ร่องรอยของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ชุมพร


ร่องรอยของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ที่ชุมพร

สงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มต้นขึ้นในยุโรปเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๔๘๒ ซึ่งเป็นวันที่เยอรมันบุกยึดโปแลนด์ ในช่วงเวลานั้นมีการแบ่งประเทศออกเป็น ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ฝ่ายสัมพันธมิตรมีผู้นำ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา ส่วนฝ่ายอักษะประกอบด้วยเยอรมัน อิตาลี บัลกาเรีย โรมาเนีย โปแลนด์ ฮังการี และญี่ปุ่น สงครามได้ขยายอาณาเขตจากยุโรปเข้าสู่แอฟริกาและลุกลามสู่เอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย

วันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ กองทัพญี่ปุ่นได้เคลื่อนกำลังพลเข้าสู่ประเทศไทยทั้งทางบกและทางน้ำ สำหรับทางบกนั้นญี่ปุ่นได้เข้ามาทางพระตะบองและพิบูลสงคราม ส่วนทางน้ำได้เข้ามาทางสมุทรปราการ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร  สุราษฎธานีย์ นครศรีธรรมราช สงขลา และปัตตานี

จากการที่ทหารญี่ปุ่นเคลื่อนกำลังพลขึ้นบกที่ชุมพร ทำให้เกิดวีรกรรมยุวชนทหาร ซึ่งเป็นการร่วมรบเพื่อปกป้องดินแดนของทหาร ตำรวจ พลเรือน และยุวชนทหาร ณ บริเวณสะพานท่านางสังข์และที่วัดท่ายางใต้ จากการเคลื่อนพลของทหารญี่ปุ่นเข้าสู่ชุมพรทำให้เกิดเหตุการ์ณต่างๆ ตามมา เช่น

  • ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตจากการรบที่สะพานท่านางสังข์ จำนวน ๑๑ นาย และได้มีการนำศพทหารไปฝั่งไว้ ณ บริเวณโรงเรียนศรียาภัย ในบ่อขุดที่ยุวชนทหารใช้สำหรับฝึกยิงปืน หลังจากการปะทะ ๒-๓ วัน ทหารญี่ปุ่นก็นำศพทั้งหมดขึ้นมาเผา ส่วนศพทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตที่วัดท่ายางใต้ถูกนำลงเรือเพื่อจัดการกับศพต่อไป 
  • เมื่อการปะทะในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๘๔ ยุติลง ทหารญี่ปุ่นได้เคลื่อนพลขึ้นบกและเข้าพักที่โรงเรียนสตรีสอาดเผดิมวิทยา(ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลชุมพร), โรงเรียนช่างไม้(ปัจจุบันคือวิทยาลัยเทคนิค) และโรงเรียนชุมพรศรียาภัย(ปัจจุบันคือโรงเรียนศรียาภัย) โรงเรียนทั้ง ๓ แห่งเคยเป็นที่พักของทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มาก่อน
  • ทหารญี่ปุ่นได้สร้างค่ายพักทหารในจังหวัดชุมพรที่บริเวณวิทยาลัยเทคนิค ริมคลองม่วงค้อมใกล้สถานีรถไฟชุมพร และที่เนินเขาสามแก้ว  
  • มีการทิ้งระเบิดจากฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งลูกระเบิดพลาดเป้า ๒ – ๓ ลูก ไปตกบริเวณโรงแรมภราดรอิน(ในปัจจุบัน) ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตประมาณ ๑๐ คน
  • จากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำให้เกิด “เศรษฐีสงคราม” หมายถึง คนที่รับเหมาส่งไม้หมอนรถไฟ หิน และอาหารให้ทหารญี่ปุ่น คนกลุ่มนี้มีรายได้ดีมีเงินใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
  • ทหารญี่ปุ่นได้นำกรรมกรจีน แขกกลิงค์ มาจากมลายูและสิงคโปร์ กรรมกรเหล่านี้มีเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้คนหนาแน่นในจังหวัดชุมพร เมื่อมีคนจำนวนมากแต่ไม่สามารถผลิตอาหารข้าวของเครื่องใช้ได้ทันตามความต้องการ เนื่องจากตกอยู่ในภาวะสงคราม ส่งผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง ขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค คนบางกลุ่มไม่มีเสื้อผ้าใส่ต้องใช้กระสอบแทนเสื้อผ้า ขาดแคลนอาหารและยารักษาโรค

สงครามโลกครั้งที่ ๒  ยุติลงในปีพ.ศ.๒๔๘๖ ผลจากสงครามได้สร้างความสูญเสียให้กับฝ่ายอักษะ ฝ่ายสัมพันธมิตร และประเทศที่ต้องเข้าร่วมสงครามอย่างประเทศไทย มีผู้บาดเจ็บล่มตายเป็นจำนวนมาก ทรัพย์สินตึกรามบ้านช่องได้รับความเสียหาย ผู้คนได้รับผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจจากสงคราม สงครามโลกครั้งที่ ๒ จึงเป็นเหตุการ์ณสำคัญที่คนทั้งโลกไม่อาจจะลืมเลือนถึงความโหดร้ายที่เกิดขึ้นได้    

หมายเลขบันทึก: 492925เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 13:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบอ่าน "ประวัติศาสตร์สงคราม" จริง ๆ ครับ

ขอบคุณครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท