แสงสุดท้ายของวัน กับการทำกุศลถวายความรู้แด่พระวิทยากร


แสงสุดท้ายของวัน
กับการทำกุศลถวายความรู้แด่พระวิทยากร
เดินทางไปสถาบันการพัฒนาสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
ในตอนเย็น บรรยากาศดี แต่เย็นนี้ท้องฟ้าปิด มีฝนลงเม็ดเล็กน้อย อยากถ่ายภาพทำอย่างไรดี มีมุมดีๆเสียด้วย
จอดรถสักฟัก มีแสงสุดท้ายของวันลอดผ่านก้อนเมฆในช่วงเวลาสั้นๆ เข้ามา จึงได้ภาพนี้มาฝากครับ





.....

เมื่อ19 มิ.ย. 55 ผมไปทำกุศลถวายความรู้แด่พระวิทยากร
กับเครือข่ายพระวิทยากรอารมณ์ดี
ที่สถาบันการพัฒนาสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
โดยผมได้เล่าประสบการณ์การใช้หลักAI-สุนทรียสาธก
เพื่อค้นหาสิ่งที่ดีๆ ในคน ชุมชนและในองค์กร ครับ
ขอบคุณ อ.สาโรจน์ พึ่งไทย ครูอ๊อฟ วิทยากรนอกกรอบ
ที่เปิดโอกาสให้ได้มาทำกุศลมลถวายความรู้แด่พระวิทยากร ร่วมกันครับ
เป็นบุญวาสนาได้ร่วมทำบุญกับวิทยากรฝีมือดีครับ
วันนี้แม้ท้องฟ้าปิด แต่ยังมีแสงสุดท้ายของวันมาให้ชมครับ

....



มาถึงที่นี่ ผมก็ยังถามหาญาติผู้ไทครับ
เจอเครือญาติผู้ไทจริงๆครับ
มาทำกุศลถวายความรู้แด่พระวิทยากร
"เครือข่ายพระวิทยากรอารมณ์ดี"
ที่สถาบันการพัฒนาสังคม กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี
อดไม่ได้ที่จะตามหาเครือญาติผู้ไทด้วยกัน
พบว่ามีพระวิทยากรชาวผู้ไท 2 รูป
รูปหนึ่งอยู่อ.นาคู(เมืองภูแลนช้าง) จ.กาฬสินธุ์
อีกรูปอยู่สกลนครครับ
เลยรับอาสาท่านว่าหากจะให้สนับสนุนด้านการเป็นวิทยากรกระบวนการ
และให้คำปรึกษาการจัดการความรู้แบบง่ายๆสำหรับชาวบ้าน ก็จะยินดีอย่างยิ่งครับ







ผมได้เล่าการประยุกต์ใช้หลักการ “กระบวนการค้นหาความดีด้วยความชื่นชม”ครับ  หรือเรียกว่า Appreciative Inquiry (AI_สุนทรียสาธกหรือสุนทรียปรัศนี) ครับ    เครื่องมือนี้เป็นกระบวนการที่พัฒนาขึ้นโดย David L. Cooperrider  

 

 

ทั้งนี้ หลักการของ  AI _สุนทรียสาธก  มีหลักการสำคัญ  คือ

AI เป็นมุมมองขั้นพื้นฐานถึงธรรมชาติของมนุษย์ เราคือใคร มี่ที่มาอย่างไร พวกเรามีคุณค่า มีความหมาย และมีความสำคัญอย่างไร

AI เป็นกระบวนการให้การยอมรับเชื่อมั่นว่าตัวเรา  ชุมชนเรา บรรพบุรุษของเรา ว่ามีอะไรพวกเราหรือบรรพบุรุษได้ทำสิ่งที่ดีๆไว้  และมีความสามารถที่เคยทำบางสิ่งบางอย่างที่มีคุณค่าไว้  แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆก็ตาม

AI เริ่มจาก  “การค้นพบเล็กๆ”  และ  “ฝันเล็ก”  แต่เป็นการชื่นชมที่ยิ่งใหญ่ ครับ

 



ประสบการณ์ที่ผมเล่า คือการใช้หลัก AI_ Appreciative Inquiry(สุนทรียสาธก) การขับเคลื่อนการขับเคลื่อนความสุขมวลรวมประชาชาติ (Gross National Happiness : GNH) ระดับชุมชนท้องถิ่น ด้วยการจัดทำเป้าหมาย และตัวชี้วัดความสุข  เป็นงานที่ผมมีโกาสได้รับใช้ท่าน อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม (ปัจจุบันท่านเสียชีวิตแล้ว)

เรื่องนี้ เป็นเรื่องที่ท่านอ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรมให้ความสนใจ และมีความผูกพัน เป็นพิเศษ ในช่วงปั้นปลายชีวิตของท่าน

 

เพื่อ การเรียนรู้ที่จะสืบสานปณิธาน และเจตนารมย์ อ.ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม   มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ ท่านเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ในวงการงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น/สังคม ครับ

AI_ Appreciative Inquiry(สุนทรียสาธก) คืออะไร

 

AI คือ กระบวนการศึกษาค้นหาร่วมกันเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคน ในองค์กร หรือของโลกที่อยู่รอบตัวของเขา AI คือกระบวนการค้นหาอย่างเป็นระบบว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบดำเนินไป อย่างดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อระบบนั้นสามารถบรรลุซึ่งประสิทธิผลสูงสุดไม่ว่าจะเป็นด้านการ เงิน ด้านนิเวศวิทยา หรืออะไรที่เกี่ยวกับมนุษย์ก็ตาม (Coopperrider D.L. and Whitney  D., 1999)

 

นิยามความหมาย AI- Appreciative Inquiry (สุนทรียสาธก)

 

  

คูเปอร์ไรเดอร์ และ วิทนี่ (Cooperrider and Whitney (2005)) ได้ให้ความหมายของ“สุนทรียสาธก” หรือ “Appreciative Inquiry (AI)” ไว้ดังนี้

(1) Appreciative หมายถึง การให้คุณค่า การแสดงการตระหนักในสิ่งที่ดีที่สุดที่อยู่ใน

บุคคลรอบ ๆ ตัวเรา หรือในโลกนี้

(2) Inquiry หมายถึง การสำรวจ การค้นหา

(3) สุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry) หรือ AI จึงอาจแปลง่ายๆ ว่า “การค้นหาสิ่งดีๆ

รอบตัว” ดังนี้

• สุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry: AI) คือ กระบวนการศึกษาค้นหาร่วมกันเพื่อค้นหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวคน ในองค์กรหรือของโลกที่อยู่รอบตัวของเขา

• สุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry: AI) คือกระบวนการค้นหาอย่างเป็นระบบว่าอะไรเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ระบบดำเนินไป อย่างดีที่สุด โดยเฉพาะเมื่อระบบนั้นสามารถบรรลุซึ่งประสิทธิผลสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน ด้านนิเวศวิทยา หรืออะไรที่เกี่ยวกับมนุษย์ก็ตาม

• สุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry: AI) เป็นศิลปะของการถามคำถาม ที่นำไปสู่

การส่งเสริมให้ระบบมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุด

• สุนทรียสาธก (Appreciative Inquiry: AI) เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนให้เกิดการถามคำถามในเชิงบวกแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับคนตั้งแต่ไม่กี่คนจนถึงเป็นล้านคน

 

 

 

 


การจัดทำเป้าหมาย/ตัวชี้วัดการพัฒนาความสุขมวลรวมของสภาองค์กร ชุมชนตำบลบ้านเลือก ได้มีการถ่ายทำสารคดี ว่าด้วยเรื่องนี้ ชื่อ  "ประชาธิปไตยความสุขที่บ้านเลือกครับ"  ดูผ่าน youtube ได้ที่นี่ครับ

 

     http://youtu.be/UhkNJ1Cr0MY

http://www.youtube.com/watch?v=UhkNJ1Cr0MY&feature=youtu.be

 

ที่นี่
<object width="420" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/UhkNJ1Cr0MY?version=3&amp;hl=th_TH&amp;rel=0"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/UhkNJ1Cr0MY?version=3&amp;hl=th_TH&amp;rel=0" type="application/x-shockwave-flash" width="420" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>

 

 

Appreciative Inquiry เป็นศิลปะของการถามคำถาม

 

 

 คำถามจากกระบวนการ Appreciative Inquiry นำไปสู่การส่งเสริมให้ระบบมีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาไปสู่ศักยภาพสูงสุด

Appreciative Inquiry เป็นกระบวนการที่ขับเคลื่อนให้เกิดการถามคำถามในเชิงบวกแบบไม่มีเงื่อนไขใดๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นกับคนตั้งแต่ไม่กี่คน จนถึงเป็นล้านคน ในกระบวนการการทำAppreciative Inquiry จะเปิดโอกาสให้กับจินตนาการและนวัตกรรม แทนที่จะเป็นความคิดด้านลบหรือการวิพากษ์วิจารณ์

Appreciative Inquiry ยืนอยู่บนสมมติฐานที่ว่าในทุกระบบล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวด้านบวกที่สร้างแรง บันดาลใจที่ยังไม่มีใครนำมาขยายผล และมีมากพอ เราสามารถเชื่อมโยงการค้นพบด้านบวกนี้เข้ากับเรื่องใดก็ได้

 

ขั้นตอนในการทำ AI

 

ขั้นตอนในการทำ AI มุ่ง ประกอบด้วย 4 D ประกอบด้วย

1. Discovery(ค้นบวก): ค้นหาแก่นของความดีงาม (the positive core) ภายในองค์กร

1.1. เลือกหัวข้อที่เป็นประเด็นเชิงบวก (positive topic) เพื่อเป็นจุดเน้นในการสำรวจ

1.2. สร้างคำถามเพื่อสำรวจประเด็นที่เลือกไว้

1.3. ใช้คำถามเข้าไปสัมภาษณ์หรือแบ่งปันเรื่องราวเกี่ยวกับประเด็นที่เลือกไว้

1.4. สรุปกระแสหลัก (theme) ที่ปรากฎในเรื่องราวต่างๆ

2. Dream(ฝันบวก): สร้างจินตนาการว่าถ้าองค์กรอยู่ในภาวะที่ดีที่สุด อะไรจะเกิดขึ้น

3. Design(ปั้นบวก): สร้างข้อความกระตุ้น (provocative propositions)

4. Destiny(ทำบวก): พัฒนาทักษะที่จำเป็น จัดโครงสร้างองค์กร เพื่อเคลื่อนไปสู่เป้าหมายค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการสร้างอนาคตดังกล่าวใช้ข้อความกระตุ้นและกลวิธีต่างๆ เพื่อชี้นำพฤติกรรมของบุคคล กลุ่ม และองค์กร

 


หลักการพื้นฐานของAI- Appreciative Inquiry

 

1) หลักการสร้าง (The Constructionist Principle)

ผู้นำ ที่ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงต้องมีศิลปะในการทำความรู้จักองค์กร AI เป็นวิธีการสร้างความรู้เกี่ยวกับความจริง ความดีงาม และความเป็นไปได้ ด้วยมิติที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของมวลสมาชิกมากกว่าโครงสร้างของสิ่งที่ไม่มี ชีวิตต่างๆ

2) หลักการเกิดขึ้นควบคู่กัน (The Principle of Simultaneity)

การ ค้นหาและการเปลี่ยนแปลงเป็นความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นควบคู่ไปด้วยกัน คำถามที่เราใช้คือเมล็ดพันธุ์ของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเติบโตกลายเป็นคำพูดและเรื่องราวสำหรับการสร้างอนาคตความเข้าใจผิด สำคัญประการหนึ่งคือ คิดว่าการวิเคราะห์และการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงเป็นคนละขั้นตอนกัน ที่จริงแล้วทุกคำถามจะสร้างการเปลี่ยนแปลงขึ้นในเชิงสัมพันธภาพของมวลสมาชิก ทำให้เกิดบทสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ดี สิ่งที่ดีกว่า และสิ่งที่เป็นไปได้ โดยไม่สำคัญว่าคำถามจะนำมาสู่คำตอบอะไรหรือได้รับการตอบสนองอย่างไร

3) หลักความงามแห่งบทกวี (The Poetic Principle)

องค์กร มีลักษณะเหมือนหนังสือที่เปิดโอกาสให้ทุกคนเป็นผู้ประพันธ์ได้ตลอดเวลา อดีต ปัจจุบันอนาคต เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุดและเป็นบ่อเกิดของความหวัง เราสามารถศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นในระบบหรือองค์กรใดๆ การตั้งคำถามที่หลากหลาย สอดคล้องกับเป้าหมายของการค้นหาและบริบทขององค์กร จะก่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างไม่สิ้นสุด

4) หลักการคาดการณ์ (The Anticipatory Principle)

จินตนาการ ร่วมของมวลสมาชิกเกี่ยวกับอนาคต คือทรัพยากรที่ไม่จำกัดในการเปลี่ยนแปลงองค์กรอย่างสร้างสรรค์ ภาพฝันสำหรับอนาคตจะเป็นตัวชี้นำพฤติกรรมในปัจจุบัน การตั้งคำถามที่นำมาสู่ภาพฝันเชิงบวกร่วมกันคือความสำเร็จของ AI ภาพฝันเชิงบวกจะนำไปสู่การกระทำเชิงบวก เป็นการนำอนาคตมาขับเคลื่อนปัจจุบันอย่างมีพลัง

5) หลักพลังเชิงบวก (The Positive Principle)

การ สร้างโมเมนตัมของการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องใช้ความผูกพันและพลังเชิงบวก เช่น ความหวังความตื่นเต้น ความเอื้ออาทร ความสนิทสนม ความรู้สึกเป็นเรื่องเร่งด่วน และความสนุกในการสร้างสิ่งที่มีความหมายร่วมกัน ยิ่งใช้คำถามเชิงบวกมากเท่าไร การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นยิ่งประสบความสำเร็จและความยั่งยืนมากกว่า

 

กระบวนการพื้นฐานของ AI

 

กระบวนการพื้นฐานของ AI เริ่มด้วยพื้นฐานของการสังเกต “อะไรคือสิ่งดีหรือของดีที่มี

อยู่” (best of what is) เมื่อมองอย่างลึกซึ้งและมันมีตรรกะที่ชัดเจนว่า “อะไรมี อาจจะเป็น หรือมันอาจจะดี” (what might be) หรือมีการยืนยันว่าระบบนั้นว่าอะไรที่ควรจะเป็น “what should be” และทดลองด้วย อะไรที่จะเป็น “what can be”

 

 

 

 

AI คือกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงการเปลี่ยนแปลง

 

AI เป็นเหมือนวิธีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

1. Discovering the best of………. เริ่มต้นด้วยการค้นหาสิ่งที่ดีเพื่อนำมาเป็นตัวอย่างที่ดี

ขององค์กร ซึ่งได้แก่ ประสบการณ์การทำงานของสมาชิกในองค์กร

2. Understanding what creates the best of………… การทำความเข้าใจถึงการสร้างสรรค์

สิ่ง ที่ดีๆ เหล่านั้น โดยการพยายามค้นหาและมองอย่างลึกซึ้งถึงความสามารถที่พิเศษของสมาชิกใน องค์กร อะไรบ้างที่เกี่ยวกับคน, องค์กร และบริบทในการสร้างสรรค์และประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม

3. การขยายความดี คนและกระบวนการที่เป็นตัวอย่างที่ดี มองให้เห็นกระบวนการค้นพบ

สิ่งเหล่านั้น, ส่วนประกอบที่มีส่วนทำให้มันเกิด

 

สิ่งสำคัญของ AI คือ ภายในองค์กรจะมีการเคลื่อนไหวด้วยการเห็นคุณค่าที่แท้จริงอย่าง

ยั่งยืนด้วยตัวของมันเอง

 

 

 

 

 

ทำไมต้อง Appreciative Inquiry

 

การ มุ่งเน้นแก้ปัญหา มักจะได้ผลเพียงเล็กน้อยและก่อให้เกิดความรู้สึกเชิงลบว่าปัญหาเป็นสิ่งที่ แก้ไขได้ยาก ไม่ได้รับความร่วมมือ สาเหตุของปัญหาก็ซับซ้อนและอยู่นอกเหนืออำนาจที่จะจัดการได้ เมื่องานไม่ประสบความสำเร็จ ยิ่งเกิดความเครียดต่อผู้รับผิดชอบและยิ่งกดดันคนรอบตัว สร้างบรรยากาศที่เป็นลบให้มากขึ้น มีการกล่าวโทษกันและกัน ความรู้สึกเชิงลบร่วมกับปริมาณปัญหาที่เราต้องเผชิญทำให้เรารู้สึกว่ายากที่ จะทำอะไรได้และมีแต่ความสิ้นหวัง

 

 

 องค์กร ใด หน่วยงานใด สนใจจะให้ผมให้คำปรึกษาในการจัดการความรู้(KM) แบบดึงเรื่องราวที่ดีๆขององค์กรออกมาขับเคลื่อนงานพัฒนา ผมยินดีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยอย่างยิ่งครับ

งานวิจัยระดับ ป.เอกผมก็ใช้หลักการจัดการความรู้แบบAIสุนทรียสาธกนี้ในการดำเนินงานวิจัยครับ


หมายเลขบันทึก: 491668เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 12:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท