พัฒนาชุดกิจกรรมในยุค IT ด้วย เทคนิค AR


พัฒนาชุดกิจกรรมในยุค IT ด้วย เทคนิค AR

พัฒนาชุดกิจกรรมในยุค IT ด้วย เทคนิค AR

ปนัดดา  ญาณกิจ

 นิสิตปริญญาโทชั้นปีที่ 2

สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา     มหาวิทยาลัยนเรศวร

              ถ้าพูดถึงนวัตกรรมการสอนที่ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายและได้ยินกันบ่อยครั้งคงนี้ไม่พ้น   ชุดการสอนหรือชุดกิจกรรม ซึ่งมาจากคำว่า Instructional Package หรือ Learning Package เป็นสื่อที่ครูนำมาใช้ประกอบการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการเรียนการสอน  ซึ่งครูหลายๆคนคงมีความคิดเห็นตรงกันว่าเป็นนวัตกรรมการสอนที่นำมาใช้ได้จริง ซึ่งชุดกิจกรรมที่สร้างขึ้นมาก็มีหลากหลายรูปแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้เรียนและบริบทของสถานศึกษาด้วยว่ามีความเอื้ออำนวยการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมมากน้อยเพียงใด

            เราลองมารู้จักชุดกิจกรรมในยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและสารสนเทศว่าควรจะมีรูปแบบของการพัฒนาชุดกิจกรรมไปในด้านใดได้บ้าง ก่อนอื่นลองมาดูความหมายของชุดกิจกรรมกันก่อนว่าเป็นนวัตกรรมการสอนที่มีลักษณะเป็นอย่างไร

           ชุดกิจกรรม หมายถึง  สื่อประเภทหนึ่งซึ่งมีจุดมุ่งหมายเฉพาะเรื่องที่จะสอนเท่านั้น ชุดกิจกรรมจึงเป็นนวัตกรรมการใช้สื่อการสอนแบบประสมโดยอาศัยระบบบูรณาการสื่อหลายๆอย่างเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ  อ้างอิง (สุนันทา  สุนทรประเสริฐ( 2545 )  จะเห็นได้ว่าชุดกิจกรรมเป็นการนำสื่อการสอนหลายสื่อมาบูรณาการเข้าด้วยกัน ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนว่าจะนำสื่อในรูปแบบใดมาประยุกต์ ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดจนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายกับความเป็นอยู่ สังคมและการใช้ชีวิตในทุกวงการ ทุกอาชีพ เช่นเดียวกับวงการการศึกษา เทคโนโลยีก็มีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ความรู้ ความสามารถและทักษะความชำนาญในด้านต่างๆเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศมากที่สุด คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 

          ซึ่งปัจจุบันความเจริญของเทคโนโลยีมีสูงมาก มีการขยายขอบเขตการประมวลผลข้อมูลไปสู่การสร้างและการผลิตสารสนเทศซึ่งเรียกว่า ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology : IT) หรือยุคไอที  ด้านการศึกษานั้นได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการจัดการเรียนการสอนเช่น การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI),การศึกษาทางไกล เป็นต้น  เช่นเดียวกับชุดกิจกรรมที่มีการนำสื่อด้านเทคโนโลยีมาประกอบการเรียนการสอนตัวอย่าง เช่น การใช้วีดิทัศน์ , หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-book), บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน      สื่อเทคโนโลยีที่มีความแปลกใหม่ที่อยากจะแนะนำให้ผู้อ่านได้รู้จักและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชุดกิจกรรมเพื่อให้เกิดเป็นสื่อประสมที่น่าสนใจเร้าใจผู้เรียนในยุค IT ก็คือ  เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality)หรือเรียกสั้นๆว่า AR  มาจัดการเรียนรู้ เป็นมิติใหม่ทางด้านสื่อการศึกษา  สร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่ และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ได้เพิ่มมากขึ้น   เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง (Augmented Reality) เป็นเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Reality)และความเสมือนจริง (Virtual) เข้าด้วยกัน ผ่านวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Webcam, Computer,Pattern, Software และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ มอนิเตอร์ โปรเจคเตอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผล โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมได้ทันที อาจมีลักษณะทั้งที่เป็นภาพนิ่ง 3 มิติ ภาพเคลื่อนไหว และรวมถึงภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบ สามารถนำองค์ความรู้ด้าน AR มาประยุกต์สร้างสื่อแผ่นพับเพื่อเป็นสื่อการสอนได้(อ้างอิงจากดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า : 2553)

      ภาพองค์ประกอบของการแสดงผลภาพ 3 มิติแบบ Augmented Reality (AR)

 

                                            

 

แหล่งที่มา : http://www.lemoninteractive.co.uk/augmentedrealityservices.shtml

        จะเห็นได้ว่าเราสามารถบูรณาการสื่อ AR เข้ากับสื่ออื่นๆ ได้ เช่น บูรณาการเข้ากับสื่อแผ่นพับ ทำให้สื่อแผ่นพับซึ่งเป็นสื่อเก่าเสนอข้อมูลได้เพียงแค่ตัวอักษรและภาพและเป็นสื่อทางเดียว ให้มีศักยภาพของความเป็นสื่อเพิ่มขึ้นกลายเป็นมัลติมีเดีย มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ประกอบด้วยภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว หรือโมเดล 3 มิติ สุดแล้วแต่การออกแบบสื่อนั้นๆ ว่าต้องการให้แสดงผลเป็นอย่างไร(อ้างอิง ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า : 2553)

     บทบาทของเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริงในด้านการศึกษา พบว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการศึกษา ให้ข้อมูลสาระด้านการศึกษากับผู้เรียนได้ทันที ผู้เรียนได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ในมิติที่เสมือนจริง ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน ครูผู้สอนเสริมสร้างความรู้ของผู้เรียนผ่านการสาธิต การสนทนา รูปแบบการเรียนรู้จะปรับเปลี่ยนเป็นโลกเสมือนผสานโลกจริงมากขึ้นส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจลึกซึ้งในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ สถานศึกษา นักวิชาการศึกษาและครูผู้สอนจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการนำเทคโนโลยีเสมือนผสานโลกจริงมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนได้รับมีประสบการณ์มากขึ้นโดยการเชื่อมโยงเนื้อหาที่ได้เรียนรู้กับสถานที่หรือวัตถุที่เฉพาะเจาะจงเหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียนรู้ด้วยภาพสามมิติ โดยการผนวกเข้ากับการเรียนรู้แบบสำรวจด้วยเทคโนโลยีมือถือและอุปกรณ์สมัยใหม่ ที่ทำให้การเรียนสามารถจะขยายออกหรือย้ายการเรียนรู้สู่นอกห้องเรียนมากขึ้น    (อ้างอิงดร.วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ ,2554)    

 เทคนิคโลกเสมือนผสานโลกจริงหรือ AR ถ้าให้เข้าใจง่ายคือการสร้างภาพ 3 มิติเสมือนจริง ซึ่งสามารถนำมาใช้ในชุดกิจกรรมได้โดยการออกแบบสื่อ ในองค์ประกอบของชุดกิจกรรมเกี่ยวกับรูปภาพเป็นสามมิติ เพื่อสร้างประสบการณ์สามมิติที่ตื่นตาตื่นใจและน่าจดจำให้กับผู้เรียน ผ่านจอแสดงผลรูปแบบต่างๆให้ปรากฎขึ้นมาจริง เสมือนว่าวัตถุนั้นอยู่ตรงหน้าเราจริงๆ

            ซึ่งการสร้างภาพโลกเสมือนผสานโลกจริงจะมีโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างคือ

1. Google  sketchup    เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบภาพสามมิติที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในวงการออกแบบมีรูปแบบการใช้ง่ายและสะดวก ขนาดไฟล์ไม่ใหญ่ประมวลผลเร็วมีลักษณะการสร้างภาพสามมิติจากรูปทรงเรขาคณิต โดยนำมาประกอบให้เกิดรูปร่างตามความต้องการ

2. Amire   เป็นโปรแกรมสำหรับตั้งค่าการแสดงผลและการแสดงภาพสามมิติรวมทั้งออกแบบรหัส Markerที่ได้กำหนดไว้และแสดงผลออกมาเป็นโปรแกรมที่สำคัญมากสำหรับการออกแบบและแสดงผลสามมิติ

3.Photoshop  เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบรูปภาพ

(อ้างอิงจากงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาหนังสือเสริมบทเรียนด้วยเทคนิคภาพเสมือนผสานโลกจริง ของภานุวัฒน์ อยู่ดีและคณะ คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร.2554)

สำหรับข้อดีและข้อเสียของเทคนิค AR ในการนำมาสร้างภาพสามมิติพบว่ามีข้อดีดังนี้(อ้างอิง ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า : 2553)

1. สื่อสารกับผู้รับได้โดยตรง

2. มีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักน้อย พกพาได้สะดวก

3. ออกแบบให้มีสีสันสวยงามได้

4. ต้นทุนการผลิตต่ำ

ส่วนข้อเสียสำหรับเทคนิคนี้

1. ตัวสื่อประกอบด้วยภาพนิ่ง และข้อความเท่านั้น

2. ยังไม่สามารถสร้างเป็นสื่อมัลติมีเดียได้

3. เป็นสื่อเฉพาะบุคคล ไม่สามารถกระจายในวงกว้างได้

4. ผู้อ่านให้ความสนใจน้อย         

            จะเห็นได้ว่ารูปแบบการสร้างชุดกิจกรรมร่วมกับการใช้เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้น หากครูผู้สอนมีการพัฒนาความรู้และสืบเสาะอย่างต่อเนื่องเราจะสามารถพัฒนา นวัตกรรมการเรียนการสอนได้อย่างทันสมัยทั้งนี้ประโยชน์ที่ได้จากการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ คงจะหนีไม่พ้นผู้รับอย่างนักเรียนและเยาวชนผู้ซึ่งเป็นทรัพยากที่สำคัญในการพัฒนาให้ประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองต่อไปในทุกด้าน 

...............................................................................................................................................................

เอกสารอ้างอิง

ดร.ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. ( 2553)ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา ม.เกษตรศาสตร์บางเขน

สืบค้นจาก  http://www.drpaitoon.com/wp-content/Documents/AR/prochure.pdfเมื่อวันที่  22  กุมภาพันธ์  2555

ดร.วิวัฒน์ มีสุวรรณ์ .(2554).การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง.วารสารศึกษา .มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สืบค้นจาก  http://www.edu.nu.ac.th/wiwatm/  เมื่อวันที่  22  กุมภาพันธ์  2555

ภานุวัฒน์ อยู่ดีและคณะ เรื่อง การพัฒนาหนังสือเสริมบทเรียนด้วยเทคนิคภาพเสมือนผสานโลกจริง.คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร.2554)

สุนันทา  สุนทรประเสริฐ.( 2545).การเขียนแผนการสอนแนวปฏิรูปการศึกษาตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542. สุพรรณบุรี : ริมปิง.

สืบค้นจาก   http://www sornordon.wordpress.com   เมื่อวันที่  22  กุมภาพันธ์  2555

 

หมายเลขบันทึก: 492896เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2012 11:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท