สุขภาพ:พลังในมือประชาชน (ตอนที่ 2)


ทั้งนี้ต้องเชื่อมั่นว่า ยาที่ดีที่สุดคือ อาหาร โรงพยาบาลที่ดีที่สุดคือครัว หมอที่ดีที่สุดคือตัวเอง และระบบสุขภาพที่ดีต้องมีมิติทางสังคมจิตวิญาณอยู่ด้วย


"การจัดการสุขภาพอย่างพอเพียงตามวิถีชุมชน"
ส่วนหนึ่งที่ By Jan จด&จำมาได้จากการปาฐกถา โดย ดร.เสรี พงศ์พิศ
อธิการบดีสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
การประชุมวิชาการพยาบาลชุมชนแห่งชาติครั้งที่ 7 
วันที่ 17 พฤษภาคม 2555

        ที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้กำหนดทิศทางนโยบาย
ออกกฏหมาย กฏระเบียบ แนวปฏิบัติต่างๆ ในการจัดการสุขภาพ
จนเรียกว่าเป็น "เจ้าของสุขภาพ" ของประชาชนก็คงไม่ผิด
        กระบวนทัศน์เก่า ยังทำการส่งเสริมสุขภาพแบบทำโครงการต่างๆ ให้ชาวบ้าน ให้ชุมชนที่เจ็บป่วย ที่ประหนึ่งว่าไม่รู้เรื่อง ประเภท "โง่ จน เจ็บ" ซ้ำซาก ตนมีหน้าที่ไปช่วยให้หายโง่ หายเจ็บ หายป่วย
        กระบวนทัศน์ใหม่ คนทำงานด้านสาธารณสุขต้องเปลี่ยนความเชื่อที่ว่า ตนเป็น "เจ้าของสุขภาพ" ของประชาชน ต้องเชื่อว่าจริงๆ แล้ว คนที่จะต้องดูแลสุขภาพเป็นอันดับแรกและสำคัญที่สุดคือ ตัวประชาชนเอง คนที่สร้างระบบสุขภาพได้ดีที่สุด คือ ชุมชนเอง ถ้าหากเปลี่ยนได้จริง ก็จะเปลี่ยนบทบาท เปลี่ยนหน้าที่ เปลี่ยนวิธีการดูแลสุขภาพ รวมทั้งเปลี่ยนระบบสุขภาพของชุมชน
       ที่สำคัญกระบวนทัศน์สุขภาพใหม่มีฐานคิดบน "เศรษฐกิจพอเพียง"
เพียงตอบคำถามที่สำคัญ สองข้อคือ หนึ่งทำอย่างไร คนจะพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ สอง ทำอย่างไรจึงจะอยู่เย็นเป็นสุข
       หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 หลักใหญ่ ทำให้ได้คำตอบของคำถามทั้ง 2 ข้อ คือ
        1. ความพอดี ทำอย่างไรจะกินอยู่พอดี มีความสุข (กินมากไปก็ไม่ดี กินน้อยไปก็ไม่ดี ทำอย่างไรให้กินอย่างมีสติเพราะ "ดีชั่วรู้หมด
แ่ต่อดไม่ได้") ปรัชญาข้อนี้เน้นให้มีคุณธรรม แยกแยะได้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว และให้เลือกสิ่งที่มีคุณค่า ถูกต้อง ดีงาม
        2. มีเหตุผล  การกินอยู่อย่างมีเหตุผล เป็นชีวิตที่อยู่อย่างมีแบบแผน อย่างน้อย 4 แผน คือ
           - แผนชีวิต คืออยู่อย่างมีเป้าหมาย กำหนดเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน (แต่อย่ากดดันตนเอง กดดันผู้อื่น คือรู้จักปล่อยวาง)
           - แผนอาชีพ คือการเรียนรู้ปรับปรุงอาชีพที่ทำอยู่ให้ดีกว่าเดิม ได้ผลคุ้มค่าเหนื่อยและการลงทุน หมายถึงการมีระบบชีวิตที่ดี 
           - แผนการเงิน คือการทำแผนการใช้จ่าย การใฃ้หนี้  การออม การลงทุน โดยการทำบัญชีครัวเรือน (เพื่อให้มีข้อมูลและกำหนดการใช้จ่ายได้อย่ารอบครอบ)
           - แผนสุขภาพ คือการวางแผนการกินอยู่ การดูแลสุขภาพตนเอง  การเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ คุณค่าของข้าวปลา อาหาร ผักผลไม้ ในชีวิตประจำวัน การออกกำลังกาย สมาธิ การทำบุญ การพักผ่อน การไปเที่ยว ฯลฯ
        3. ภูมิคุ้มกัน
คือ การมีระบบชีวิตที่ดี คือถ้าคนเรา แข็งแรง ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมรอบตัวรอบด้าน ก็ย่อมไม่เจ็บป่วยง่าย ถึงเจ็บป่วยบ้างก็ฟื้นตัวเร็ว (ถ้าเป็นระดับชุมชน การมีภูมิคุ้มกันที่ดี คืือ มีการจัดการการดูแลให้ชุมชนกินดีอยู่ดี มีระบบการป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ และการดูแลรักษาเบื้องต้นที่ดี)

หมายเลขบันทึก: 489863เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

 

สุขภาพ:พลังในมือประชาชน...มาช่วยเชียร์ พลังประชาชนคะ

credit มิ.ย.55' คุณจรรญา ฉายประทีป คอลัมน์ ประชุม อบรม สัมนา ศึกษาดูงาน 1 คะแนน//HUM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท