สาเหตุเกิดจากการใช้งานของมือในท่ากำบีบอย่างแรง และซ้ำ ๆ บ่อย ๆ


โรคนิ้วล็อกนั้นเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของมือเพราะนิ้วมือต้องสัมพันธ์โดยตรงกับอาชีพ และกิจกรรมต่างๆ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการหิ้วของหนักด้วยมือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหิ้วถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ซึ่งรับน้ำหนักได้มากๆ ไม่ควรหิ้วเป็นระยะทางไกลๆ เพราะถึงแม้ถุงพลาสติกจะสามารถรับน้ำหนักได้
ไม่นานมานี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกในหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างออกมาเตือนคนชอบใช้นิ้วทั้งหลาย ระวังโรคใหม่ถามหา โดยเฉพาะกับสาวกไอพ็อดและเทคโนโลยีชิ้นจิ๋วที่เกลื่อนตลาดอยู่ในขณะนี้ ปัญหาตัวใหม่ที่กำลังลามไปสู่นิ้วของบรรดาสาวกที่กำลังสนุกอยู่กับการใช้นิ้วเที่ยววน กดปุ่มเล็กปุ่มน้อยของเครื่องเล่นเอมพี 3 เพื่อจะค้นหาเพลงเจ๋งโดนใจ ทั้งอัพเดทเพลงใหม่ๆ ปรับระดับเสียงของนักร้องคนโปรดให้เบาดังได้ตามใจชอบ ดอกเตอร์คาร์ล เออร์วิน โฆษกของ BCA หรือสมาคมประสาทไขสันหลังแห่งอังกฤษ กล่าวว่า การใช้มือควบคุมเครื่องดนตรีขนาดจิ๋วนั้นกำลังดังรับความนิยมสุดๆ ซึ่งแน่นอน ผู้ใช้ทั้งหลายต้องวุ่นวายอยู่กับการกดปุ่มที่แสนจะเล็กและยาก ซ้ำไปซ้ำมา

"ธรรมชาติของเทคโนโลยีสมัยใหม่นั้น อุปกรณ์หรือชิ้นส่วนแต่ละอันถูกทำให้เล็กลง เล็กลงเรื่อยๆ และไม่แปลกใจเลยถ้าอาการบาดเจ็บซ้ำซ้อนที่มือและนิ้วจะทะยานขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆ ของโรคที่เกี่ยวกับกระดูก" ดร.เออร์วิน ยังเตือนอีกด้วยว่า คนรุ่นใหม่มีโอกาสมากๆ ที่จะเผชิญกับอาการที่ว่านี้ เพราะลักษณะกระดูกและกล้ามเนื้อของพวกเขา ยังเติบโตต่อไปได้อีกและพฤติกรรมการใช้นิ้วอย่างไม่บันยะบันยังนี้ จะนำมาซึ่งปัญหาตามมาทีหลัง และมีผลต่อพวกเขาในวัยสูงอายุ แต่เจ้าอาการเจ็บปวดที่ว่านี้ก็ ทางที่ดีที่สุดในการหลีกให้พ้นเจ้า iPod Finger นั่นก็คือ หมั่นบริหารด้วยการยืดมือและนิ้วอยู่เป็นประจำ และพยายามสลับมือบ้างเวลาที่ต้องขยับปุ่มฟังเพลง สำหรับเมืองไทยแม้ยังไม่มีสถิติเกี่ยวกับโรคจากเทคโนโลยีจิ๋ว แต่ดูเหมือนหลายฝ่ายก็ออกมาปรามถึงการพึ่งพาเทคโนโลยีจิ๋วบ่อยครั้ง โดยเฉพาะลูกค้ากลุ่มเยาวชนและนักศึกษาที่คร่ำเคร่งกับการใช้เทคโนโลยีมากเกินไป จนเกิดเป็นความป่วยไข้ได้ง่าย น.พ.วิชัย วิจิตรพรกุล แผนกวิทยาศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลเลิดสิน ให้ความเห็นถึงโรค ไอพ็อด ฟิงเกอร์ในเมืองไทยว่า "มันอาจจะมีแต่ยังไม่เห็นผลรุนแรง ซึ่งอาการที่ใช้นิ้วจิ้มปุ่มเล็กๆ ซ้ำไปซ้ำมาหรือส่งเอสเอ็มเอสบ่อยๆ นั้น อาจทำให้เกิความเครียด และล้า บริเวณนิ้วและข้อ เรียกอาการตรงนี้ว่า Strain เป็นไปได้ว่า ถ้าเกิดอาการมากๆ และเรื้อรังอาจนำไปสู่การเป็นโรคนิ้วล็อกก็ได้"

โรคนิ้วล็อกนั้นเป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการใช้งานของมือเพราะนิ้วมือต้องสัมพันธ์โดยตรงกับอาชีพ และกิจกรรมต่างๆ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการหิ้วของหนักด้วยมือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการหิ้วถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ซึ่งรับน้ำหนักได้มากๆ ไม่ควรหิ้วเป็นระยะทางไกลๆ เพราะถึงแม้ถุงพลาสติกจะสามารถรับน้ำหนักได้ แต่นิ้วมือคนไม่สามารถรับน้ำหนักได้ เพราะน้ำหนักทั้งหมดจะตกลงที่ข้อนิ้วแทนที่จะตกลงบนฝ่ามือ ซึ่งมีฐานที่กว้างและแข็งแรง และถ้าหากหิ้วถุงพลาสติกหนักๆ ด้วยนิ้วเพียง 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว คล้องเอาไว้ที่หูหิ้ว ยิ่งทำให้น้ำหนักฉุดครากเข็มขัดรัดเส้นเอ็นมากยิ่งขึ้น และหากทำเช่นนี้ซ้ำๆ ก็จะต้องกลายเป็น 'โรคนิ้วล็อก' ในที่สุด
ข้อมูลทางการแพทย์รายงานว่า โรคนิ้วล็อกเป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ อาจเป็น เพียงนิ้วเดียวหรือหลายนิ้ว อาการเริ่มตั้งเจ็บบริเวณฐานนิ้วนั้นๆ นิ้วมีความฝืดในการเคลื่อนไหว สะดุด หรือกระเด้ง เข้าออกเวลางอหรือเหยียด จนต่อมามีอาการล็อก คือ หาก งอหรือกำนิ้วมือไว้ จะไม่ยอมเหยียดออกเอง ต้องใช้อีกมือหนึ่งมาช่วยง้างออก มีอาการเจ็บปวด เวลาดึงออก หรือบางครั้งอาจจะเหยียดออกแต่เวลางอนิ้วจะงอไม่ลง หากปล่อยทิ้งไว้ นิ้วมือ นั้น ๆ อาจเปลี่ยนรูปเป็น โก่ง งอ บวม เอียง นิ้วเกยกัน นิ้วอาจแข็งทื่อ ไม่สามารถงอลงหรือเหยียดขึ้น ทำให้การใช้งานของมือในชีวิตประจำวันเป็นอุปสรรคและไม่สามารถใช้ทำงานได้ หากปล่อยทิ้งไว้ต่อไป ข้อต่ออาจจะยึด และข้อเหยียดไม่ออก ขยับไม่ได้ พังผืดรอบข้อต่อของ นิ้วยึดแข็ง ทำให้มือพิการได้ เหยียดตรงไม่ได้

สาเหตุเกิดจากการใช้งานของมือในท่ากำบีบอย่างแรง และซ้ำ ๆ บ่อย ๆ กำบีบเครื่องมือเช่น คีมไขควง บิดผ้า หรือการหิ้วถุงพลาสติกหนัก ๆ เป็นประจำ พบได้ในแม่บ้านไทย จีน ในเมืองไทยเป็นจำนวนมาก ในการหิ้วถุงพลาสติกใส่อาหาร ผลไม้ จากตลาดหรือ ห้างซูเปอร์มาร์เก็ต และหิ้วถุงหนักๆ เดินกลับบ้านจากตลาดเป็นระยะทางไกลๆ (วัฒนธรรมคนไทย) อาชีพบางอย่าง จำเป็นต้องใช้มือทำกิจกรรม บีบ กำ กระแทก เช่น คนทำไร่ทำสวน ช่างไม้ ช่างก่อสร้าง มีหลายอาชีพซึ่งดูไม่รุนแรงแต่มีการใช้งาน กำอุปกรณ์เป็นเวลานานๆ ซ้ำๆ ทั้งวัน ก็ทำให้เกิดอาการนิ้วล็อก เช่น ช่างทำผม มือหนึ่งกำแปรง หวีสางผม อีกมือถือไดร์เป่าผมหรือกรรไกร ช่างตัดเสื้อใช้กรรไกรตัดเสื้อผ้า พ่อครัวแม่ครัวมือจับกระทะอีกมือจับตะหลิว ผัด อาหารทั้งวัน ทำให้เป็นนิ้วล็อก


คำสำคัญ (Tags): #นิ้วล็อก
หมายเลขบันทึก: 48916เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2006 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียนถามว่า

มีอาการนิ้วเกร็งผิดรูปที่เท้า ปวดเหมือนเป็นตะคริว แต่จะเป็นเฉพาะนิ้วชี้หรือนิ้วชี้กับนิ้วกลางเท่านั้นของเท้าซ้ายเท่านั้น อาการแบบนี้จัดว่าเป็นโรคนิ้วล็อกหรือไม่ สาเหตุเกี่ยวข้องกับการขาดวิตามินหรือไม่ ควรต้องรักษาอย่างไร

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท