ใช้ขวดน้ำพกพาแบบไหนดี


ขวดน้ำพลาสติกที่นำมาใช้บรรจุน้ำดื่มซ้ำๆ มีรายงานว่าจะมีสารเคมีละลายออกมาจากขวด แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงสามารถนำมาใช้บรรจุซ้ำได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาร่วมกับอุณหภูมิ/ระยะเวลาและชนิดของสารอาหารที่สัมผัสกับภาชนะ และคุณภาพของขวดพลาสติกที่ผลิตให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดในกฎหมายของแต่ละประเทศ

 

          เห็นหลายๆคนพกขวดน้ำมาดื่มระหว่างทำงาน น้ำดื่มบรรจุขวดที่นิยมซื้อกันก็ดูสะดวกสบายดี แต่หากคำนึงถึงเรื่องขยะและภาวะโลกร้อนแล้ว ขวดน้ำพลาสติกเหล่านี้ก็ดูเป็นปัญหาใหญ่ทีเดียว ทีนี้หากจะใช้ขวดแบบรีไซเคิลจะใช้แบบไหนดีล่ะ

          ขวดน้ำพลาสติกที่นำมาใช้บรรจุน้ำดื่มซ้ำๆ มีรายงานว่าจะมีสารเคมีละลายออกมาจากขวด แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ จึงสามารถนำมาใช้บรรจุซ้ำได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาร่วมกับอุณหภูมิ/ระยะเวลาและชนิดของสารอาหารที่สัมผัสกับภาชนะ และคุณภาพของขวดพลาสติกที่ผลิตให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดในกฎหมายของแต่ละประเทศ

          ขวดพลาสติกชนิดอื่น จะมีตัวเลขอยู่ที่ก้นขวด เป็นการบอกชนิดของพลาสติกเช่น

#1 Polyethylene Terephthalate คือ ขวดบรรจุน้ำดื่มที่ขายในท้องตลาดทั่วไปนี่เอง

                        

#3  Polyvinylchloride มีไดออกซินและสารที่เป็นพิษต่อตับไต  แถมยังมีสารรบกวนฮอร์โมนละลายในของเหลวที่บรรจุขวดด้วย  เมื่อถูกเผาก็ปล่อยสารก่อมะเร็งสู่สิ่งแวดล้อม

#6 คือกล่องโฟม หรือโพลีสไตรีน (Polystyrene) ปล่อยสารก่อมะเร็งสู่น้ำและอาหารที่มันบรรจุ

          ชนิดของพลาสติกที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่

#2  HDPE (High-density polyethylene หรือ polyethylene high-density (PEHD))

#4  LDPE (Low-density polyethylene #4)  
#5  PP (Polypropylene)

ทางเลือกอื่นๆ ที่นับว่าปลอดภัยและได้รับการยอมรับกันแพร่หลายคือ ขวดน้ำที่ทำจากสแตนเลส เพราะแข็งแรงใช้ซ้ำได้ รีไซเคิลได้ ไม่มีสารที่ละลายออกมาปนกับน้ำ 

ที่มา www.greenworld.or.th

ธัญญารัตน์

คำสำคัญ (Tags): #ขวดน้ำรีไซเคิล
หมายเลขบันทึก: 489302เขียนเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สุดยอดความรู้ใกล้ตัว..........เพราะเราต้องบริโภคน้ำทุกวันนอกจากน้ำสะอาดและมีแร่ธาตุที่ดีแล้วต้องคำนึงถึงขวดบรรจุน้ำดื่มด้วย!!!

credit พ.ค.55' ทพ.ธัญญารัตน์ แพเพิ่มสิน คอลัมน์ สาระแนแชร์ความรู้ 1 คะแนน//HUM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท