บันทึกการเรียนรู้ประจำวัน 03/07/55


ลักษณะปัญหาสถานะของคนทั้ง6กลุ่มพร้อมแนวทางแก้ไข

วันที่สองแล้วของการทำงาน(เหมือนนานเลย555) ฝนตกมาตั้งแต่เมื่อคืนต่อเนื่องมาจนถึงเช้าเลยต้องเดินตากฝนมาที่คณะ ได้บรรยากาศของฤดูฝนไปอีกแบบ

วันนี้เป็นการลงรายละเอียดทำความเข้าใจลักษณะปัญหาสถานะของคนทั้ง กลุ่มพร้อมแนวทางแก้ไข รวมถึงการเรียนรู้พยานหลักฐานยืนยันสถานะในเบื้องต้น พอสรุปได้ว่า

คนกลุ่มที่1ซึ่งมีสถานะเป็นคนไร้รัฐเราก็จะต้องขจัดสภาวะการไร้รัฐโดยมี 2แนวทางด้วยกัน

แนวทางที่ 1 คือ ใช้นโยบาย ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือมติคณะรัฐมนตรีปี2548ว่าด้วยยุธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะบุคคลและสิทธิที่ให้สำรวจบุคคล 4ประเภทอันได้แก่ กลุ่มคนที่ตกหล่นทางทะเบียน กลุ่มเด็กในสถานศึกษา กลุ่มผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และกลุ่มผู้ไร้รากเหง้า

แนวทางที่2 คือใช้กฎหมาย อันได้แก่ พรบ.ทะเบียนราษฎรมาตรา38วรรค2 เพื่อทำทะเบียนประวัติบุคคลที่อยู่นอกเหนือยุทธศาสตร์ เช่น ชาวโรฮิงญา หรือใช้ระเบียบปี 2543 ในการจัดการสถานะบุคคลชนพื้นที่สูง 20 จังหวัดและชาวเขา 9 ชนเผ่า

บุคคลที่ได้รับการบันทึกสถานะบุคลลเหล่านี้ก็จะไม่ตกอยู่ในสภาวะการไร้รัฐอีกต่อไปโดยจะถูกบันทึกไว้ในทะเบียนประวัติแบบทร.38ก ถือบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนขึ้นต้นด้วยเลข 0

คนกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นคนไทยที่ถูกบันทึกเป็นคนต่างด้าวนั้น เราแบ่งออกเป็น 3ประเภทคือ

2.1คนที่อาจตกหล่นในการสำรวจทางทะเบียนซึ่งอาจมีบัตรประจำตัวชนพื้นที่สูงขึ้นต้นด้วยเลข 6,7 ให้ปฏิบัติตามระเบียบปี 2543 เพื่อขอลงรายการสัญชาติไทย

2.2คนไทยที่เกิดก่อนวันที่26กุมภาพันธ์ 2535  ซึ่งได้รับผลกระทบจากประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่337(มีผลบังคับใช้วันที่15ธันวาคม2515)กลุ่มคนเหล่านี้จะได้รับสิทธิตามมาตรา 23 พรบ.สัญชาติซึ่งแก้ไขเมื่อปี2551 คือ มีสิทธิในสัญชาติไทยแล้วดำเนินการขอลงรายการสัญชาติ

2.3คนไทยพลัดถิ่น ให้ดำเนินการตามพรบสัญชาติแก้ไขปี2555ซึ่งกำลังรอประใช้กฎกระทรวงอยู่ในขณะนี้

คนกลุ่มที่ 3 ซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่เกิดในไทย(เกิดหลัง26กุมภาพันธ์ 2535 )คนกลุ่มนี้จะไม่ได้สัญชาติไทยตามมาตรา 7 ทวิ วรรค 2 พรบ.สัญชาติจึงต้องยื่นคำร้องขอสัญชาติต่อรัฐมนรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

คนกลุ่มที่ 4 คนต่างด้าวที่เกิดนอกไทย อาจเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยรับสิทธิอาศัยชั่วคราว(มีทร.13)หากคณะรัฐมนตรีมีนโยบายให้สิทธิอาศัยถาวร(มีทร.14)และมีใบถิ่นที่อยู่,ใบสำคัญคนต่างด้าว,บัตรผู้ไม่มีสัญชาติไทยรวมระยะเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ก็สามารถขอแปลงสัญชาติได้

คนกลุ่มที่ 5 ได้แก่แรงงานต่างด้าวชาวพม่า ลาว กัมพูชาจะต้องดำเนินการขึ้นทะเบียนแรงงานกับกระทรวงแรงงานพร้อมตรวจและทำประกันสุขภาพเพื่อขอใบอนุญาตทำงาน จากนั้นทางรัฐไทยเองก็จะทำการพิสูจน์สัญชาติ หากผู้ที่มาขึ้นทะเบียนมีสัญชาติตรงกับรัฐต้นทาง ก็จะให้สิทธิอาศัยชั่วคราว(มีทร.13)พร้อมทั้งมีบัตรประจำตัวขึ้นต้นด้วยเลข00 และผู้ขึ้นทะเบียนสามารถไปขอออกหนังสือเดินทางที่กงศุลของประเทศตนเองได้

ในส่วนของกลุ่มคนที่เป็นผู้ลี้ภัยตามค่ายผู้ลี้ภัยต่างๆนั้นเป็นไปตามแนวปฏิบัติของกระทรวงมหาดไทยและUNHCR

นอกจากนี้ยังศึกษาหลักการของพยานหลักฐานต่างๆที่อาจจะต้องพบเจอในพื้นที่เพื่อใช้ในการยืนยันสถานะสิทธิของบุคคลเช่น หนังสือรับรองการเกิดของเด็กที่เกิดทั้งในหรือนอกโรงพยาบาล การขอออกสูติบัตรของบุคคลที่มีสถานะทางทะเบียนแบบต่างๆซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป

ในช่วงแรกมีปัญหาในการทำความเข้าใจกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาประเภทที่ 2 แล   ะ 3เพราะมีเรื่องของประกาศคณะปฏิวัติเข้ามาเกี่ยวข้อ งทำให้เราคิดไปว่าในยุคเผด็จการนั้นสิทธิในสัญชาติของบุคคลกลายเป็นของเล่นให้กับผู้มีอำนาจที่จะเพิกถอนอย่างไรก็ได้ แต่ที่น่าแปลกใจก็คือประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นเวลาเกือบ 30 ปี คงต้องหาคำตอบจากผู้รู้ต่อไป


หมายเลขบันทึก: 493319เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2012 18:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2012 16:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

รออ่านความคืบหน้าในวันต่อไป

เต็มที่เลย ไว้ไปอุ้มผางได้ลองวิชาครับ

เต็มที่เลย ไว้ไปอุ้มผางได้ลองวิชาครับ

พี่แก้ว

ขอบคุณอาจารย์แหววกับพี่แก้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท