May
นางสาว ณัฐกานต์ โกเสนตอ

หน่วยของรังสีและกัมมันตรังสี


หน่วยของรังสีและกัมมันตรังสี

ปริมาณ
หน่วยเดิม
หน่วยใหม่ (SI unit)
กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)
คูรี (Ci)
เบคเคอเรล (Bq)
รังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed dose)
แรด (Rad)
เกรย์ (Gy)
รังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure)
เรินท์เกน (R)
คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม (C/kg)
รังสีสมมูล (Dose Equivalent)
เรม (Rem)
ซีเวิร์ต (Sv)
 
 
 
 

 

    ปริมาณกัมมันตภาพรังสีในขณะใดขณะหนึ่งวัดได้โดยวัดรังสีที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ซึ่งเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงทางนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น หน่วยของปริมาณกัมมันตภาพรังสีเดิมอาศัยการเกิดการเปลี่ยนแปลงทางนิวเคลียร์ของธาตุเรเดียมหนัก 1 กรัม ซึ่งเท่ากับ 3.7x1010 disintegration per second เรียกว่า 1 คูรี (Ci)
                            1 คูรี (Ci) = 3.7x1010ครั้งต่อวินาที่ (s-1)
     กัมมันตภาพรังสี 1 คูรี มีค่าสูงมาก โดยทั่วไปจะใช้หน่วยย่อยของคูรี เช่น mCi (millicurie), Ci (microcurie), nCi (nanocurie) และ pCi (picocurie)
                    1 Ci = 1000 mCi,    1 Ci = 1000 nCi,     1 nCi = 1000 pCi
 
      ต่อมาใช้ SIunit หน่วยของกัมมันตรังสี ควรจะเป็น s-1แต่ให้ใช้ชื่อเฉพาะว่า เบคเคอเรล (Bq) ดังนั้น
                         1 (Bq) = 1s-1 และ 1 Ci = 3.7x1010Bq
       1 Bq = การให้รังสีออกมา 1 ครั้งต่อวินาที
     กัมมันตภาพรังสี 1 เบคเคอเรล มีค่าน้อยมาก โดยทั่วไปจะใช้หน่วยที่เป็นจำนวนหลายเท่าของเบคเคอเรล เช่น kBq (kilobecquerel), MBq (megabecquerel) และ GBq (gigabecquerel)
                   1 kBq = 1000 Bq,   1 MBq = 1000 kBq,    1 GBq = 1000 MBq
 

 ผลกระทบจากรังสีต่อร่างกาย

ปริมาณรังสี(มิลลิซีเวิร์ต)
อาการ
2.2
เป็นระดับรังสีปกติในธรรมชาติ ที่มนุษย์แต่ละคนได้รับใน 1 ปี
5
เกณฑ์สูงสุดที่อนุญาตให้สาธารณชนได้รับใน 1 ปี
50
เกณฑ์สูงสุดที่อนุญาตให้ผู้ปฏิบัติงานทางรังสีได้รับใน 1 ปี
250
ไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
500
เม็ดเลือดขาวลดลงเล็กน้อย
1,000
มีอาการคลื่นเหียน และอ่อนเพลีย เม็ดเลือดขาวลดลง
3,000
อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสีย เม็ดเลือดขาวลดลง ผมร่วง เบื่ออาหาร ตัวซีด คอแห้ง มีไข้ อายุสั้น อาจเสียชีวิตภายใน 3-6 สัปดาห์
6,000
อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องร่วงภายใน 1-2 ชั่วโมง เม็ดเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว ผมร่วง มีไข้ อักเสบบริเวณปากและลำคออย่างรุนแรง มีเลือดออก มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50% ภายใน 2-6 สัปดาห์
10,000
มีอาการเหมือนข้างต้น ผิวหนังพองบวม ผมร่วง เสียชีวิตภายใน 2-3 สัปดาห์
 
 
 
ที่มา; http://www2.egat.co.th/ned/index.phpoption=com_content&view=article&id=164&Itemid=172
http://www.nst.or.th/article/article493/article493020.html

 

หมายเลขบันทึก: 493047เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 17:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท