Mameaw kawarin
มะเหมี่ยว เกวรินทร์ ช่างกระโทก

ระบบนิเวศ


ระบบนิเวศ

สรุปการเรียนวันที่   14  06  55  

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ  แยกออกเป็น

สิ่งมีชีวิต 

พืช

พืชบก :

  -ไม่มีดอก

  -มีดอก

  -ยืนต้น

  -ไม้เลื้อย

  -ไม้พุ้ม

  -ไม้ล้มลุก

พืชน้ำ :

  -พืชในน้ำ

  -แพลงตอน:   แพลงตอนพืช , และแพลงตอนสัตว์

สัตว์  :

1) มีกระดูกสันหลัง  และไม่มีกระดูกสันหลัง

2) แบ่งตามลักษณะการกิน

   เพิ่มเติมเนื้อหา

       วัวควายมีรูปร่างที่อ้วน นั้นเนื่องมาจากมันมีเนื้อมากไม่ใช่เพราะมันมีไขมันมาก  เพราะว่าพวกวัวและควายกินพืชเป็นอาหารไขมันจึงน้อย    พวกมันจะได้รับโปรตีนจากการกินพืชจำพวกถั่ว  และเนื่องมาจากการหมักของกระเพาะที่มีจุลินทรีย์ซึ่งเป็นโปรตีน

     การสูญพันธุ์ของแร้ง ในปัจจุบัน  หรือสัตว์ต่าง  มีผลมาจากยาเบื่อ  เช่น  ถ้าเราวางยาเบื่อหนูแล้วหนูตายเราก็เอาไปทิ้ง  สัตว์พวกที่กินซากต่างๆ  ก็จะมากินและได้รับสารพิษไปเช่นกันจึงทำให้เกิดการสูญพันธุ์  และแร้งแพ้ยารักษาโรคของวัวเมื่อมันมากินซากวัวที่ตายมัยจึงแพ้ยาแล้วตาย

     - การออกลูกเป็นตัว  เรียกว่า  Viviparous

     - การออกลูกเป็นไข่  เรียกว่า  Oviparous

สิ่งไม่มีชีวิต

อากาศ     ออกซิเจน , ก๊าซคาร์บอนไดรืออกไซค์  ,ไนโตรเจน  , ไฮโดรเจน

น้ำ            :  S , C , I

แร่ธาตุ       :   C, P ,N ,K , S ,Mg ,Ir


เพิ่มเติม  

  คาร์บอนไดร์ออกไซค์  +  น้ำ  จะได้สารละลายโลหะ

พลังงาน

     ส่วนใหญ่แล้วโลกของเราจะได้รับพลังงานมาจาก  ดวงอาทิตย์  และ  พลังงานของตัวมันเอง  และภายบนโลกก็มีพลังงานอื่นอีกมามาย  เช่น  พลังงานศักย์  และ พลังงานจลน์  ซึ่งสามารถเปลี่ยแปลงเป็นพลังงานอย่างอื่นได้เช่นกัน

 

การบ้าน

1) เซรุ่มและวัคซีนต่างกันอย่างไร 

เซรุ่ม  :  เป็นการให้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือที่เรียกกันเป็นภาษาหมอว่า  “อิมมูโกลบุลิน”  
ซึ่งเมื่อให้เข้าสู่ร่างกาย ภูมิคุ้มกันนี้จะสามารถออกฤทธิ์ต่อต้านเชื้อโรคได้ทันที
เซรุ่มจะสกัดมาจากเลือดของสัตว์ เช่น เลือดม้า หรือเลือดกระต่าย โดยการฉีดเชื้อโรค
ที่ทำให้มีฤทธิ์อ่อนลงแล้ว ให้กับม้าหรือกระต่าย เพื่อให้ม้า หรือกระต่ายสร้างภูมิคุ้มกันโรคขึ้นแล้ว
จึง ดูดเลือดม้า กระต่าย มาสกัดส่วนที่เป็นน้ำใสซึ่งเป็น ภูมิคุ้มกันอยู่มาฉีดให้กับผู้ป่วย
ตัวอย่างของเซรุ่มใน ปัจจุบัน เช่น เซรุ่มป้องกันโรคคอตีบ เซรุ่มป้องกันโรค บาดทะยัก 
เซรุ่มป้องกันโรคไอกรน เซรุ่มป้องกันโรค พิษสุนัขบ้า และเซรุ่มแก้พิษงู 
การฉีดเซรุ่มมีทั้งข้อดี และข้อเสีย 
ข้อดี คือ ร่างกายสามารถนำเซรุ่มไปใช้ในการต้านทานโรคได้อย่างทันท่วงที 
ข้อเสีย คือ ผู้ที่ได้รับเซรุ่มนั้นอาจเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงได้

วัคซีน  : เป็นกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดี วัคซีนจะทำหน้าที่กระตุ้น
ให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นเครื่องป้องกันของร่างกาย และทำหน้าที่
ต่อสู้กับเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย
การให้วัคซีนเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ที่มีความคุ้มค่ากว่าเมื่อต้องทำการรักษา
หลังจากติดเชื้อหรือเป็นโรคแล้ว และต้องไม่ลืมว่าโรคบางโรคได้สูญหายไปจากโลก 
ส่วนหนึ่งคงเนื่องจากการนำวัคซีนมาใช้ เช่น โรคฝีดาษ และโรคบางโรคกำลังใกล้จะถูกกำจัดให้หมดไป
ด้วยการใช้วัคซีนเช่นกัน เช่น โรคโปลิโอ

1) หน่วยของกัมมันตรังสี  มีอะไรบ้าง

ปริมาณ หน่วยเดิม หน่วยใหม่ (SI unit)
กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) คูรี (Ci) เบคเคอเรล (Bq)
รังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed dose) แรด (Rad) เกรย์ (Gy)
รังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure) เรินท์เกน (R) คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม (C/kg)
รังสีสมมูล (Dose Equivalent) เรม (Rem) ซีเวิร์ต (Sv)

 

2) ต้องมาปริมาณรังสีเท่าใดจึงจะเป็นอันตรายต่อตัวเรา

      1. การได้รับรังสีจากแหล่งกำเนิดรังสีจากภายนอก (External exposure) ความรุนแรงของการบาดเจ็บ ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดและระยะเวลาที่ได้รับรังสี แต่ตัวผู้ที่ได้รับอันตรายไม่ได้สารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย จึงไม่มีการแผ่รังสีไปทำอันตรายผู้อื่น

      2. การได้รับสารกัมมันตรังสีเข้าสู่ร่างกาย (Internal exposure) มักพบในกรณีมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีที่เป็นก๊าซ ของเหลว หรือฝุ่นละอองจากแหล่งเก็บสารกัมมันตรังสี หรือที่เก็บกากสารกัมมันตรังสีจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เกิด ขึ้นอยู่ในประเทศญี่ปุ่นขณะนี้ 

           การกระจายของสารกัมมันตรังสีจะฟุ้งไปในอากาศ น้ำ มนุษย์อาจได้รับรังสีเข้าสู่ร่างกาย ทางการหายใจฝุ่นละอองของรังสีเข้าไป , กินของที่เปรอะเปื้อนเข้าไป หรือการกิน, การฝังสารกัมมันตรังสีเพื่อการรักษา สารกัมมันตรังสีที่อยู่ในร่างกายจะแผ่รังสีออกมา ทำอันตรายต่อร่างกายเป็นระยะเวลานาน จนกว่าจะถูกกำจัดออกไปจากร่างกายจนหมด และยังสามารถแผ่รังสีไปทำอันตรายคนที่อยู่ใกล้เคียงได้

          แต่หากใครที่ได้รับรังสีในปริมาณมาก ๆ อาจกลายเป็นอาการ "ความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน (Acute Radiation Syndrome, ARS)" ซึ่งเป็นความผิดปกติทางร่างกาย อันเป็นผลมาจากการได้รับรังสีปริมาณสูง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย หรือเกือบทั้งร่างกายในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น ผู้ป่วยจากการได้รับรังสีจากระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ หรือผู้ป่วยจากการได้รับรังสีแกมมาจากวัสดุกัมมันตรังสีโคบอลต์-60 ที่สมุทรปราการ เมื่อหลายปีที่ผ่านมา โดยต่อไปนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะกรณีที่ได้รับรังสีสูงเฉียบพลัน คือ "ความผิดปกติจากการได้รับรังสีสูงแบบเฉียบพลัน (Acute Radiation Syndrome, ARS)" 

รังสี

ที่มา : http://health.kapook.com/view24286.html

         10 Sv – มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในเวลาเป็นวันหรือสัปดาห์         - การได้รับรังสีปริมาณมากในครั้งเดียว (acute exposure) จะมีผลกระทบขึ้นกับปริมาณของรังสี ดังนี้

1 Sv – มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง (5 ใน 100) 

100 mSv – มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งในภายหลัง (5 ใน 1000) 

50 mSv – ปริมาณรังสีที่ได้รับต่อปีของผู้ที่ปฏิบัติงานทางรังสีตาม TLV 

20 mSv – ปริมาณรังสีที่ได้รับเฉลี่ยต่อปี หรือโดยเฉลี่ยในเวลา 5 ปี ตาม TLV    โดยคร่าวๆ สำหรับร่างกายมนุษย์แล้ว

3) แรงกดอากาศของโลกต้องมีค่าเท่ากับเท่าไหร่ 

     ความกดอากาศความดันอากาศหรือความดันบรรยากาศเป็น ความกดดันอยู่จุดใดหนึ่งของชั้นบรรยากาศของโลก โดยทั่วไปความกดอากาศจะประมาณเท่ากับความกดดันที่เกิดขึ้นย้อนน้ำหนักของอากาศอยู่บนจุดนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า จุดที่มีความกดอากาศต่ำจะมีอากาศที่มีมวลสารต่ำกว่าจะอยู่ข้างบนมัน ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ความกดอากาศจะต่ำลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศที่ความสูงระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm (หนึ่งหน่วยบรรยากาศ) หรือ 101.325 kPa (กิโลปาสคาล) หรือ 760mmHg (มิลลิเมตรปรอท)

   ความกดอากาศมารตฐาน

     อากาศมีสถานะเป็นก๊าซ แต่อากาศก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลว เราเรียกน้ำหนักซึ่งกดทับกันลงมานี้ว่า “ความกดอากาศ” (Air pressure) ความกดอากาศจะมีความแตกต่างกับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกดทับตรงที่ความกดอากาศมีแรงดันอากาศทุกทิศทาง เช่นเดียวกับแรงดันอากาศในลูกโป่ง เมื่ออากาศเย็นซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “H” สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ ในทางกลับกันหากอากาศร้อนก็จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น จึงมีความกดอากาศน้อยกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “L” สีแดง เป็นสัญลักษณ์ นักอุตุนิยมวิทยาใช้เครื่องมือ "บารอมิเตอร์" อย่างละเอียดสำหรับวัดความกดอากาศ หน่วยที่ใช้วัดความกดของอากาศนั้นอาจจะเป็นความสูงของปรอทเป็นนิ้วหรือเซนติเมตร ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรก็ได้ แต่ในปัจจุบันส่วนมากนิยมใช้หน่วยเป็นมิลลิบาร์ (millibar) เพราะเป็นหน่วยที่สะดวกกว่า ซึ่งเราจะเปรียบเทียบกันได้ตามหลักการคำนวณต่อไปนี้   

เศษส่วนของ 1 atm ความสูงโดยเฉลี่ย
(เมตร) (ฟุต)
1 0 0
1/2 5,486 18,000
1/3 8,376 27,480
1/10 16,132 52,926
1/100 30,901 101,381
1/1000 48,467 159,013
1/10000 69,464 227,899
1/100000 96,282 283,076

ที่มาของข้อมูลในตาราง: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8


ขอบคุณค่ะ  ^^"

หมายเลขบันทึก: 491572เขียนเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กรกฎาคม 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

โรควัวบ้ามีวัคซีนยัง

ผมอยู่ที่จังหวัดน่าน จะมีแรงกดอากาศเฉลี่ยกี่กิโลกรัมต่อตารางนิ้วครับ

ขอตอบคำถามแรกก่อนเลยนะคะ ที่อาจารย์ถามว่าวัวซีนโรควัวบ้ามีหรือยัง?

     - ยังไม่มีค่ะ  มีแต่แนวทางป้องกันในการติดเชื้อของวัวบ้าค่ะ  ซึ้งทาง  WHOหรือ  ( World health organizaton)  ได้หาข้อแนะนำการลดการติดเชื้อเอาไว้ค่ะเท่านั้นค่ะ  เป็นเพียงการป้องกันเท่านั้น  แต่ยังรักษาไม่ได้  " อ้างอิงได้จาก  ข้อมูลด้านล่างค่ะอาจารย์"  ^^

       ขอเสนอคำแนะนำของ WHO ( World health organizaton) ในการป้องกันการติดเชื้อโรควัวบ้า 

WHO ได้ให้ข้อสรุปและให้คำแนะนำในการลดการติดเชื้อวัวบ้า (BSE) ดังนี้

    1   ทุกประเทศต้องไม่ใช้ซากสัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant tissue)เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เคี้ยวเอื้อง ( ruminant feed) และต้องกำจัดสัตว์ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ BSE ไม่ให้เป็นอาหารแก่สัตว์หรือมนุษย์

    2  ทุกประเทศจะต้องมีการประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อ BSE ของแกะและแพะ และแนะนำว่าไม่ควรใช้ เนื้อกวาง(Deer    or Elk) ที่ติดเชื้อ Chronic Wasting disease (โรค CWD เป็นโรคติดต่อในกวางที่พบในอเมริกาเหนือ) ในการเลี้ยงสัตว์หรือเป็นอาหารของคน ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะยังไม่มีรายงานว่าโรคCWDในกวางจะสามารถติดต่อในคนได้ แต่ควรหลีกเลี่ยง

    3  ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่ามีการติดเชื้อในกล้ามเนื้อลาย (Skeletal muscle tissue) ในสัตว์ แต่เพื่อความมั่นใจในการทำอาหารควรดึงเอาเส้นประสาทและระบบน้ำเหลืองที่มองเห็นได้ของเนื้อวัวออก

    4   นม, ผลิตภัณฑ์ของนมปลอดภัยในการบริโภค ส่วนไขสัตว์, เจลาติน ถ้าผลิตด้วยขบวนการที่ถูกต้องพบว่าจะไม่ติดเชื้อ

    5   วัคซีนที่เตรียมจากส่วนประกอบของวัว ,ยา และ เครื่องสำอางค์ที่ผลิตจาก ผลิตภัณฑ์จากวัว และสัตว์ตะกูลเดียวกัน อาจทำให้ติดเชื้อBSEได้ ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตจะต้องหลีกเลี่ยงไม่ใช้สัตว์ที่ติดเชื้อ หรือเลือกใช้สัตว์ที่อยู่ในสถานที่ที่พิสูจน์แล้วว่าไม่มีการติดเชื้อดังกล่าว

-ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก : ข้อมูลจาก WHO http://www.who.int/inf-fs/en/fact113.html

                              : เรียบเรียงโดย พญ. รุ่งทิพย์ วรรณวิมลสุข

จังหวัดน่านมีความกดอากอาศหรือความดันอากาศที่ 1003.5 hPa ค่ะ แต่อากาศในตอนเช้าและบ่ายต่างกัน ความดันอากาศสูงจะลงมาปกคลุมภาเหนือตอนบน ทำให้ตอนเช้ามีอุณหภูมิต่ำ และตอนบ่ายก็เริ่มสูงขึ้นค่ะ ความดันขึ้นอยุ่ในแต่ละพื้นที่ค่ะอาจารย์ ^"

                                                                                                     ---- ไม่รุ้ตอบถูกหรือป่าวนะค่ะ---

หน่วย hPa หมายถึงอะไรครับ ถ้าจะเปลี่ยนเป็น กิโลกรัม/ตารางเมตร จะมีค่าเท่าไรจะ

หน่วย hPa หมายถึงอะไร คือหน่วยวัดความดันอากาศ

แปลงหน่วยต้องทราบค่า ของ hpa ก่อนนะ

ดูมันแถ ... ถ้าไงแปลงค่า 1003.5 hpa มีค่าเท่ากับกี่ กิโลกรับ/ตารางเมตร

ค่าที่ได้เท่ากับ 10232.852197 กิโลกรับ/ตารางเมตร ค่ะ

555 เป็นคำตอบที่เกรียนมากมายครับ 10232 kg/m2

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท