สุขภาพ:พลังในมือประชาชน (ตอนที่ 3)


ชุมชนปลอดเหล้า เราปลอดโรค ประชาชนปลอดภัย



สุขภาพพลังในมือประชาชน ตอนที่ 3 นี้ By Jan ขอเล่าเรื่อง
โครงการชุมชนปลอดเหล้า เราปลอดโรค ประชาชนปลอดภัย
เรื่องราวของ ชุมชนบ้านหนองมะเม้า ตำบลเชียงยืน อำเภอเชียงยืน  จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็น 1 ใน 40 ชุมชนต้นแบบ ที่คนในชุมชนสามารถ ค้นหาปัญหา วิเคราะห์ปัญหาด้านสุขภาพ (เชิงพรรณนา) ตลอดจนวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชน เป็นชุมชนต้นแบบด้านการลด ละ เลิกสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้อย่างน่าทึ่ง(สำหรับ By Jan นะ เพราะเดิม ร้อยละ 80 ของประชาชนทั้งชายหญิงบ้านหนองมะเม้า ดื่มเหล้าเป็นประจำ เรียกว่า ผัวดื่ม เมียดื่มเลยทีเดียว ผู้นำเสนอผลงานบอกว่าอย่างนั้น)

ความเป็นมา: อย่างที่บอกแต่แรกว่า ร้อยละ 80 ของประชาชนทั้งชายหญิงบ้านหนองมะเม้าดื่มเหล้าเป็นประจำ ผลกระทบ ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่น เจ็บป่วยถึงขั้นพิการ และไม่สามารถทำงานได้ (ข้อมูล ทุกหลังคาเรือน 26 พฤษภาคม-20มิถุนายน 2554 )

วัตถุประสงค์: เพื่อให้ประชาชนบ้านหนองมะเม้า สามารถสร้างชุมชนต้นแบบด้านการละละเลิกสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีสุขภาพดี
มีครอบครัวอบอุ่น และผ่านเกณฑ์ประเมินจปฐ.

การดำเนินงาน: ประกอบด้วย 10 กิจกรรม คือ

          1. ศึกษาวิถีการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน บ้านหนองมะเม้า ร่วมกับแกนนำสุขภาพ
          2. ชี้แจงโครงการฯ แก่แกนนำสุขภาพในชุมชน และรับสมัครทีมวิจัยชุมชน
          3. สำรวจข้อมูล/วิถีการดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของชุมชนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยทีมวิจัยชุมขน 
          4. ประชุมแกนนำสุขภาพในชุมชน และนำเสนอข้อมูลจากข้อ 3 ให้ความรู้เรื่องโทษของสุรา, พรบ.สุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์,
แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เลิกดื่มได้กับผู้ที่ดื่มเป็นประจำ 
          5. ประชุมแกนนำสุขภาพประจำคุ้ม เพื่อหาแนวทางดำเนินงาน ซึ่งชุมชนเสนอให้แต่งตั้งกรรมการระดับหมู่บ้านและระดับคุ้มขึ้น และจัดประชาคมหมู่บ้านให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่องโทษของสุรา
           6. ประชุมประชาคมหมู่บ้าน : นำเสนอสถานการณ์การดื่มสุราของประชาชนบ้านหนองมะเม้า วิเคราะห์ผลดี-ผลเสียของเหล้า ให้ความรู้เรื่องกฏหมายที่เกี่ยวกับเหล้า ระดมสมองหาข้อตกลงร่วมกันของหมู่บ้าน ในการลด ละ เลิกดื่มฯ (งดดื่มฯ วันพระ วันศีลอุโบสถ วันพ่อ
วันแม่ งานทอดกฐิน งานศพ กำหนดสถานที้ห้ามดื่มฯ)
 และกำหนดบทลงโทษ เกณฑ์ลงโทษแก่ผู้ละเมิด แต่งตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน และคณะกรรมการประจำคุ้ม และจัดทำแผนงานโครงการร่วมกัน
          7. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในรอบ 3 เดือน ปัญหาอุปสรรคและข้อเสอแนะ จัดทำป้ายติดประกาศ นโยบาย บทลงโทษ
          8. นำเสนอผลงานในเวทีระดับจังหวัด ในงานมหกรรมคุณภาพฯ
          9. ติดตามประเมินผลการดำเนินงานรอบ 3-6 เดือน ปัญฆาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
         10. สรุปผลการดำเนินงานร่วมกับแกนนำสุขภาพ และคณะกรรมการดำเนินงาน  

ผลการดำเนินงาน: ผู้ที่ดื่มสุราประจำเลิกได้ 2 คน ดื่มเป็นบางครั้งและทำงานได้ 2 คน (จากที่ดื่มประจำ 6 คน) ไม่มีผู้ดื่มสุรา ในงานทอดกฐิน วันพ่อ วันแม่ และงานศพ ร้านค้าไม่จำหน่ายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันพระ วันศีลอุโบสถ วันพ่อ วันแม่ ประชาชน ร้อยละ 85 ไม่ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในวันพระ ไม่พบผู้ที่เคยจับกลุ่มดื่มเหล้าหน้าร้านค้าในช่วงเย็น และยังพบว่ามีการดื่มสุราในช่วงเทศกาลปีใหม่ลดลง

ปัญหาอุปสรรค: การใช้มาตรการลงโทษยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร
 คณะกรรมการไม่ได้ดำเนินการตามบทบาทของตนเองอย่างชัดเจน ผู้ละเมิดส่วนใหญ่ เป็นผู้ที่มาจากต่างจังหวัด มีการซื้อสุราเพื่อหาเสียง ช่วงเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน 
การประชาสัมพันธ์ยังไม่ต่อเนื่อง 


หมายเลขบันทึก: 489948เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการประชุม อบรมที่ได้เนื้อหามากๆครับ คุ้มค่าจริงๆ /boss

credit มิ.ย.55' คุณจรรญา ฉายประทีป คอลัมน์ ประชุม อบรม สัมนา ศึกษาดูงาน 1 คะแนน//HUM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท