น้ำประปาดี ชีวีมีสุข


การพัฒนาคุณภาพน้ำประปา โดยกรมอนามัย

          น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของผู้คน  หากน้ำใช้ในชีวิตประจำวันมีปัญหา น้ำขุ่น มีกลิ่น  มีอันตราย หรือมีสัตว์ประหลาดเล็กๆ  มีเชื้อโรค   ผู้คนก็จะเดือดร้อนจากการใช้น้ำนั้น 

          งานพัฒนามาตรฐานคุณภาพน้ำประปา  เป็นงานหนึ่งของกรมอนามัย  เพื่อให้ประชาชนได้ใช้น้ำสะอาดในการอุปโภค บริโภค  หากประชาชนใช้น้ำประปาที่ไม่สะอาด  อาจเสี่ยงต่อภาวะสุขภาพได้  วันนี้ผู้เขียนจึงมีเรื่องราวเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพน้ำประปามาฝาก

         การดำเนินงานของศูนย์อนามัยที่ 8 ในปีนี้  ได้รับสมัครประปาหมู่บ้าน ประปา อบต. และประปาเทศบาล  ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ   เพื่อพัฒนาน้ำประปาให้ได้มาตรฐาน 

        โดยหน่วยงานเจ้าของประปา  จะต้องจัดงบประมาณพัฒนาประปาตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่  ตามกำหนดเวลา

        ประปาที่เข้าร่วมโครงการกับศูนย์อนามัยที่ 8  จะต้องอยู่ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร  นครสวรรค์  พิจิตร  และอุทัยธานี

ชนิดของประปา  ได้แก่ประปาบาดาล  ดังภาพข้างบนและล่าง

และประปาผิวดิน  ดังภาพข้างล่าง

เจ้าหน้าที่ศูนย์อนามัยที่ 8 ผู้รับผิดชอบงานน้ำประปาคือคุณฉันท์พิชชญา  สุวรรณเกสร์ (คุณเปี๊ยก)

ส่วนผู้เขียนนั้น  ปกติรับงานตลาดสด ตลาดนัด ร้านอาหาร  แต่วันนี้มาร่วมบูรณาการกับงานน้ำประปา   และอีกอย่างคือทำKMร่วมกัน  ต้องคอยมาเป็น note taker และช่างภาพให้ 

เมื่อเดินทางมาที่ประปาแต่ละแห่ง  เราจะต้องพบกับผู้บริหาร  ผู้รับผิดชอบงานประปาของ อบต. หรือ เทศบาลนั้น  พบผู้ดูแลประปา / คณะกรรมการที่ดูแลประปา มีการคุย/ซักถามถึงการดำเนินงานประปา  วิธีการดูแลระบบประปา  คุณภาพของน้ำประปาที่ผลิต  ปัญหาอุปสรรค และการตอบรับจากประชาชนผู้ใช้น้ำประปา

จากนั้นเราจะต้องปีนขึ้นไปตรวจสอบระบบ ถ้าไม่ขึ้นไปดู เราก็จะไม่เห็นสภาพระบบประปา  ขอบอกว่าที่ปีนกันแต่ละคนอายุเกินครึ่งศตวรรษค่ะ  ปีนขึ้นไปอากาศก็ร้อนมากๆ กลัวจะเป็นลมแดด   ก็คอยดูแลกันและกัน  แต่ละวันก็ปีนประปากันหลายแห่งค่ะ 

 

เขาเรียก"คลองวนเวียน"ค่ะ  น้ำที่สูบจากแม่น้ำลำคลอง ผ่านสารส้มจะวนเวียนในคลองนี้  สังเกตตะกอนจะจับเป็นก้อน

คุณเปี๊ยกจะคอยชี้สิ่งที่ต้องแก้ไข  สังเกตดูเธอจะไม่กลัวแดด  ส่วนผู้เขียนต้องคอยหลบๆแดด  เพราะถูกแดดเผาจนหน้าดำ

ปัญหาที่พบแทบทุกแห่งคือ  การไม่ทำความสะอาดระบบ  อาจทำนานๆครั้ง  ทำให้เกิดตะไคร่น้ำ  ระบบสกปรก  น้ำที่ผลิตออกมาจะขุ่น  ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย  คุณเปี๊ยกจะแนะนำให้ขัดล้างทุกสัปดาห์  รวมทั้งล้างหน้าทรายที่ใช้กรองด้วย

อีกปัญหาคือการไม่เติมคลอรีน  เนื่องจากชาวบ้านบ่นว่าเหม็น

จึงต้องสร้างความเข้าใจ  การให้คำแนะนำการใช้สารส้ม  คลอรีน  ที่ถูกวิธี  

ติดตามผล  และจากนั้นจะเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อการตรวจวิเคราะห์และทดสอบในศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย ซึ่งมีการตรวจโลหะหนัก  ตรวจทางเคมี กายภาพ (ความขุ่น กระด้าง)และตรวจแบคทีเรีย

 

การให้ความรู้แก่ผู้ดูแลระบบประปา  รวมถึง อสม.

หากเทศบาลหรือ อบต.ที่พัฒนาระบบประปาและผลิตน้ำประปาที่สะอาด  ผ่านการตรวจสอบจากกรมอนามัย   ก็จะมีการมอบใบรับรองมาตรฐานคุณภาพน้ำประปา  ให้แก่หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการของกรมอนามัย

ในภาพคือ นายก อบต.กลางแดด อ.เมือง จ.นครสวรรค์ เป็นผู้รับมอบใบรับรองฯ

เห็นไหมคะว่า  ทำน้ำประปาให้ดี  มีประโยชน์ตั้งเยอะ  คราวหน้าจะเล่าให้ฟังถึงการเก็บตัวอย่างน้ำประปาไปตรวจนะคะ

...............................

หมายเลขบันทึก: 493673เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2012 22:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 กันยายน 2012 09:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คิดถึงนะคะ พอดีพี่ดาทบทวนเรื่องมะกรูด น้องถามเรื่องฟักข้าวไว้ ตอนนี้พี่ดาทราบพอควรค่ะ ว่างไปแวะอ่านนะคะ  ฟักข้าว 8 บันทึก

-สวัสดีครับพี่ nana

-ตามมาเยี่ยมหลังจากหายไปนาน...55

-สบายดีนะครับ....

-มาพรานกระต่ายอีกเมื่อไหร่ก็ส่งข่าวมาก่อนนะครับ...

-หากไม่แจ้งล่วงหน้าจะไม่ได้เจอกับ"คุณเพชรคิวทอง"นะครับ 5555

-ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะพี่

สุดยอดมากค่ะ

ขอบคุณนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท