กรณีศึกษาเรื่องทุนมนุษย์ 4 เรื่อง เพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน


คอลัมน์การเมือง

  • บทเรียนจากความจริง

    ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
  • บทความจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน 2555
  • ติดตามบทความย้อนหลังได้ที่ลิงก์ข้างล่างนี้ครับ
  • http://www.naewna.com/columnist/1104

กรณีศึกษาเรื่องทุนมนุษย์ 4 เรื่อง เพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน

การเมืองเงียบไปได้สักพักก่อนที่จะเปิดสภาฯ 1 สิงหาคม คงจะเริ่มยุ่งวุ่นวายอีก

แต่ปัญหาในประเทศไม่ได้มีแค่การเมือง แต่ปัญหาอาชญากรรมทุกๆ วัน ฆ่านักท่องเที่ยวต่างประเทศเป็นข่าวไปทั่วโลก วัยรุ่นตีกันปล้นร้านทอง ผู้บัญชาการตำรวจทำอะไรอยู่? ตำรวจไทยเล่นการเมืองได้แต่ต้องรักษาความสงบของประเทศให้ได้

ในขณะเดียวกัน รัฐบาลชุดนี้ ไม่มีความสามารถจะรักษาคุณธรรม จริยธรรมให้สังคมไทยไว้

มีปัญหาสังคมมากมาย รัฐบาลคุณปูคงไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคมได้ เพราะเน้นแต่ดูแลพี่ชาย และมีการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่มีอย่างไม่หยุดหย่อน

สุดท้าย ฝ่ายค้านก็ทำสำเร็จที่สามารถให้ ครม.โยนเรื่อง Nasa เข้าสภาฯ และรัฐบาลอเมริกาก็ขอถอนเรื่องไป อะไรที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติต้องระวัง

ปัญหา เอาอยู่หรือไม่ เรื่องน้ำท่วมปีนี้ ประสบการณ์ปีที่แล้วคงช่วยได้บ้าง แต่ก็ต้องไม่ประมาท เพราะในช่วงที่ผ่านมารัฐบาลคุณปูยังไม่ได้ทำอะไรให้ประชาชนอุ่นใจเรื่องน้ำท่วมเลย

และสุดท้าย ภาวะเศรษฐกิจของยุโรป ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบทางลบอย่างร้ายแรงแก่ประเทศไทย

ทั้งหมดนี้คือ วิกฤติซึ่งปัจจุบันมีหลายแนวและที่สำคัญที่สุดคือ ไม่ได้มาแล้วหายไป วิกฤติจะอยู่กับคนไทยอีกนานและถาวร

การป้องกันตัวเองมีภูมิคุ้มกัน สามัคคีกันไว้ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและมีความสามารถในการสร้างอะไรใหม่ๆ เพิ่มมูลค่าในการต่อสู้กับวิกฤติเหล่านี้ ประเทศก็อยู่รอด

ดังนั้น

*คุณธรรม จริยธรรม มาอันดับหนึ่ง

*ปัญญา มาอันดับสอง

*ความสุขในการทำงาน มาอันดับสาม

*การสร้างเครือข่าย มาอันดับสี่

*การมองความยั่งยืน มาอันดับห้า

เมื่อมีคุณสมบัติของทุนมนุษย์ดังกล่าวแล้ว ควรเพิ่ม Creativity (ความคิดสร้างสรรค์) และนวัตกรรม (Innovation) เพื่อก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคง และสร้างมูลค่าเพิ่ม

ยกตัวอย่างในการทำงานของผมในช่วงที่ผ่านมา ได้มีโอกาสช่วยองค์กรหลายแห่ง เพื่อพัฒนาศักยภาพของทุนมนุษย์ เพื่อรู้และรองรับกับวิกฤติดังกล่าวที่ผ่านมา 4 เรื่อง

ท่านผู้อ่านลองพิจารณาดู เป็นเรื่องๆ เพื่อนำไปคิดและทำเพื่อผนึกกำลังของสังคมไทยให้อยู่รอด เพราะผมเห็นว่า ทุกๆ คนในประเทศต้องมีพื้นที่มีบทบาทที่เหมาะสม

ข้อเสียของรัฐบาลชุดนี้ก็คือใจแคบ ใครที่ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของรัฐบาล ก็ปิดหูปิดตาสื่อของรัฐก็มีหน้าที่สกัดกั้นความคิดดีๆของกลุ่มอื่นๆ และปิดหูปิดตาประชาชน

กรณีศึกษาเรื่องแรก คือ ที่ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา

-ประการแรก ต้องขอขอบคุณอาจารย์วิชา มหาคุณ และศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ ที่กรุณาให้เกียรติผมและทีมงานอีก 2 คนไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้นำราชการและเอกชน 70 คน ที่เป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่เน้นการต่อต้านการคอร์รัปชั่น

ประเด็นคือถ้า AEC เปิดแล้ว การฉ้อราษฎร์บังหลวงของไทยจะลดลงหรือไม่?

ศ.ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการ ป.ป.ช.บอกว่า ปัจจุบันในอาเซียนมีการร่วมมือกันระหว่าง 10 ประเทศอย่างหลวม เป็นตัวแทนป.ป.ช. เสนอให้ทั้ง 10 ประเทศลงนามสัตยาบันต่อต้านคอร์รัปชั่นร่วมกันและทำให้งานในอนาคตเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ตัวอย่างคือในระดับ

-European Union : EU มีการลงสัตยาบันร่วมกันเรื่องต่อต้านคอร์รัปชั่น

-ใน APEC ก็มี

-และในอเมริกาเหนือ ก็มีสัตยาบันดังกล่าว

ส่วนตัวผมเองและคณะผู้อภิปรายได้เสนอแนวทางไปว่า

ถ้าเราสนใจเรียนรู้บทบาทของประเทศที่มีการคอร์รัปชั่นน้อยกว่าเรา เช่น สิงคโปร์หรือมาเลเซีย เราก็อาจจะเปรียบเทียบ Benchmark กับประเทศเหล่านั้นและปรับปรุงการแก้ปัญหาไม่ให้เกิดขึ้น

แต่ข้อเท็จจริงคงไม่ง่ายเพราะประเทศไทยยังมีระบบอุปถัมถ์และการเมืองแบบใช้เงิน (Money Politics) มีมากอยู่คงหวังจะให้อาเซียนมาช่วยเราคงไม่ได้ง่ายๆ

แต่มีทางออก 2-3 ทาง ซึ่งเป็นระยะยาวคือ

สร้างค่านิยม (Value) ให้เยาวชนไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับอาเซียน มีข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม จัดแคมป์เยาวชนอาเซียนเพื่อสร้างค่านิยมในการต่อต้านคอร์รัปชั่นต่อไป เพราะปัจจุบันคนรุ่นใหม่คิดว่าการคอร์รัปชั่นเป็นของธรรมดา ถ้าประชาชนยังได้ประโยชน์ซึ่งไม่ถูกต้อง

-กรณีศึกษาอีกเรื่องหนึ่งคือ ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งผมทำหลักสูตรพัฒนาผู้นำ รุ่น 8 จำนวน 32 ท่าน เรียน 4 เดือนได้จบลงไปอย่างเรียบร้อยแล้ว

จุดแข็งของโครงการนี้คือ เน้นความต่อเนื่องและเน้นการทำงานในยุคใหม่ โดยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน

ยิ่งกว่านั้น การจะให้สำเร็จได้ก็ต้องสร้างองค์กร กฟผ.ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง เพื่อปรับทัศนคติให้ทันกับเหตุการณ์ต่างๆ

ผมสังเกตว่า วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ผมปลูกฝังไว้ น่าจะทำให้ผู้นำใน กฟผ. นำไปปูพื้นให้ผู้นำในอนาคตของ กฟผ.ได้

-กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มผู้นำที่การเคหะแห่งชาติ ซึ่งผมมีความภูมิใจมากที่มีโอกาสได้เห็นผู้นำรุ่นปัจจุบันได้สะสมความรู้มากมาย
และกำลังจะถ่ายทอดไปยังรุ่นใหม่ๆ เพราะผู้บริหารการเคหะแห่งชาติขาดช่วง ภายใน 5 ปี ก็จะเกษียณอายุเกือบหมด

แต่คนรุ่นใหม่ที่จะมาแทนที่คนรุ่นเก่าต้องทำงานเชิงรุกมากขึ้น แต่มีประเด็นท้าทายมากมาย เช่น

-การเคหะในยุค AEC

-การเคหะในยุคปัญหาน้ำท่วม

-การเคหะที่ใช้ประสบการณ์ในการดูแลชุมชนแออัดต่อไป

-การจะฟื้นศรัทธาที่เสียไปกับนโยบายการเมืองในอดีต เช่น บ้านเอื้ออาทร ผมภูมิใจมากที่มีโอกาสได้รู้จักผู้นำประมาณ 70 ท่านอย่างใกล้ชิดที่การเคหะแห่งชาติ

-กรณีศึกษาสุดท้ายที่มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นการบรรยาย และ Workshop เรื่องทุนมนุษย์กับนักศึกษาปริญญาเอกและโทและคณาจารย์ ซึ่ง

-คณะวิทยาการจัดการของมหาวิทยาลัยศิลปากรอาจจะใหม่แต่มีนักปริญญาเอก โท และตรีที่เข้มแข็งมีคุณภาพน่าพอใจ

-คณาจารย์สนใจที่จะดึงคนเก่งๆ จากข้างนอกมาช่วยในการแสดงความเห็น

การทำเรื่องทุนมนุษย์ในอนาคตของผมต้องมีมหาวิทยาลัยที่สนใจเรื่องเหล่านี้ร่วมมือและทำวิจัยให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง

มีข้อสรุปที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ว่า

ทุนทางจริยธรรม สำคัญมาก

ทุนแห่งความสุข ก็สำคัญมาก

แต่ที่สำคัญมากกว่านั้น เมื่อมี 2 ทุนหลักแล้ว ต้องเน้นที่การสร้างสรรค์ Creativity และ นวัตกรรม Innovation เพื่อให้ HR
มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมหาวิทยาลัยศิลปากรมีความชำนาญอยู่แล้ว

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181

หมายเลขบันทึก: 493313เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2012 16:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทุนความสุข สำคัญมาก ทำอย่างไรให้เกิดความสุขจริงๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท