ครูพยาบาล
พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ Mr.Natthawut Suriya

ประวัติฟลอเรนซ์ ไนติงเกล


พยาบาลคือบุคคลที่เสียสละตนเองเพื่อส่วนร่วมและประโยชน์สุขของเพื่อนมนุษย์ทั้งปวง

                   ประวัติฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale)

มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เกิดวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ.1820 ในตระกูลคหบดี ที่เมือง ฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ได้รับการอบรมเลี้ยงดูตามแบบชาวอังกฤษ มีการศึกษาดี สามารถเรียนรู้และพูดได้หลายภาษา มิสฟลอเรนซ์ เป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น และสนใจศึกษาหาความรู้ที่จะเป็นพยาบาลในขณะอายุ 20 ปี แต่ในขณะนั้นสตรีที่เรียนวิชาพยาบาลหรือเป็นพยาบาลส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มี การศึกษาน้อย และมาจากครอบครัวที่ยากจน ทำให้มีกิริยามารยาทไม่ดีไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม บิดามารดาของมิสฟลอเรนซ์จึงไม่อนุญาตให้ศึกษาเล่าเรียน วิชาชีพพยาบาลและพยายามหันเหความสนใจของมิสฟลอเรนซ์ไปสู่งานสังคมและให้ท่อง เที่ยวไปยังเมืองต่างๆในยุโรป การที่ได้มีโอกาสได้ท่องเที่ยวเมืองต่างๆนี้เองทำให้มิสฟลอเรนซ์ได้มีโอกาส เยี่ยมชมโรงพยาบาลต่างๆในหลายประเทศ เช่น ฝรั่งเศส เยอรมัน เบลเยี่ยม อิตาลี และอีกหลายแห่ง ทำให้ได้เห็นการจัดการโรงพยาบาล การจัดการพยาบาลตามแบบนิกายโปรแตสแตนท์ ที่ผู้ปฏิบัติการพยาบาลไม่ต้องบวชชีตามแบบซีเดคอนแนส ทำให้สามารถให้การพยาบาลผู้ป่วยได้กว้างขวางขึ้น มิสฟลอเรนซ์ได้ตัดสินใจเข้าเรียนพยาบาลอีกครั้ง เมื่ออายุได้ 14 ปี แต่ก็ยังไม่ได้รับการยินยอมจากครอบครัว ต่อมาปี ค.ศ.1850 อายุครบ 30 ปี จึงได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนวิชาชีพพยาบาล และได้ศึกษาเล่าเรียนเป็นเวลา 4 เดือน

ค.ศ.1853 มิสฟลอเรนซ์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้ดูแลสถานที่เจ็บป่วยของสุภาพสตรีในประเทศ อังกฤษ ซึ่งได้รับการยกย่องมาก ค.ศ.1856 โรงพยาบาล King’s College ขอให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลแต่ยังไม่ได้ประจำทำงานก็เกิดสงครามไค รเมีย เป็นสงครามระหว่างรัสเซียกับอังกฤษ ฝรั่งเศสและตุรกี กองทัพของอังกฤษมีบุรุษพยาบาลเป็นผู้ดูแลทหารที่บาดเจ็บ แต่บุรุษพยาบาลเหล่านั้นไม่ได้รับการฝึกหัดสำหรับดูแลทหารบาดเจ็บจากสงคราม การทำงานจึงไม่มีประสิทธิภาพ แต่กองทัพรัสเซียและตุรกี จะมีแม่ชีทางศาสนาติดตามไปในกองทัพ เพื่อ

ให้การดูแลทหารที่บาดเจ็บ ประเทศอังกฤษจึงได้ร้องขอให้ประชาชนเข้าช่วยเหลือ มิสฟลอเรนซ์จึงตัดสินใจเข้าช่วยเหลือ มิสฟลอเรนซ์พร้อมสตรีอาสาสมัครที่จะช่วยพยาบาลทหารอีก จำนวน 38 คน จึงเข้าประจำทำงานดูแลทหารบาดเจ็บที่โรงพยาบาลแบแรท ในเมืองสคูตารี่ โรงพยาบาลมีผู้บาดเจ็บมากถึง 3,000-4,000 คน อยู่รวมกันอย่างแออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี ห้องน้ำห้องส้วมสกปรก น้ำหายาก ที่บอนปูพื้น ผ้าปูที่นอนหนแข็งและไม่มีผงซักฟอก เสื้อผ้าทหารบาดเจ็บไม่มีเปลี่ยนต้องใส่เสื้อเปื้อนเลือดและเหงื่อ อาหารไม่เหมาะสม รับประทานอาหารด้วยมือ น้ำดื่มไม่เพียงพอ มีหนูและสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ เกิดโรคระบาดขึ้น เช่น อหิวาตกโรค บิด ไทฟอยด์ ผู้บาดเจ็บมีอัตราการตายสูงถึง 42% ในเวลากลางคืน ต้องนอนในความมืด ไม่มีใครดูแล ไม่มีแสงสว่าง

มิสฟลอเรนซ์ได้ปฏิรูปงานโรงพยาบาลเกือบทุกด้าน ใช้เวลา 6 เดือน สามารถลดอัตราการตายลงเหลือ 2% และศัลแพทย์ก็พอใจการปฏิบัติของมิสฟลอเรนซ์มาก ค.ศ.1855 มิสฟลอเรนซ์และแม่ชีคาทอลิกอีก 3 คน เดินทางไปสถานพยาบาลในเมืองมาลาคาวา ในแหลมไครเมียร์ ได้ปรับปรุงการพยาบาลให้ดีขึ้น และกลับมายังโรงพยาบาลในเมืองสคูตารี่ เพื่อช่วยเหลือทหารบาดเจ็บต่อจนถึง ค.ศ.1856 สงครามไครเมียร์ก็สงบลง โรงพยาบาลต่างๆก็ปิดตัวลง พยาบาลทั้งหมดกลับประเทศอังกฤษ มิสฟลอเรนซ์กลับถึงอังกฤษเป็นคนสุดท้ายในเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1856

จากความรู้ความสามารถและความเสียสละโดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก นับเป็นการปฏิบัติต่อเพอนมนุษย์อย่างยิ่งใหญ่ ลองเฟลโล(Longfellow) ได้ประพันธ์โคลง “ซานตา ฟิโลมินา” สรรเสริญความดีงามและความเสียสละของมิสฟลอเรนซ์ว่าเป็น “สุภาพสตรีแห่งดวงประทีป” (The Lady of the Lamp) ต่อมาชาวอังกฤษได้รวบรวมเงินตั้งเป็นทุนไนติงเกล เพื่อเทิดพระเกียรติและยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของพยาบาลด้วยทุนดั

งกล่าว ใช้จ่ายเพื่อพัฒนาการศึกษาและปรับปรุงการพยาบาลให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น

ค.ศ.1860 มิสฟลอเรนซ์ได้เลือกโรงพยาบาลเซนต์โทมัส(St.Thomus) ที่กลุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เป็นโรงเรียนพยาบาลไนติงเกล ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนา ใช้เงินทุนจากมูลนิธิไนติงเกลในการบริหารกิจการของโรงเรียนและมีมิสซี วอร์ดโรพเปอร์ (Mss.Wardroper) เป็นผู้บริหารงานการสอนพยาบาลโรงเรียนพยาบาลไนติงเกล ใช้เวลาศึกษานาน 3 ปี จัดการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติ การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาก็จะต้องเป็นบุคคลที่มีกิริยามารยาทเรียบร้อย มีความรู้ และต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน โรงเรียนพยาบาลไนติงเกลได้ผลิตพยาบาลแล้วไปก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลในหลายๆ ประเทศ ตามแบของมิสฟลอเรนซ์ไนติงเกล โดยเน้นหลักการศึกษาไว้หลายประการ เช่น ต้องเป็นอาชีพเกี่ยวแก่ศาสนาหรือมนุษยธรรม ต้องก้าวหน้าอยู่เสมอ เพราะวิชาชีพพยาบาลเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องมีการฝึกหัด ต้องมีระเบียบวินัย ที่อยู่อาศัยสะอาด ฝ่ายการบริหารและบริการต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน ต้องประสานกันเพื่อประสิทธิภาพของงาน

ทางด้านงานหนังสือ หลังสงครามมิสฟลอเรนซ์ได้เขียนหนังสือ “Note on Hospitals” พิมพ์ออกเผยแพร่ กล่าวถึงโรงพยาบาลที่สวยแต่ยังบกพร่องในการจัดแผนผังเกี่ยวกับสุขาภิบาลและ ของเครื่องใช้ที่เหมาะสมในการรักษาพยาบาล ต่อมาได้เขียนหนังสือ “Notes on Nursing” หนังสือเล่มนี้ได้ใช้เป็นมาตรฐานในการอบรมถึงปัจจุบัน และมีข้อความที่เป็นอมตะต่องานปฎิบัติการพยาบาล เช่น “การมองดูผู้ป่วยไม่เรียกว่าได้ใช้

ความสังเกต การเห็นสิ่งใดต้องใช้การฝึกฝน การเห็นนี้จะช่วยให้พยาบาลทำในสิ่งที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วย ความเป็นความตายของผู้ป่วยขึ้นอยู่กับการสังเกตที่ถูกต้องของพยาบาล”

มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ใช้ชีวิตในการช่วยกิจการของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องและยาวนาน นับตั้งแต่ ค.ศ.1860 จนกระทั่งถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 90 ปี ในเดือนธันวาคม ค.ศ.1910

 

                     หลุมศพของฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ในสุสาน

ที่มา www.wikipedia.com

                  

    

แหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลพยาบาล www.gotunurse.com

หมายเลขบันทึก: 490616เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 01:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท