KM..สสจ.<1>: ศึกษากระบวนการ KM สสจ.กาฬสินธุ์


       ดิฉันได้รับการติดต่อจากคุณโชคชัย  มงคลสินธุ์ จากสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ไปร่วมเป็นวิทยากรกระบวนการ KM ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายการเรียนรู้  สสจ.กาฬสินธุ์วันที่ 12 กันยายน 2549 ที่จะถึงนี้ที่ ณ ห้องทศพร  โรงแรมริมปาว  อำเภอเมืองกาฬสินธุ์...

       คุณโชคชัยเล่าให้ฟังว่า ที่ สสจ. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์นั้นมีความต้องการที่อยากจะนำกระบวนการการจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์การ..โดยได้เริ่มทำดำเนินโครงการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 สิ้นสุดโครงการวันที่ 30 กันยายน 2549 และจะมีการขยายผลต่อ...คุณโชคชัยเล่าให้ฟังว่า...การทำ KM ของ สสจ. นี้ทำเพื่อตอบโจทย์ของ พรพ. ให้ไว้..ซึ่งดิฉันกำลังศึกษาในรายละเอียดของกระบวนการ แต่เท่าที่ศึกษาดูในเบื้องต้นจากเอกสาร และผลการดำเนินงาน และสรุปงานที่คุณโชคชัยส่งมาให้ดูนั้น...เหมือนมุ่งตรงไปตามตัวชี้วัด...

       แต่จากการศึกษาตามรายงานที่แนบมาให้ดิฉันศึกษาก่อนลงพื้นที่นั้น...ดิฉันมองว่าเป็นเรื่องที่ยอดเยี่ยมมากสำหรับความตั้งใจและเจตนาที่ดีงานที่ทางองค์การนี้อยากจะทำ...คุณโชคชัยเล่าให้ฟังว่า.."Out putจริงคือต้องการขยับงานคุณภาพของสถานบริการ "..."เราตอบโจทย์ที่ให้ไว้กับ พรพ.ตอนทำโปรเจค"...


มี...COP ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6 CoP...คือ
1. DM
2. AIDS
3. Asthma
4. TB
5. IC
6. R/M

       แต่ดิฉันยังไม่ทราบว่ากระบวนการแต่ละ CoP นั้นเป็นอย่างไร มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ KM สู่การปฏิบัติกันอย่างไร...คาดว่าวันที่ 12 กันยายน นี้จะทราบ...ระหว่างนี้ดิฉันอาศัยการวิเคราะห์กระบวนการจากรายงานที่ทางคุณโชคชัยส่งมาให้ดูก่อน...จากนั้นการร่วมลงไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีที่จะถึงนี้คงได้ภาพชัดของกระบวนการ KM ที่ทาง สสจ.กาฬสินธุ์ดำเนินอยู่...ก็น่าจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางในการขับเคลื่อน KM ขององค์การต่อไป...

แต่ตอนนี้มี Issue ที่ติดค้างและสงสัยในตนเองเมื่อได้มาพบ..ข้อมูลที่ว่า

วัตถุประสงค์ของการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
๑. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มเครือข่าย นำปัญหาหรือประเด็นที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนาคุณภาพของแต่ละกลุ่มเครือข่ายมาทบทวนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
๒. การเรียนรู้ที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดได้หลายรูปแบบ เช่นการเรียนรู้จากการทบทวนความเสี่ยง การเรียนรู้จากกลุ่มที่มีความสนใจร่วมกัน หรือกลุ่มหน่วยงานเดียวกัน มีความสนใจร่วมกัน
๓. กลุ่มเครือข่ายนำข้อสรุปจากการเรียนรู้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพในจังหวัด มีระบบการติดตาม การทบทวน
๔. ในโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องโดยใช้ฐานองค์ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ เป็นตัวช่วยในการพัฒนาให้มีอัตราเร็วมากยิ่งขึ้น
๕. จากการเรียนรู้นั้นโรงพยาบาลจะสามารถใช้กระบวนการHA มาเป็นกระบวนการสำคัญที่จะพัฒนาHPH ให้เกิดขึ้นได้


ในรายงานส่วนหนึ่งที่ทางโครงการได้ประเมินและสรุปสาเหตุที่ไม่บรรลุตามเป้าหมาย
1. กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีคุณกิจที่ทำหน้าที่เป็นผู้เล่าเรื่อง (Telling Story) น้อย และมีองค์ความรู้ที่จะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวนน้อย
2. คุณกิจที่เข้าร่วมกระบวนการฝึกปฏิบัติการจัดการความรู้เป็นผู้ที่ไม่เคยผ่านกระบวนการอบรมความรู้มาก่อน ทำให้ไม่เข้าใจในกระบวนการ และการเตรียมการเข้าร่วมกิจกรรม
3. คุณอำนวยที่ผ่านกระบวนการทั้งสร้างองค์ความรู้และฝึกกระบวนการเป็นคุณอำนวยเมื่อกลับไปยังหน่วยงานของตนไม่มีการถ่ายทอดและฝึกคุณกิจในชุมชนนักปฏิบัติต่าง ๆ ที่หน่วยงานดำเนินการ ทำให้คุณกิจไม่เคยได้รับการเรียนรู้กระบวนการและฝึกทักษะ

       สะท้อนอะไรบางอย่างให้ดิฉันคิดทบทวน..และหาคำตอบโจทย์ในใจที่ทำให้ตนเอง..สะดุดต่อประเด็นนี้...ก่อนที่จะเดินทางไปถึงพื้นที่จริงนั้น...

 

หมายเลขบันทึก: 49207เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2006 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท