The end of sky
นางสาว สุณิสา ณัฐพรณิชกุล

หน่วยวัดรังสีและอันตรายของรังสี


ปริมาณ

หน่วยเดิม

หน่วยใหม่ (SI unit)

กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)

คูรี (Ci)

เบคเคอเรล (Bq)

รังสีที่ถูกดูดกลืน (Absorbed dose)

แรด (Rad)

เกรย์ (Gy)

รังสีที่ทำให้อากาศแตกตัว (Exposure)

เรินท์เกน (R)

คูลอมบ์ต่อกิโลกรัม (C/kg)

รังสีสมมูล (Dose Equivalent)

เรม (Rem)

ซีเวิร์ต (Sv)

 

ปริมาณรังสีที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์

 2.2  มิลลิซีเวิร์ดเป็นระดับรังสีปกติในธรรมชาติ  ที่มนุษย์แต่ละคนได้รับใน 1 ปี


 5 มิลลิซีเวิร์ดเป็นเกณฑ์รังสีสูงสุดที่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปรับได้ใน 1 ปี

 

 50   มิลลิซีเวิร์ด เป็นเกณฑ์สูงสุดที่อนุญาติให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับรังสีรับได้ใน 1 ปี


 250 มิลลิซีเวิร์ดเป็นระดับที่ไม่ทำให้ร่างกายปรากฏอาการผิดปกติ  ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว

500 มิลลิซีเวิร์ด ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวลดลงเล็กน้อย

1,000 มิลลิซีเวิร์ดทำให้เกิดอาการคลื่นเหียน  อ่อนเพลีย  และมีปริมาณเม็ดเลือดขาวลดลง

 3,000 มิลลิซีเวิร์ดทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย  อาเจียน  ท้องเสีย  เม็ดเลือดขาวลดลง  ผมร่วง  เบื่ออาหาร  ตัวซีด คอแห้ง  มีไข้  และอาจเสียชีวิตได้ภายใน 3-6 สัปดาห์

6,000 มิลลิซีเวิร์ดทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย  อาเจียน  ท้องเสีย  ท้องร่วงภายใน 1-2 ชั่วโมง  เม็ดเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว  ผมร่วง  มีไข้  อักเสบบริเวณปากและลำคออย่างรุ่นแรงและมีโอกาสเสียชีวิตได้ถึง 50% ภายใน 2-6 สัปดาห์

10,000 มิลลิซีเวิร์ดทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย  อาเจียน  ท้องเสีย  ท้องร่วงภายใน 1-2 ชั่วโมง  เม็ดเลือดลดลงอย่าง รวดเร็ว  ผมร่วง  มีไข้  อักเสบบริเวณปากและลำคออย่างรุ่นแรง  ผิวหนังพองบวม  ผมร่วง  และเสียชีวิตภายใน 2-3 สัปดาห์

Reference.

http://www2.egat.co.th/ned/index.php?option=com_content&view=article&id=164&Itemid=172

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3029

หมายเลขบันทึก: 491447เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มิถุนายน 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ในประเทศไทยมีแหล่งแร่กัมตรังสีอยู่หรือเปล่าครับ

มีค่ะ ในประเทศไทย พบแร่ยูเรเนียมในเหมืองแร่ดีบุกที่ตำบลนาม่วง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา , ตำบลนาสาร จังหวัด สุราษฎร์ธานี  และตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 

และพบแร่ทอเรียมอยู่ที่ระนอง พังงา ภูเก็ต

อ้างอิงจาก

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

http://satit.pn.psu.ac.th/satit3/vc/s30202/content/nat08.html

อื่ม แล้วมีการขุดมาทำประโยชนฺ์หรือยังครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท