ต้นฉบับพระไตรปิำฏก ร.ศ. ๑๑๒


ตามรอยพระไตรปิฎก รศ.๑๑๒
เหตุผลที่รัชกาลที่ 5 พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับนี้ ทรงเห็นว่า รอบบ้านเราเวลานั้นกำลังตกเป็นเมืองขึ้น
ของชาติตะวันตก พระองค์ทรงเห็นบ้านเราคงจะไม่ปลอดภัย จึงได้เชิญพระเถระผู้ใหญ่ เสนาบดี ข้าราชการทุกฝ่ายมาประชุม ที่ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ทำอย่างไร
จึงจะช่วยกันรักษาเอกราชของชาติไว้ให้ได้ พระไตรปิฎกฉบับนี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาอธิปไตยของชาติ ได้ประกาศให้นานาชาติรู้ว่าประเทศสยามมีศาสนา มิใช่บ้านป่าเมืองเถื่อนอย่างที่พวกต่างชาติคิด

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกอักษรสยาม ฉบับจุลจอมเกล้าบรมธรรมิกมหาราชขึ้น เนื่องในการฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 25 ปี ในปี ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) จำนวน 1,000 ชุด ชุดละ 39 เล่ม สำหรับพระราชทานพระอารามในประเทศ 500 ชุดและพระราชทานสถาบันสำคัญของต่างประเทศอีก 260 สถาบัน จาก 30 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือว่าเป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกบาฬีชุดแรกในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาโลก

ที่สำคัญภายในพระไตรปิฎกฉบับจุลจอมเกล้าทุกๆเล่มจะต้องมีภาพพิมพ์หินของพระองค์ในโอกาศที่เฉลิมฉลองครองราชย์ครบรอบ 25 ปีของพระองค์

และภายในเล่ม จะมีชื่อสถานที่ที่พระองค์พระราชทานไปทุกเล่ม ไม่ว่าจะเป็นวัดในประเทศ และหอสมุดในต่างแดน

หมายเลขบันทึก: 492386เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท