May
นางสาว ณัฐกานต์ โกเสนตอ

ความแตกต่างระหว่างวัคซีนกับเซรุ่ม


         วัคซีน มาจากคำว่า  Vacca  ซึ่งเป็นภาษาละติน แปลว่า  วัว

         วัคซีนถูกค้นพบครั้งแรกโดยแพทย์ชาวอังกฤษชื่อ Edward Jenner ซึ่งพบว่าการใช้หนองจากวัวที่เป็นโรคฝีดาษมาใส่ในร่างกายคน จะสามารถป้องกันโรคฝีดาษในคนได้

   วัคซีนเป็นสารที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโรคให้แก่คนหรือสัตว์ โดยจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา  วัคซีนอาจได้มาจากตัวเชื้อโรคโดยตรงหรือส่วนประกอบของเชื้อนั้น หรือสารที่เชื้อนั้นผลิตขึ้นแล้วนำมาทำให้หมดฤทธิ์ที่จะทำให้เกิดโรคนั้น โดยนำมาฆ่าให้ตายด้วยความร้อนหรือใช้สารบางอย่างทำให้หมดฤทธิ์ เช่น วัคซีนไทฟอยด์ อหิวาห์ ไอกรน เป็นต้น หรือโดยการนำตัวเชื้อมาทำให้อ่อนฤทธิ์ลงแต่ยังไม่ตาย เช่น วัคซีน BCG หัด โปลิโอ เป็นต้น

          ส่วนเซรุ่ม  เป็นสารที่แยกได้จากเลือดโดยการเจาะเลือดจากสัตว์  แล้วตั้งทิ้งไว้ระยะหนึ่งเลือดจะแยกเป็นสองส่วน คือส่วนที่จับกันเป็นก้อนและส่วนที่เป็นน้ำใสซึ่งเราเรียกว่าเซรุ่ม

  การเตรียมเซรุ่มสำหรับแก้โรคใดนั้น ทำโดยการฉีดเชื้อโรคหรือสารที่ก่อให้เกิดโรคนั้นเข้าสู่ร่างกายของสัตว์ สัตว์จะสร้างสารขึ้นต่อต้านโรคนั้น  สารนี้จะพบอยู่ในส่วนที่เป็นน้ำใสของเลือด  เมื่อแยกส่วนที่เป็นน้ำใสนี้ออกมาก็จะทำให้ได้เซรุ่มสำหรับโรคนั้นและเมื่อนำเซรุ่มไปฉีดให้คน ก็จะทำให้คนมีภูมิต้านทานต่อสู้โรคนั้นได้

          การให้เซรุ่มเป็นการเสริมภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย  โดยที่ร่างกายไม่ต้องสร้างขึ้นเองต่างกับการให้วัคซีน เพราะวัคซีนจะเป็นตัวกระตุ้นให้คนสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา  โดยทั่วไปแล้วการให้เซรุ่มจะให้ในกรณีที่การให้วัคซีนไม่ได้ผล หรือผลไม่ทันการณ์ เช่น คนถูกตะปูขึ้นสนิมตำ ถูกงูพิษกัด นอกจากนี้ยังมักให้ในกรณีของคนที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องด้วย

 

ที่มา;http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1

 

คำสำคัญ (Tags): #วัคซีน#เซรุ่ม
หมายเลขบันทึก: 493045เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 17:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กรกฎาคม 2012 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท