมานี้  เราได้พบบทความหนึ่งในนิตยสารด้านสุขภาพของอเมริกาเกี่ยวกับวิธีที่จะช่วยบำบัดอาการสายตาสั้นของคุณให้ดีขึ้น  ซึ่งหากคุณได้ลองนำไปปฏิบัติประมาณ 2-3 อาทิตย์ทุกวัน  คุณจะรู้สึกว่าสายตาของคุณดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด  บางคนต้องไปค้นแว่นเก่าๆ ที่ไม่ได้ใช้ตั้งนานกลับมาใช้อีก

วิธีง่ายๆที่จะช่วยบำบัดอาการสายตาสั้น


สิ่งที่ต้องทำเป็นนิสัย

-          สวมแว่นสายตาเมื่อจำเป็นเท่านั้น พยายามอย่าสวมแว่นเมื่อไรก็ตามเท่าที่ทำได้ เพราะมันจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อตาและระบบประสาทรอบดวงตาของคุณรู้สึกผ่อนคลาย

-          วิธีอ่านหนังสืออย่างถูกต้อง เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณต้องอ่านหนังสือต้องถอดแว่นออกทุกครั้ง แล้วพยายามอ่านหนังสือโดยที่พยายามให้ตาทั้งสองข้างอยู่ห่างจากหนังสือมากที่สุด แต่ต้องเป็นระยะที่สามารถอ่านตัวหนังสือได้อย่างชัดเจน หากทำจนเป็นนิสัยแล้ว คุณจะรู้สึกว่า คุณจะค่อยๆ สามารถอ่านหนังสือได้ห่างมากขึ้นไปเรื่อยๆ (สำหรับที่คนสายตาสั้นไม่เท่ากัน ระยะห่างที่ชัดเจนของตาแต่ละข้างนั้น ค่อนข้างจะแตกต่างกัน ดังนั้นเวลาอ่านหนังสือ ให้ใช้มือข้างใดก็ได้ปิดตาข้างหนึ่งไว้ แล้วค่อยๆ อ่านด้วยตาทีละข้างสลับกันไป แต่ถ้าสายตาทั้งสองข้างต่างกันแค่นิดเดียว อ่านพร้อมกันทั้งสองข้างเลยก็ไม่เป็นไร)

-          กระพริบตาให้บ่อย การฝึกกระพริบตาให้บ่อย (ประมาณ 1 ครั้ง ต่อ 10 วินาที) จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อตารู้สึกผ่อนคลาย ไม่ตึงเครียด

วิธีบำบัดที่ต้องทำเป็นประจำ (ต้องทำทุกวิธี)

-          การบริหารกล้ามเนื้อดวงตา ให้ชำเลืองตาขึ้นไปข้างบน ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วชำเลืองตาลงข้างล่าง ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วชำเลืองตาไปทางซ้าย ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที แล้วชำเลืองตาไปทางขวา ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที เสร็จแล้วพักตาสักพัก แล้วเริ่มทำใหม่ไปอีกเรื่อยๆ วันละ 10 นาที

-          การบำบัดด้วยน้ำเย็น เมื่อล้างหน้าเสร็จ ก่อนจะอาบน้ำ ให้เตรียมน้ำเย็น (ไม่ใช่น้ำอุ่น) ใส่กะละมังเล็กๆ ไว้ ก้มหน้าลงไปเล็กน้อย ทำมือทั้งสองให้เป็นรูปถ้วย แล้วกวักน้ำให้เต็ม ให้มืออยู่ห่างจากดวงตาประมาณ 6 เซนติเมตร หลับตาลง แล้วค่อยๆ สาดน้ำมากระทบเปลือกตาเบาๆ น้ำเย็นจะช่วยให้กล้ามเนื้อรอบดวงตารู้ผ่อนคลายได้มากขึ้น (ให้ทำทุกวัน วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที

-          การบำบัดด้วยการสร้างมโนภาพ ให้หาหนังสืออะไรก็ได้มา 1 เล่ม เปิดหน้าไหนก็ได้ที่มีตัวหนังสือ ถอดแว่นออก แล้วเลือกคำอะไรก็ได้ 1 คำจากหน้านั้น จำรูปร่าง ของคำนั้นไว้ให้ดี ยื่นหนังสือออกไปให้ไกล ในระยะที่คุณมองเห็นไม่ชัดและเบลอ แล้วหลับตาลง นึกภาพในใจให้รู้สึกว่าคุณเห็นคำนั้นได้อย่างชัดเจน การทำเช่นนี้ จะช่วยให้กล้ามเนื้อตาค่อยๆ ปรับโฟกัส ให้ดีขึ้นได้อย่างอัตโนมัติ (ให้ทำทุกวัน วันละประมาณ 10 นาที)

-          การบำบัดด้วยอุ้งมือ ก่อนนอน ให้นั่งลงบนเก้าอี้ที่นั่งสบายๆ หลับตาลง แล้วใช้อุ้งมือซ้ายปิดตาซ้ายเบาๆ และใช้อุ้งมือขวาปิดตาขวาเบาๆ จะช่วยทำให้ไม่มี แสงเล็ดลอด เข้าสู่ตาได้ ความมืดมิดที่เห็น จะทำให้ดวงตารู้สึกสบายกว่าปกติ (ให้ทำทุกวันก่อนนอน วันละอย่างต่ำ 45 นาที)

ไม่นานนัก คุณคงต้องโยนแว่นสายตาของคุณลงไปในถังขยะแล้ว (จากวารสารอเมริกัน)

ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ (Reflection) : ตาเป็นอวัยวะที่สำคัญ  จำเป็นต้องพิจารณาให้ดีก่อนที่จะกระทำสิ่งใดๆกับดวงตา  การบำบัดนี้ล้วนแต่เกิดประโยชน์กับตา  ไม่มีสารเคมีหรือกรรมวิธีใดๆที่จะสามารถทำให้เกิดอันตรายได้  อย่างไรก็ตาม  การบำบัดจำเป็นต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่อง  ดังนั้น  การมีวินัยในตนเอง  รับผิดชอบในการดูแลสุขภาพตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ

เอกสารหรือสื่ออ้างอิง (References) :

http://www.dekcom.net/board/post/192

http://health.kapook.com/view16850.html

ภาคผนวก

ไหนๆก็มาถึงเรื่องตาแล้ว ลองมาทดสอบสายตากันดีกว่า ว่ายังดีอยู่หรือเปล่า 

http://blog.eduzones.com/snowytest/8593

คำสำคัญ (Tags): #สายตาสั้น
หมายเลขบันทึก: 493687เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2012 01:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 สิงหาคม 2012 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เค้าทำตอนนี้ยังทันไหมอ่า สั้นโคตรๆแล้ว 555

มีประโยชน์มากคับ ป้องกันสายตาสั้น ++

ขอบคุณมากกก เดี๋ยวจะลองเอาไปใช้ ^^

ต้องเริ่มทำสะแล้ว เหมือนจะสั้นขึ้นมาแล้วแหละ

ต้องทำแล้ววว ก่อนที่จะสั้นไปกว่านี้ ขอบใจมากเน้อ

ดีดี!! ช่วงนี้รู้สึกสายตาเริ่มมีปัญหาละ ต้องเริ่มถนอมสายตาบ้างแล้ว :))

ขอบคุณครับ จะลองทำดูน๊ะ ตอนนี้เราสั้นนิดเดียว :)

ต้องจำไว้ ก่อนผมจะะสายตาสั่น

ว้า ว วว

นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจและน่าทดลองมากๆ เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท