ระบบนิเวศรูปแบบต่างๆ


ระบบนิเวศแบบต่าง ๆ

ในบริเวณต่าง ๆ ของโลกจะมีภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อม ธาตุอาหาร และสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งความแตกต่างเหล่านี้จะมีอิทธิพลทำให้สิ่งมีชีวิตทีดำรงชีวิตอยู่ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นในโลกของเราจึงประกอบด้วยระบบนิเวศที่ มีความแตกต่างกันมากมาย โดยระบบนิเวศที่สามารถพบได้บนโลก อย่างเช่นระบบนิเวศต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1) ระบบนิเวศทะเลทราย มีลักษณะเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกน้อยแต่อัตราการระเหยของน้ำสูงมาก มีความแตกต่างของอุณหภูมิ ในเวลากลางวันกับกลางคืนอย่างชัดเจน สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่มีการปรับตัวด้วยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหรือพฤติกรรม ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น ต้นกระบองเพชรจะปรับตัวให้ใบมีรูปร่างและขนาดเล็กลง เพื่อลดการคายน้ำภายในลำต้น

2) ระบบนิเวศทุ่งหญ้า มีลักษณะเป็นที่ราบ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นต้นหญ้า พบได้ในส่วนต่าง ๆ ของโลกหลายทวีป มีอัตราการระเหยของน้ำสูง จึงทำให้สามารถพบสภาวะแห้งแล้งได้ในบางช่วงเวลา สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น (temperate grassland) เป็นทุ่งหญ้าที่มีต้นหญ้าสูงตั้งแต่ 1.5-8 ฟุต แตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝน หญ้าในเขตนี้จะมีรากที่หยั่งลึกมากทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นที่สำคัญ ได้แก่ ทุ่งหญ้าสเตปส์ (Steppes) ในรัสเซีย สัตว์ที่พบในระบบนิเวศ ลักษณะนี้ ได้แก่ วัวไบซัน แอนทีโลป ม้าลาย กระรอก เป็นต้น

2. ทุ่งหญ้าเขตร้อน (tropical grassland) ทุ่งหญ้าเขตร้อนจะเป็นเขตที่พบพืชตระกูลหญ้าปกคลุมดิน ความสมบูรณ์มักแปรผันตามชนิด ของพืชหลักและความสมบูรณ์ของดิน มีลักษณะเป็นสภาพภูมิอากาศแบบฤดูแล้งยาวนาน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีค่อนข้างต่ำ 3) ระบบนิเวศป่าไม้ เป็นระบบนิเวศซึ่งมีต้นไม้ชนิดต่าง ๆ เป็นสิ่งมีชีวิตหลัก มีความแตกต่างของระบบนิเวศตามลักษณะ สภาพภูมิศาสตร์ โดยจำแนกระบบนิเวศป่าไม้ได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ป่าไม้ผลัดใบและป่าไม้ไม่ผลัดใบ ดังนี้

1. ป่าไม้ผลัดใบ (deciduous forest) เป็นป่าที่มีต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ผลัดใบในฤดูแล้ง และจะผลิใบใหม่ในฤดูฝนโดยป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่นจะพบพืชพันธุ์ได้หลายชนิด เช่น ต้นโอ๊ค เชลท์นัท เป็นต้น

2. ป่าไม้ไม่ผลัดใบ (evergreen forest) ป่าไม้ประเภทนี้จะเป็นป่าที่มีความเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี ไม่มีระยะเวลาผลัดใบที่แน่นอนเมื่อใบเก่าแห้งเหี่ยวร่วงไปจะมีการงอกใบใหม่ขึ้นทดแทนทันที ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 6 ประเภท ดั่งนี้

-ป่าพรุ (swamp forest)

-ป่าสนหรือป่าสนเขา (coniferous forest หรือ pine forest)

-ป่าดงดิบ (tropical rain forest)

-ป่าดิบเขา (hill evergreen forest)

-ป่าชายเลน (mangrove forest)

-ป่าชายหาด (beach forest)

4) ระบบนิเวศทุนดรา มีลักษณะเป็นทุ่งหิมะมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี สามารถพบสิ่งมีชีวิตได้ไม่กี่ชนิด เช่น กวางเรนเดียร์ กวางคาริบู สุนัขป่าขั้วโลก นกฮูกหิมะ กระต่ายป่า เป็นต้น ส่วนพืชที่พบ เช่น ไลเคนส์ หญ้าเซดจ์ มอส เป็นต้น

5) ระบบนิเวศน้ำจืด เป็นระบบนิเวศในแหล่งน้ำจืดมีทั้งที่เป็นแบบแหล่งน้ำนิ่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ บึงหรือสระน้ำเป็นต้นและแหล่งน้ำไหลซึ่งได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง ลำธาร เป็นต้น

6) ระบบนิเวศน้ำเค็ม เป็นระบบนิเวศในแหล่งน้ำเค็มหรือน้ำทะเล ได้แก่ ทะเล และมหาสมุทร ที่ประกอบด้วยชายฝั่งทะเลหาดทราย แนวปะการัง ทะเลลึก เป็นต้น

7) ระบบนิเวศน้ำกร่อย เป็นระบบนิเวศที่พบได้ในบริเวณปากแม่น้ำหรือปากอ่าวที่มีน้ำจืดไหลมาบรรจบกับน้ำทะเล ทำให้น้ำบริเวณนั้นมีสภาพเป็นน้ำกร่อย เป็นแหล่งที่มีแร่ธาตุต่าง ๆ ละลายอยู่สูง จึงมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ ของสารอินทรีย์และสารเคมีต่าง ๆ

คำสำคัญ (Tags): #biology#zoogeography
หมายเลขบันทึก: 491016เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 01:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มิถุนายน 2012 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ข้อมูลแน่น ดีมากเลย แล้วเราใช้อะไรเป็นตัวแบ่งแยกเป็นป่าชนิดต่าง ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท